แนวทางจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาความเป็นพลเมืองดิจิทัล

Authors

  • พักตร์วิภา โพธิ์ศรี

Keywords:

แนวทางจัดการศึกษา, การพัฒนา, พลเมืองดิจิทัล

Abstract

         เพื่อนำเสนอแนวทางจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาความเป็นพลเมืองดิจิทัล กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้ คือ นิสิตคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา จำนวน 324 คน ซึ่งได้มาโดยคำนวณหาขนาดของกลุ่มตัวอย่างด้วย วิธีการคำนวณจากสูตรของ ทาโร ยามาเน่ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับและแบบสอบถามปลายเปิด สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย  พบว่า          1. สภาพการจัดการศึกษาเพื่อการพัฒนาความเป็นพลเมืองดิจิทัล นิสิตมีความคิดเห็นโดยรวม อยู่ในระดับเหมาะสมมาก (ค่าเฉลี่ย = 4.42, SD= 0.77) ด้านที่มีความเหมาะสมที่สุดคือ ด้านการเคารพสิทธิ์ของบุคคลอื่น (ค่าเฉลี่ย = 4.46, SD= 0.76) รองลงมาคือ ด้านความรู้ของพลเมืองดิจิทัล (ค่าเฉลี่ย = 4.41, SD= 0.81) และด้านการปกป้องความเป็นส่วนตัวและความปลอดภัย (ค่าเฉลี่ย = 4.38, SD= 0.73)          2. แนวทางจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาความเป็นพลเมืองดิจิทัล ประกอบด้วย การพัฒนาระดับบุคคลการพัฒนาระดับสถาบันการศึกษา และการพัฒนาระดับสังคม ดังนี้          การพัฒนาระดับบุคคล ประกอบด้วย การส่งเสริมคิดอย่างมีวิจารณญาณก่อนแชร์ข้อมูลที่ได้รับ การสร้างความตระหนักถึงผลกระทบจากข้อมูลที่จะเกิดขึ้นกับผู้รับสาร การเสริมสร้างความรู้ด้านการสื่อสารอย่างมีจริยธรรมเพื่อพัฒนาผู้เรียนให้มีความเป็นพลเมืองในระดับสากล ส่งเสริมการเผยแพร่ข้อมูลเชิงสร้างสรรค์สู่สาธารณชนการเสริมสร้างภูมิคุ้มกันในตนเองเพื่อป้องกันผลกระทบจากสื่อสังคม          การพัฒนาระดับสถาบันการศึกษา ควรเตรียมความพร้อมด้านแหล่งทรัพยากรการเรียนรู้เพื่อสนับสนุนและพัฒนารูปแบบการเรียนรู้ที่เหมาะสมแก่ผู้เรียนด้วยกระบวนการดิจิทัล (Digital Platform) ให้มีทักษะการคิดวิเคราะห์ ความคิดสร้างสรรค์ และสามารถสร้างนวัตกรรมได้ เพื่อการก้าวสู่ความเป็นพลเมืองดิจิทัลที่สมบูรณ์          วิธีการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ประกอบด้วย การเสริมสร้างการเรียนรู้ด้วยการนำตนเอง การเรียนรู้ร่วมกัน การเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน การเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐาน          การพัฒนาระดับสังคม ประกอบด้วย การเสริมสร้างเครือข่ายทางสังคม การสื่อสารข้ามวัฒนธรรมอย่างสร้างสรรค์ การเสริมสร้างการมีปฏิสัมพันธ์ทางสังคมท่ามกลางสังคมพหุวัฒนธรรม การเสริมสร้างเครือข่ายจิตอาสา)           The objectives of this study were: 1) to study the state of educational management for digital citizenship development 2) to propose educational guidelines for digital citizenship development. Samples surveyed were 324 undergraduate students. The research instruments consisted of questionnaires, which contained five-levels of rating scales, open-ended questions. The data were analyzed by using mean, standard deviation and content analysis. Findings of the study were as follows: 1. Educational management status for digital citizenship development as a hole at the high level (average = 4.42, SD= 0.77). When each aspect was considered, it was found that was a high level of these aspects respect (average = 4 .46, SD= 0.76), educate (average = 4 .41, SD= 0.81) and protect (average = 4.38, SD= 0.73). The state of educational guidelines for digital citizenship development consisted of three levels human development level (critical thinking for sharing, caring for the information impact, creativity for publication, good self-immunity for information impact.), educational institute development level (self- directed learning skills, collaborative learning, problem based learning project based learning) social development level (social network enhancing, creativity for cross-cultural communication, multicultural social interaction enhancing, volunteer network enhancing.

Downloads