การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมเพื่อเสริมสร้างภาวะผู้นำด้านเทคโนโลยีของผู้บริหารในสถานประกอบการ

Authors

  • ณัฐฉณ ฟูเต็มวงศ์
  • สุเมธ งามกนก
  • สมพงษ์ ปั้นหุ่น

Keywords:

หลักสูตรฝึกอบรม, ผู้บริหาร, สถานประกอบการ, ภาวะผู้นำ, ด้านเทคโนโลยี

Abstract

           การวิจัยนี้เป็นการวิจัยและพัฒนามีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อประเมินความต้องการจำเป็นในการพัฒนาคุณลักษณะภาวะผู้นำด้านเทคโนโลยีของผู้บริหารในสถานประกอบการ 2) เพื่อสร้างและตรวจสอบคุณภาพหลักสูตรฝึกอบรมเสริมสร้างภาวะผู้นำด้านเทคโนโลยีของผู้บริหารในสถานประกอบการ และ 3) เพื่อศึกษาผลทดลองใช้หลักสูตรฝึกอบรมเสริมสร้างภาวะผู้นำด้านเทคโนโลยีของผู้บริหารในสถานประกอบการ โดยจัดอบรมเป็นเวลา 1 วัน ทำการติดตามหลังการฝึกอบรม 1 เดือน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการหาความต้องการจำเป็น ได้แก่ ผู้บริหารของบริษัท ชลบุรี ฮอนด้าคาร์ส จำกัด จำนวน 112 คน และกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการฝึกอบรม ได้แก่ หัวหน้างานของบริษัท ชลบุรี ฮอนด้าคาร์ส์ จำกัด จำนวน 27 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมี 4 ฉบับ ได้แก่ แบบทดสอบความรู้ แบบวัดเจตคติ แบบประเมินพฤติกรรมภาวะผู้นำด้านเทคโนโลยี และแบบประเมินความพึงพอใจในการอบรม เครื่องมือทั้งสี่ฉบับมีความตรงเชิงเนื้อหาและความเชื่อมั่นสูง การวิเคราะห์ข้อมูล ใช้การวิเคราะห์สถิติบรรยาย วิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน คะแนนพัฒนาการสัมพัทธ์ ค่า PNImodified และการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis)          ผลการวิจัยพบว่า 1) ภาวะผู้นำด้านเทคโนโลยีของผู้บริหารในสถานประกอบการที่มีความต้องการจำเป็นต้องได้รับการพัฒนา เรียงลำดับค่า PNImodified จากมากไปน้อย 5 อันดับแรก ได้แก่ การใช้เทคโนโลยีในการบริหารจัดการ จริยธรรมในการใช้เทคโนโลยี ความรู้ด้านเทคโนโลยี การสนับสนุน การจัดการ และ ดำเนินการด้านเทคโนโลยี และการใช้เทคโนโลยีวัดและประเมินผล 2) หลักสูตรพัฒนาภาวะผู้นำด้านเทคโนโลยี ประกอบด้วย หลักการและเหตุผล หลักการของหลักสูตร จุดมุ่งหมายของหลักสูตร เนื้อหาสาระ กิจกรรม กระบวนการฝึกอบรม สื่อ และการวัดและประเมินผล โดยผลการประเมินหลักสูตรโดยผู้เชี่ยวชาญ พบว่าหลักสูตรมีความเหมาะสมและสามารถนำไปใช้ได้จริง 3) หลักสูตรฝึกอบรมมีประสิทธิภาพตามเกณฑ์สามารถพัฒนากลุ่มตัวอย่าง ด้านความรู้ และ เจตคติต่อภาวะผู้นำด้านเทคโนโลยีสูงขึ้นทุกคน โดยมีคะแนนพัฒนาการอยู่ในระดับมากถึงมากที่สุด สำหรับด้านพฤติกรรมภาวะผู้นำด้านเทคโนโลยี พบว่า อยู่ในระดับมาก หลังจากการติดตามผลการฝึกอบรมเป็นระยะเวลา 1 เดือน คะแนนทั้ง 2 ส่วนลดลงเล็กน้อยแต่ยังคงอยู่ในระดับมาก และกลุ่มตัวอย่างมีความพึงพอใจต่อหลักสูตรฝึกอบรมอยู่ในระดับมาก           The purposes of this research and development were: 1) to study need assessments of technological leadership characteristics of administrators in their establishment, 2) to develop training program to enhance technological leadership of the administrators in their establishment, and 3) to implement and evaluate the results of the developed training program for administrators in their establishment. The workshop training was done in 1 day and follow-up was arranged after a period of one month. The research instruments were a test, a questionnaire and an observation form which all met the requirement of the quality in terms of content validity and reliability. The population was 112 executive administrators. The sample were selected by a purposive sampling technique and consisted of 27 supervisors of Chonburi Honda Cars Co., Ltd. Descriptive statistics, Confirmatory factor analysis, Relative gain score, PNImodifie and content analysis were employed to analyze the data.          The findings revealed as follows: 1) The technological leadership of administrators in establishment needs to be developed in order from high to low as follows: Using technological in management, Ethics in using technological, Technological knowledge, Encouraging and supporting technological in management, and Using technological in measurement and evaluation. 2) The training program aspects were; rationale and objectives, contents, activities, training process, training materials, assessment and evaluation. The results of the evaluation by experts found that the course was appropriate and could be applied to practice. 3) The training program addressed appropriateness for utilization and met its criteria of effectiveness well. The important performance knowledge of learning, attitude and behavior to technological leadership were increased after the program finished. Also the satisfaction of sample was increased. All variables were slightly decreased from the posttest score and remain better than pretest score.

Downloads