รูปแบบและสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ตาลโตนดจากภูมิปัญญาท้องถิ่น ตำบลปากน้ำ อำเภอบางคล้า จังหวัดฉะเชิงเทรา

Authors

  • พอเจตน์ ธรรมศิริขวัญ
  • สุขุมวิทย์ ไสยโสภณ
  • จินตนา กำแพงศิริชัย

Keywords:

รูปแบบ, ผลิตภัณฑ์ตาลโตนด, ภูมิปัญญาท้องถิ่น

Abstract

          การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อหาแนวทางพัฒนารูปแบบการถ่ายทอดความรู้และสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์จากตาลโตนดและเพื่อถ่ายทอดและสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์จากตาลโตนดจากภูมิปัญญาท้องถิ่น การวิจัยนี้พบว่า การหาแนวทางพัฒนารูปแบบการถ่ายทอดความรู้และสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์จากตาลโตนดจากภูมิปัญญาท้องถิ่นให้มั่นคงและยั่งยืนนั้นควรมีการถ่ายทอดใช้หลัก 3 ประการ คือ การใช้ชุมชนเป็นฐาน (Community based model) การสร้างกระบวนการเรียนรู้ (Learning process) และการจัดการความรู้ (Knowledge management) เนื่องจากกระบวนการถ่ายทอดภูมิปัญญาท้องถิ่น มุ่งเสริมสร้างการถ่ายทอดภูมิปัญญาท้องถิ่นของปราชญ์ชาวบ้าน ผู้ที่มีความรู้ ความชำนาญเกี่ยวกับการสร้างผลิตภัณฑ์จากตาลโตนด แต่ยังขาดผู้สืบทอดภูมิปัญญา เนื่องจากเป็นชุมชมเมืองมากขึ้น ทำให้คนรุ่นหลังขาดความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นซึ่งส่งผลต่อในการสร้างวิสาหกิจชุมชนอีกด้วย ดังนั้นจึงมุ่งผลในการนำรูปแบบและผลงานการสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์มาประยุกต์ให้กับผู้ที่ต้องการสืบทอดภูมิปัญญาด้านนี้ เพราะประโยชน์จากตาลโตนดไม่เพียงแต่เฉพาะทำน้ำตาลสดเท่านั้น ยังสามารถนำไปประยุกต์ใช้เพื่อการแปรรูปและสร้างผลิตภัณฑ์ในการใช้สอยและสามารถเพิ่มมูลค่าในสินค้าที่ ผลิตขึ้นมาใหม่ได้ จากเดิมในพื้นที่มีเพียงการผลิตน้ำตาลสดจากต้นตาลโตนดเพียงอย่างเดียวจนทำให้ภูมิปัญญาอื่น ๆ ที่เกี่ยวกับตาลโตนดหายไปและจากการดำเนินกิจกรรมพัฒนารูปแบบและสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์จากตาลโตนดร่วมกับปราชญ์ชาวบ้านและผู้รับการถ่ายทอด พบว่า ได้ผลิตภัณฑ์ที่เหมาะสมในการ ถ่ายทอดภูมิปัญญา 2 ผลิตภัณฑ์ ได้แก่ กระถางต้นไม้ตาลโตนด และไม้ตาลคลายเส้น จากผลการวิจัยครั้งนี้ ก่อให้เกิดการรวมตัวของสมาชิกหรือชุมชนสามารถต่อยอดพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อสร้างรายได้ให้ครอบครัว  ชุมชนและพัฒนาแหล่งเรียนรู้ให้กลายเป็นแหล่งท่องเที่ยววิถีไทยได้อย่างเหมาะสม นำมาซึ่งการพัฒนา เศรษฐกิจฐานรากของคนในชุมชนให้สามารถที่จะพึ่งพาตนเอง และสร้างความมั่นคง ยั่งยืนให้กับตนเอง  ครอบครัว ท้องถิ่นและประเทศชาติต่อไปในอนาคต           The objective of this research is to find the way to develop knowledge transferring and creation of Tantanode products and to transfer this knowledge and creation of Tantanode products from the local wisdom. This research found the best way to develop the knowledge transferring model and the creation of Tantanode products from local wisdom to be stable and sustainable, there should be 3 principles which are Community Based Model, Learning Process and Knowledge Management. Due to the process of  transferring local knowledge focusing on strengthening the transferring of local wisdom from the expert who still lacking of those who inherit this wisdom because the structure of the  community is changing to be more metropolitan and the new generation aren’t interested in this local wisdom to makes the community enterprise therefore, it aims to bring the form and the creation of the product to those who want to inherit this wisdom that can bring the benefits of Tantanode not only to make fresh sugar palm juice but can also be applied for many creative products and can add value from the new products more than only producing fresh sugar palm juice in the past. And from the activity to develop the model and create the products from Tantanote with the local wisdom expert who joined this research found that there are 2 appropriate products for transferring this local wisdom’ those are Tantanode Tree Pot and Tantanode Massage Wood from this research, the result of the gathering of members or communities can further develop the product to create income for the community and can develop learning sources area to become tourist attractions in Thailand cultural spot which bring the economic development to the foundations of the community that made them be self-reliant that cause the stability for themselves, local families and the nation in the future.

Downloads