มาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชนภายใต้การกำกับดูแลของรัฐ

Authors

  • จีรวรรณ วารุกะ
  • สุรีย์ฉาย พลวัน
  • คมสัน สุขมาก

Keywords:

ศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชน, การแก้ไขฟื้นฟู, คดีอาญา

Abstract

          การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวคิด ทฤษฎีและมาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชนภายใต้การกำกับดูแลของรัฐ โดยศึกษากฎหมายของประเทศไทยและต่างประเทศ เพื่อวิเคราะห์หาแนวทางการจัดตั้งศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชนของเอกชนที่เหมาะสมในประเทศไทย จากการศึกษาพบว่า ในพระราชบัญญัติศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2553 กฎหมายฉบับดังกล่าวยังมีข้อจำกัด ไม่ครอบคลุมอยู่บางประการ โดยเฉพาะในส่วนของการฝึกและอบรมทำให้เกิดปัญหาต่าง ๆ ขึ้น เช่น มีสถานที่แออัด เจ้าหน้าที่ไม่เพียงพอในการดูแลเด็กและเยาวชน จะให้เอกชนเข้ามาจัดทำศูนย์ฝึกและอบรมได้หรือไม่ ในเรื่องเงื่อนไขการปล่อยตัวเด็กและเยาวชนออกจากศูนย์ฝึกและอบรมของเอกชนไม่มีหน่วยงานที่มีอำนาจในการกำหนดเงื่อนไขการปล่อยตัว และในส่วนคำนิยามของศูนย์ฝึกและอบรมและผู้อำนวยการศูนย์ฝึกและอบรมไม่มีการกำหนดคำนิยามไว้ทำให้ศูนย์ฝึกและอบรมของเอกชนไม่มีสถานะเป็นศูนย์ฝึกและอบรมที่จะมีอำนาจหน้าที่ตามกฎหมาย ดังนั้น จึงควรให้แก้ไขพระราช บัญญัติศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2553 ตามมาตรา 4 มาตรา 55 มาตรา 56 และมาตรา 140 ให้บทบัญญัติดังกล่าวครอบคลุมถึงศูนย์ฝึกและอบรมของเอกชนด้วย เพื่อประโยชน์ในการแก้ไขฟื้นฟูผู้กระทำความผิดที่เป็นเด็กและเยาวชน ส่วนเรื่องเงื่อนไขในการปล่อยตัวเด็กหรือเยาวชนของศูนย์ฝึกและอบรม ควรแก้ไขให้คณะกรรมการสงเคราะห์เข้ามามีอำนาจในการกำหนดเงื่อนไขการปล่อยตัวของศูนย์ฝึกและอบรมของเอกชน เรื่องคำนิยามเกี่ยวกับศูนย์ฝึกและอบรมและผู้อำนวยการศูนย์ฝึกและอบรม ควรบัญญัติคำนิยามให้รวมถึงศูนย์ฝึกและอบรมของเอกชนด้วย           This study is aimed at studying the basic concepts and legal theories related to training operation of the juvenile vocational training center under state supervision of Thailand and foreign countries and studying existing problems and ways of establishment of the juvenile vocational training center in Thailand. The study finds that the Juvenile and Family Court and Juvenile and Family Case Procedure Act B.E. 2553 has still had lacked clarity and had some limitations. It is inefficient training operation, packed venue, inadequate number of officers, lack of government agency authorized to determine conditions for releasing children and juveniles out of the private juvenile vocational training center, private juvenile vocational training center being exclusive by existing definition of the vocational training center and the director of vocational training center which results such private vocational training center does not have powers and duties by law. Therefore, the Juvenile and Family Court and Juvenile and Family Case Procedure Act B.E. 2553 should be amended in Section 4, Section 55, Section 56 and Section 140. It should cover the private juvenile vocational training center in benefit of more efficient rehabilitation of child and juvenile offenders as a whole, the assistance committee should have power to determine conditions for releasing children and juvenile out of the center and definitions of the vocational training center and the director of vocational training center should also include the private juvenile vocational training center.

Downloads