ปัญหาการบังคับใช้พระราชบัญญัติศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2553

Authors

  • ภัสสร เรืองฤทธิ์
  • เอกพงษ์ สารน้อย
  • คมสัน สุขมาก

Keywords:

สิทธิ, เด็กและเยาวชน, การจับกุม

Abstract

          บทความวิจัยนี้มีจุดประสงค์ในการศึกษาการคุ้มครองสิทธิเด็กและเยาวชน แนวทางปฏิบัติในกระบวนการจับกุมเด็กและเยาวชนของต่างประเทศ วิเคราะห์ถึงปัญหาและข้อเสนอแนะในการแก้ไขปรับปรุงพระราชบัญญัติศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2553 เนื่องจากพระราชบัญญัติดังกล่าวมีส่วนที่ต้องแก้ไขในประเด็นเจ้าหน้าที่ตำรวจผู้จับกุมไม่ได้เป็นผู้ให้ศาลตรวจสอบการจับกุมด้วยตนเอง รวมถึงเรื่องระยะเวลาในการตรวจสอบการจับกุมที่พนักงานสอบสวนต้องใช้ระยะเวลาในการรวบรวมข้อมูล และในประเด็นการตีความถ้อยคำกฎหมายเกี่ยวกับการตรวจสอบการจับกุมเด็กและเยาวชนกรณีที่พนักงานสอบสวนเห็นว่าคดีอาจเปรียบเทียบปรับได้การตีความกฎหมายที่แตกต่างกันอาจส่งผลให้การบังคับใช้กฎหมายในกรณีนี้เกิดผลกระทบต่อรูปคดีหรือตัวเด็กและเยาวชนผู้ถูกจับได้ รวมถึงการสอบปากคำ ในกรณีที่บุคคลกระทำความผิดในขณะที่เป็นเด็กหรือเยาวชนและต่อมาถูกจับได้ ในขณะที่เป็นผู้ใหญ่หรือพ้นเกณฑ์ที่จะเป็นเด็กหรือเยาวชนแล้ว ที่เป็นปัญหาในทางปฏิบัติซึ่งกฎหมายไม่ได้บัญญัติกรณีดังกล่าวไว้ ดังนั้น ผู้วิจัยเห็นควรเสนอแนะให้มีการแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2553 มาตรา 72 ในกรณีการตรวจสอบการจับกุมควรให้เจ้าหน้าที่ชุดจับกุมกับพนักงานสอบสวนนำตัวเด็กและเยาวชนไปศาล การตีความถ้อยคำกฎหมายกรณีที่พนักงานสอบสวนเห็นว่าคดีอาจเปรียบเทียบปรับได้ ควรให้พิจารณาจากเกณฑ์อัตราโทษ และกรณีการสอบปากคำควรใช้การสอบปากคำแบบผู้ใหญ่            This research article aimed to study the protection of children and youth rights. Studying foreign countries’ practice in arrest procedure towards child or juvenile, analyzing problems in order to provide suggestion in a revision of the Juvenile and Family Court and Juvenile and Family Case Procedure Act B.E. 2553 (2010). Because the said act for consideration of a revision i.e. police officers who commit an arrest are usually not present at the Court for its examination of the arrest, period of time when the inquiry officials have collected information and exained the arrest and an interpretation of matter of law relating to examination of the arrest of child or juvenile where the inquiry officials view a case of finable power. Such distinctive interpretation of law may bring about the law enforcement in this regard being significantly impacting on the case or the arrested child or juvenile. An additional practical problem is a wrongdoing was alleged while the accused was child or juvenile and then the accused is arrested and interrogated while he or she is adult or being no longer child or juvenile, as this case is not stipulated in substantive law. The researcher, as a result, has some suggestions in an amendment to the Juvenile and Family Court and Juvenile and Family Case Procedure Act B.E. 2553 (2010) by requiring the police in team of the arrest and the inquiry official to take the arrested child or juvenile to the court for its examination of the arrest, taking consideration of penalty criteria and interrogating the accused as the adult in such regard.

Downloads