การประเมินความต้องการจำเป็นของครูภาคตะวันออกเพื่อการกำหนดประเด็นสาระ การผลิตสื่อการเรียนทางไกลผ่านระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ

Authors

  • อุทิศ บำรุงชีพ

Keywords:

ความต้องการจำเป็น, ภาคตะวันออก, สื่อการเรียนทางไกล, ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ

Abstract

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินความต้องการจำเป็นของครูภาคตะวันออกสำหรับกำหนดประเด็นสาระการผลิตสื่อการเรียนทางไกลผ่านระบบเทคโนโลยีสารสนเทศในกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษาฯ ภาษาไทย สาระคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และภาษาต่างประเทศ จำแนกตามรายเนื้อหาตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานระดับชั้นประถมศึกษา และมัธยมศึกษา กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้ คือ ครูในภาคตะวันออกสายสามัญ 8 จังหวัด จำนวน 506 คน ซึ่งได้มาโดยคำนวณหาขนาดของกลุ่มตัวอย่างด้วยวิธีการคำนวณจากสูตรของ ทาโร ยามาเน่ หลังจากนั้นคำนวณหาจำนวนตัวอย่างประชากรในแต่ละกลุ่ม โดยใช้การสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ และในแต่ละชั้นภูมิจะทำการสุ่มตัวอย่างแบบสัดส่วน หลังจากนั้นทำการสุ่มอย่างง่าย เพื่อเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างจากกลุ่มตัวอย่างครูในแต่ละจังหวัด เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน เทคนิค Modified Priority Needs Index (PNI Modified) ในการจัดลำดับความสำคัญของความต้องการจำเป็น และการวิเคราะห์เนื้อหา          ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างครูภาคตะวันออกให้ลำดับความสำคัญความต้องการจำเป็นสาระเนื้อหามากที่สุดในลำดับที่ 1 ได้แก่ กลุ่มสาระภาษาต่างประเทศ ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 เรื่อง การประกอบอาหาร มีลำดับลำดับความต้องการจำเป็นมากที่สุดโดยมีค่า (PNI Modified =0.82) รองลงมา คือกลุ่มสาระภาษาต่างประเทศระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 คำพังเพย ไทย & อังกฤษ และเทคนิคการทำข้อสอบ error โดยมีค่า (PNI Modified= 0.76) และลำดับที่สาม คือ สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 เรื่อง สหกรณ์และเศรษฐกิจชุมชน โดยมีค่า (PNI Modified =0.75) เมื่อพิจารณาความคิดเห็นที่ครูต้องการเกี่ยวกับสื่อประกอบการสอนเพิ่มเติมของโครงการคลังสื่อการเรียนทางไกลผ่านระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ (DLIT Resource : คลังสื่อการสอน) ทุกกลุ่มสาระพบว่า ครูมีความต้องการสื่อบทเรียนออนไลน์มากที่สุดเป็นอันดับหนึ่ง รองลงมาอันดับ 2 คือสื่อวีดิทัศน์ (VDO) ความต้องการอันดับ 3 คือ คอมพิวเตอร์ช่วยสอน           The objective of this research was to need assessment of eastern teachers for configuration issues to substance media production distance learning via information technology systems. The studied subject groups were those that provided in the social studies, Thai language, the foreign language, mathematics, scientific of primary schools and secondary schools. The samples group in this study of 506 teachers selected from the method of Taro Yamane sample from 8 provinces. After that, calculate the number of samples in each group. By using stratified sampling and on each floor, the sampling is proportional. After that, make a simple random sampling and to collect data from samples from teachers in each province. The Questionnaires were used to collect the data. The statistics used for analyzing the data were percentage, mean, standard deviation, analysis and setting priority in terms of needs using Modified Priority Needs Index (PNI Modified) and content analysis.          The research findings were summarized as follows: The sample group of Eastern teachers gave priority to the need for the most content in the first order, namely foreign language content groups. Eleventh grade for cooking have the most needed sequence of needs. (PNI Modified = 0.82); followed by foreign language subjects at grade level 1, Thai & English aphorism, error test techniques (PNI Modified =0.76) and the third is social studies eleventh grade in cooperative and community economy (PNI Modified =0.75). Moreover, when considering the opinions that teachers need about additional instructional media of distance learning via information technology systems (DLIT Resource) which all groups found that teachers have the highest demand for online lesson materials, second is video, and the third demand is computer-assisted instruction.

Downloads