การรื้อฟื้นคดีอาญาขึ้นพิจารณาใหม่ : ศึกษากรณี เงื่อนไขในการยื่นคำร้องและผู้มีสิทธิร้องขอให้รื้อฟื้นคดี

Authors

  • รวีภัทร์ ฉัตรไชยเดช
  • สุรีย์ฉาย พลวัน
  • คมสัน สุขมาก

Keywords:

การรื้อฟื้นคดี, คดีอาญา, สิทธิ

Abstract

            การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวคิดพื้นฐาน และทฤษฎีทางกฎหมายอาญาเกี่ยวกับการรื้อฟื้นคดีอาญาขึ้นพิจารณาใหม่ โดยศึกษากฎหมายประเทศไทยและต่างประเทศ วิเคราะห์และหาแนวทางแก้ไขปัญหาการบังคับใช้พระราชบัญญัติการรื้อฟื้นคดีอาญาขึ้นพิจารณาใหม่ พ.ศ. 2526 จากการศึกษาพบว่าการรื้อฟื้นคดีอาญาขึ้นพิจารณาใหม่ตามกฎหมายไทยนั้น ขาดความชัดเจน และมีข้อจำกัดอยู่บางประการ โดยเฉพาะเรื่องของเงื่อนไขในการยื่นคำร้องขอรื้อฟื้นคดี ได้แก่ เรื่องคำพิพากษาถึงที่สุดว่าจำเลยได้กระทำความผิดแต่ไม่ได้รับโทษจริง เรื่องการรื้อฟื้นคดีเพียงบางฐานบางกระทง เรื่องการรื้อฟื้นคดีเนื่องจากการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบของเจ้าหน้าที่ในกระบวนการยุติธรรมทางอาญา กรณีเหล่านี้สามารถยื่นคำร้องได้หรือไม่ และเรื่องของผู้มีสิทธิร้องขอให้รื้อฟื้นคดี ได้แก่ การยื่นคำร้องแทนจำเลยต้องถึงแก่ความตายเท่านั้น และการยื่นคำร้องแทนของบุคคลคนหนึ่งเป็นการทำแทนบุคคลอื่นหรือไม่ ดังนั้นจึงควรแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติการรื้อฟื้นคดีอาญาขึ้นพิจารณาใหม่ พ.ศ. 2526 ในมาตรา 5 มาตรา 6 และมาตรา 18 ในเรื่องเงื่อนในการยื่นคำร้องขอให้รื้อฟื้นคดี ควรระบุให้สามารถยื่นคำร้องได้แม้จำเลยจะไม่ได้รับโทษตามคำพิพากษานั้น นอกจากนี้ ในเงื่อนไขดังกล่าวควรระบุชัดเจนถึงกรณีว่าการยื่นคำร้องขอรื้อฟื้นคดีแต่เพียงส่วนหนึ่งส่วนใดของคดีสามารถกระทำได้ และกรณีเจ้าพนักงานกระทำการโดยทุจริตสามารถกระทำได้ รวมถึงแก้ไขในเรื่องผู้มีสิทธิยื่นคำร้องขอให้รื้อฟื้นคดี กรณีการยื่นคำร้องแทนจำเลย ควรระบุให้ครอบคลุมถึงญาติ พี่น้อง และผู้ที่อาศัยอยู่กับจำเลยด้วย            The purpose of this thesis is to study the basic concepts and legal theories related to retrial of criminal case in Thailand and foreign laws. Study problems from law enforcement and solution method about Retrial of Criminal Case Act B.E. 2526. From the study found that Retrial of Criminal Case Act B.E. 2526 lacked clarity and had some limitations. For example one of the conditions of the petition of retrial, the judgment in the original case must be final that the defendant has committed an offense and the penalty from that judgment be applied. Another issue, it didn't specify the retrial just part of the case and the retrial because of corruption in the judicial officers can made or not. On the issue of the right to apply by motion for retrial instead, it's must be the case of the death of the defendant only. Also, the law does not explicitly specify that the action for the person who has the right to apply by motion for retrial instead that doing for the other or not. Therefore, the Retrial of Criminal Case Act B.E. 2526 should be amended in Section 5, Section 6 and Section 18. It should specify to be able to file a petition even if the defendant doesn't receive a penalty from that judgment. In addition, in such conditions, it should be clearly specified that the retrial of any part of the case and the case of a judicial officers acting corruption shall be applied. Including the issue of the person who have the right to apply by motion for retrial. In the case of filing a petition for the defendant, it should specify to cover relatives and the person who live with the defendant as well.

Downloads