มาตรการทางกฎหมายในการควบคุมผู้ประกอบกิจการรถตู้โดยสารประจำทาง

Authors

  • ปาลวัฒน์ แสนคำ
  • สุรีย์ฉาย พลวัน
  • คมสัน สุขมาก

Keywords:

ผู้ประกอบการ, รถตู้โดยสาร, รถโดยสารประจำทาง

Abstract

          การวิจัยนี้มีจุดประสงค์ในการศึกษาถึงแนวคิดพื้นฐานเกี่ยวกับมาตรการในการควบคุมผู้ประกอบกิจการรถตู้โดยสารประจำทางของประเทศไทยและต่างประเทศ เพื่อวิเคราะห์และหาแนวทางแก้ไข โดยจากการศึกษานั้นพบว่าในการควบคุมผู้ประกอบกิจการรถตู้โดยสารประจำทางนั้น กฎหมายหลักที่ใช้บังคับในการประกอบกิจการรถโดยสาร ได้แก่ พระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. 2522 และพระราชบัญญัติจราจร ทางบก พ.ศ. 2522 นั้นยังมีปัญหาด้านการกำหนดคำนิยามของคำว่า “ผู้ประกอบการ” ของผู้ประกอบธุรกิจรถตู้โดยสารประจำทางที่ยังไม่มีความชัดเจน และไม่สามารถบังคับใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพเท่าที่ควร ปัญหาด้านการกำหนดความรับผิดและกำหนดโทษทางอาญาที่เหมาะสม เช่น การกำหนดโทษของผู้ประกอบการที่ฝ่าฝืนเรื่องชั่วโมงการทำงานตามกฎหมายของผู้ประกอบการหรือผู้ขับรถของธุรกิจรถตู้โดยสารประจำทางและยิ่งไปกว่านั้นในเรื่องของปัญหามาตรฐานและความไม่ชัดเจนและการบังคับใช้กฎหมายไม่เป็นไปในทิศทางเดียวกันในเรื่องของการกำหนดโทษของการดื่มสุราหรือของมึนเมาอย่างอื่นของพนักงานขับรถตู้โดยสารประจำทาง ดังนั้น จึงควรแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ พระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. 2522 และพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 รวมไปถึงออกกฎกระทรวง ว่าด้วยการกำหนดหลักเกณฑ์และความปลอดภัยของการประกอบการรถตู้โดยสารสาธารณะ ในเรื่องของการเพิ่มคำนิยามของคำว่า “ผู้ประกอบการ” รถตู้โดยสาร และแก้ไขอัตราโทษให้เหมาะสม เพื่อให้การบังคับใช้กฎหมายนั้นมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น           This research article is aimed at studying fundamental concept relating to measures an taking control of the passenger van operators in Thailand and foreign countries, analyzing and seeking. The study finds that major laws being applied to operation of passenger vehicles are the Land Transport Act B.E. 2522 (1979) and the Land Traffic Act B.E. 2522 (1979) have certain problems i.e. a definition of “Operator” of the passenger van operator is neither definitely stipulated and nor enforceable efficiently as it should be, an inappropriate liability and criminal penalty e.g. penalty imposed to any operator contravening limit of working or driving hours of the operator or the driver of passenger van, as well as problem of standard, imprecision and distinctive direction of law enforcement in respect of penalty imposed to any driver of passenger van who is found illegal drinking liquor or partaking other inebriants. Accordingly, amendment should be done to the Land Transport Act B.E. 2522 (1979), the Land Traffic Act B.E. 2522 (1979) and the Ministerial Regulation on Ruling and Safety of Operation of the Passenger Van about definition of “Operator” should be more inclusive and definite for more efficient law enforcement.

Downloads