มาตรการทางกฎหมายในการคุ้มครองผู้แสวงหาที่ลี้ภัยซึ่งเข้ามาพำนักชั่วคราวในประเทศไทย

Authors

  • ทิพวรรณ ทิทา
  • เกรียงศักดิ์ พินทุสรศรี
  • คมสัน สุขมาก

Keywords:

ผู้แสวงหาที่ลี้ภัย, ผู้ลี้ภัย, กฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง

Abstract

          วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ที่จะศึกษาถึงความเป็นมา แนวความคิด ทฤษฎี และหลักการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับมาตรการทางกฎหมายในการคุ้มครองผู้แสวงหาที่ลี้ภัยซึ่งเข้ามาพำนักชั่วคราวในประเทศไทย ตลอดจนกฎหมายระหว่างประเทศด้านสิทธิมนุษยชนที่ประเทศไทยได้ไปลงนาม รวมทั้งกฎหมายต่างประเทศ แล้วนำมาวิเคราะห์ถึงปัญหาที่เกิดขึ้นในประเทศไทยเพื่อหาแนวทางในการแก้ไขเรื่องดังกล่าวต่อไป          จากผลการศึกษาพบว่า ประเทศไทยยังไม่มีกฎหมายภายในเกี่ยวกับผู้แสวงหาที่ลี้ภัยหรือมาตรการทางกฎหมายในการคุ้มครองผู้แสวงหาที่ลี้ภัยซึ่งเข้ามาพำนักชั่วคราวในประเทศไทย เนื่องจากไม่ได้เข้าเป็นรัฐภาคีในอนุสัญญาว่าด้วยสถานภาพของผู้ลี้ภัย ค.ศ. 1951 และพิธีสารว่าด้วยสถานภาพผู้ลี้ภัย ค.ศ. 1967 ดังนั้น ผู้แสวงหาที่ลี้ภัยซึ่งเข้ามาในประเทศไทยจึงตกอยู่ภายใต้กฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง ตามพระราช บัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 ซึ่งส่งผลให้ผู้แสวงหาที่ลี้ภัยซึ่งเข้ามาในประเทศไทยมีสถานะเป็นผู้เข้าเมืองโดย ผิดกฎหมายตามพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 มาตรา 11 ประกอบมาตรา 62 ทั้งเป็นคนต่างด้าวที่ต้องห้ามมิให้เข้ามาในราชอาณาจักรตามมาตรา 12(1) เนื่องจากเป็นผู้ซึ่งไม่มีหนังสือเดินทางหรือมีหนังสือเดินทางแต่ไม่ได้รับการตรวจลงตรา พวกเขาจึงต้องถูกจับกุม ดำเนินคดีและถูกกักตัวในสถานกักกันตัวคนต่างด้าวเพื่อรอการส่งตัวกลับออกนอกราชอาณาจักร ก่อให้เกิดการละเมิดสิทธิของคนต่างชาติซึ่งเป็นผู้แสวงหาที่ภัย ขัดกับหลักกฎหมายระหว่างประเทศด้านสิทธิมนุษยชน เพราะถึงแม้ว่าประเทศไทยจะไม่ได้เข้าเป็นรัฐภาคีในอนุสัญญาและพิธีสารเกี่ยวกับผู้ลี้ภัยดังกล่าวข้างต้น แต่ประเทศไทยก็มีพันธกรณีที่จะต้องปฏิบัติ ตามกฎหมายระหว่างประเทศด้านสิทธิมนุษยชนอื่น ๆ ที่ประเทศไทยได้ไปลงนาม ให้สัตยาบันไว้ถึง 7 ฉบับ          ดังนั้น ในการศึกษาในครั้งนี้จึงมีข้อเสนอแนะให้มีการแก้ไขกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมืองของประเทศไทย โดยแก้ไขพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 เพิ่มนิยามคำว่า “ผู้แสวงหาที่ลี้ภัย” ไว้ในมาตรา 4 แก้ไขบทบัญญัติมาตรา 12 โดยให้ถือว่าผู้แสวงหาที่ลี้ภัย เป็นบุคคลที่ได้รับการยกเว้นไม่ต้องมีหนังสือเดินทางหรือเอกสารใช้แทนหนังสือเดินทาง สามารถที่จะเข้ามาในราชอาณาจักรได้ และให้มี “กฎกระทรวงว่าด้วยขั้นตอนในการขอพำนักชั่วคราวและสิทธิของผู้แสวงหาที่ลี้ภัย” เพื่อให้การคุ้มครองผู้แสวงหาที่ลี้ภัยตามกฎหมายไทยเป็นไปตามหลักสากลและสอดคล้องกับกฎหมายระหว่างประเทศ ด้านสิทธิมนุษยชนที่ประเทศไทยได้ลงนามและให้สัตยาบันไว้ อันเป็นพันธกรณีที่ประเทศไทยต้องปฏิบัติตาม           The objective of this thesis is to study the background, point of view, theory and principles involving the legal measures for the protection of the asylum seekers who came to stay in Thailand temporarily as well as the international law on the human right signed by Thailand including the foreign country law and the problems in Thailand shall be analyzed for further improvement. From the study result, Thailand does not have the internal law on the asylum seekers or legal measures for the protection of the asylum seekers who came to stay in Thailand temporarily since Thailand has not been the member state in the Convention on the Refugee Status of 1951 and the Protocol on the Refugee Status of 1967. The asylum seekers who came to Thailand are therefore under the immigrant law according to the Immigrant Act B.E. 2522. As the result, those asylum seekers in Thailand are having the status as illegal immigrants according to Section 11, appurtenant to Section 62 and they are the foreigners who are forbidden to enter into the Kingdom according to Section 12(1) since they do not have the passports or having the passports but did not have visas, so they must be arrested, prosecuted and detained in the detention center for foreigners waiting for the repatriation, resulting in the tort of the right of foreigners who are the asylum seekers which is contradicted to the principle of international law on the human right. Although Thailand is not the member state in the convention and protocol concerning the refugees as mentioned above, Thailand is obligated to act in compliance with the international law on other human rights signed by Thailand in the ratification up to 7 copies.          For the study at this time the recommendation is given to amend the Immigration Law B.E.2522 of Thailand by adding the definition of “The asylum seekers” in Section 4 and amending the provision of law in Section 12, considering that the asylum seekers are the persons who are exempted from having the passports or documents to be used in place of the passports that they can enter into the Kingdom and to issue the “Ministerial regulations on the procedure in applying for the temporary stay and the rights of asylum seekers” in order to protect the asylum seekers under the Thai law in compliance with the international principle and the international law on the human right having been signed and ratified by Thailand under the obligation that must be complied by Thailand.

Downloads