กลยุทธ์การพัฒนาการจัดการเรียนการสอน หลักสูตรพุทธศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการเชิงพุทธ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยหน่วยวิทยบริการ ภาคตะวันออก

Authors

  • พระมหากิตติ สร้อยมาลา
  • มานพ แจ่มกระจ่าง
  • ดุสิต ขาวเหลือง

Keywords:

การจัดการเชิงพุทธ, การเรียนการสอน, หน่วยวิทยบริการ, ภาคตะวันออก

Abstract

          การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพการจัดการเรียนการสอน หลักสูตรพุทธศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการเชิงพุทธ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย หน่วยวิทยบริการภาคตะวันออก 2) พัฒนากลยุทธ์การจัดการเรียนการสอน หลักสูตรพุทธศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการเชิงพุทธ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย หน่วยวิทยบริการ ภาคตะวันออก และ 3) ศึกษาความเป็นไปได้ในการนำกลยุทธ์การจัดการเรียนการสอน หลักสูตรพุทธศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการเชิงพุทธคณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยใช้กับหน่วยวิทยบริการภาคตะวันออก ระเบียบวิธีวิจัยใช้การวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed Methods Research) ระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณและการวิจัยเชิงคุณภาพ การวิจัยเชิงปริมาณ เก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง คือ พระและคฤหัสถ์ ซึ่งเป็นผู้บริหาร ผู้สอนผู้เรียน และผู้ใช้งานบัณฑิต จำนวน 399 รูป/คน สุ่มตัวอย่างแบบสัดส่วน จากประชากร 956 รูป/คน เครื่องมือเก็บข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถาม ซึ่งมีค่าความเชื่อมั่น ทั้งฉบับเท่ากับ 0.95 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าคะแนนเฉลี่ย (mean) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard deviation) การวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บข้อมูลจากการระดมสมอง (Brain storming) โดยการวิเคราะห์ SWOT จากผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 12 รูป/คน เลือกแบบเจาะจงจากผู้เชี่ยวชาญ และตรวจสอบข้อมูลจากผู้มีส่วนร่วม ในการสนทนากลุ่มเฉพาะ (Focus Group Discussion) จำนวน 9 รูป/ คน วิเคราะห์ข้อมูลจากทั้งสองขั้นตอนโดยการพรรณนาความ           ผลการศึกษาค้นคว้า พบว่า          1. สภาพการจัดการเรียนการสอน หลักสูตรพุทธศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการเชิงพุทธ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย หน่วยวิทยบริการภาคตะวันออก พบว่า มีแนวทางดำเนินงานใน 5 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านหลักสูตรและการเรียนการสอน สามารถสร้างเอกลักษณ์ของสถาบัน เข้าใจหลักสูตรบูรณาการรายวิชา 2) ด้านบุคลากร อาจารย์ประจำหลักสูตรมีคุณวุฒิตรงสาขาวิชา ผู้สอนมีความรู้และองค์ความรู้เชิงความสัมพันธ์กับหน่วยงานอื่นๆ 3) ด้านการส่งเสริมวิชาการ มีการทำงานแบบเชิงรุกและเชิงรับ มีแหล่งค้นคว้าข้อมูลเพื่อการพัฒนาความรู้และผลงานทางวิชาการ 4) ด้านการวัดและประเมินผล มีกฎเกณฑ์ ระเบียบแบบแผนสามารถเผยแพร่เอกสาร กลไกหลักในการขับเคลื่อนการประเมินผล และ 5) ด้านงบประมาณ มีแผนกลยุทธ์ทางการเงิน แผนป้องกันความเสี่ยง และแผนการจัดหาครุภัณฑ์ที่ทันสมัย          2. การพัฒนากลยุทธ์การจัดการเรียนการสอน หลักสูตรพุทธศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการเชิงพุทธ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย หน่วยวิทยบริการ ภาคตะวันออก พบว่า กลยุทธ์การจัดการเรียนการสอน ประกอบด้วย 1) การให้ความสำคัญต่อการวางแผนปรับปรุงคณะกรรมการพิจารณาการพัฒนาการจัดการเรียนการสอน 2) การให้ความสำคัญต่อการวางแผนพัฒนาระบบสารสนเทศ เพื่อเพิ่มช่องทางในการส่งข่าวสารและข้อมูล 3) มีการสร้างเครือข่ายและการมีส่วนร่วมจากหน่วยงานภายนอก 4) มหาวิทยาลัยมีองค์ความรู้เฉพาะด้านทำให้มีการนำเสนอความรู้ ข้อมูลข่าวสารทางพระพุทธศาสนาได้ถูกต้อง          3. ความเป็นไปได้ในการนำกลยุทธ์การจัดการเรียนการสอน พบว่า กลยุทธ์ที่สามารถนำไปใช้ได้กับการจัดการเรียนการสอน หลักสูตรพุทธศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการเชิงพุทธ หน่วยวิทยบริการ ภาคตะวันออก ประกอบด้วย 1) หลักการจัดการตามหลักพุทธศาสนา 2) วิทยาการสมัยใหม่ 3) การจัดการตามแนวพุทธได้อย่างมีประสิทธิภาพ 4) การประยุกต์ใช้ในการบริหารกิจการพระพุทธศาสนา            The purposes of this research are 1) To study the instruction condition in the Buddhist Management, B. A, Faculty of Social Science, Mahachulalongkornrajavityalaya University; Learning Resource Unit Management of Eastern Region. 2) To develop strategies for instruction in Buddhist Management, B.A, Faculty of Social Science, Mahachulalongkornrajavityalaya University; Learning Resource Unit Management of Eastern Region. 3) To study the possibilities to apply the strategies for development instruction in Buddhist Management, B. A, Faculty of Social Science, Mahachulalongkornrajavityalaya University to the Learning Resource Unit Management of Eastern Region.The research methodology used in this study is mixed methods research which isquantitative research and qualitative research. In the quantitative research, data was collected from the sample group which is monks and laities. Sample group consists of executives, teachers, students, and employers. The sample size is 399 monks/laities. The sample group was selected from a population which size is 956 monks/ laities. Data collection tool is questionnaire which overall internal reliability is 0.95. Statistics measurement used in data analysis is mean and standard deviation. In the qualitative research, data was collected by brainstorming. The SWOT analysis was used in the 12 executives (monks/laities). The sample group was specifically selected by the expert (s). Data check was done by participants in the focus group discussion. The group size is 9 monks/ laities. Data from both qualitative and quantitative research was analyzed by descriptive analysis.          The findings of this study were as follows:          1. The instruction condition in the Buddhist Management, B.A., Faculty of Social Science, Mahachulalongkornrajavityalaya University; Learning Resource Unit Management of Eastern Region: it was found that 5 guidelines available 1) Curriculum and instruction-It is possible to create the identity of the institute and to understand the integrated curriculum in each subject. 2) Personnel – Teachers are qualified following the requirements in each curriculum. Teachers are well-trained and educated in their own field as well as other related fields.3) Academic Support – It is both passive and active work. The information resources are available for education and academic research. 4) Measurement and Evaluation – It was done following standard regulations and forms. The document about the main mechanism in the evaluation process can be published. 5) Budget – The financial strategies, risk prevention plan and modern durable goods purchase plan.          2. Strategies development for instruction in Buddhist Management, B.A., Faculty of Social Science, Mahachulalongkornrajavityalaya University; Learning Resource Unit Management of Eastern Region. It was found that the instruction strategies consist of 1) To prioritize to plan for improvement in the board of committee of instruction development. 2) To emphasize on development plan in information technology for the purposes of increasing ways in news and information notification. 3) To create network and participation from other organization. 4) Specific knowledge – The university is well-known for specific knowledge resulting in proper communication about Buddhism.          3. The possibilities to apply the instruction strategies – It was found that the possible strategies, for the instruction in the Buddhist Management, B.A., the Learning Resource Unit Management of Eastern Region, are 1) The management principles following to the Buddhist dhamma 2) Modern technology 3) The effective Buddhist management 4) To apply to manage the Buddhist.

Downloads