การรับรู้และความคาดหวัง เพื่อสร้างกลยุทธ์ในการพัฒนารายการฝนฟ้าอากาศช่อง 7HD

Authors

  • พรเทพ สิงหกุล
  • กาญจนา มีศิลปวิกกัย

Keywords:

การรับรู้, ความคาดหวัง, สร้างกลยุทธ์, รายการฝนฟ้าอากาศ, ยุคดิจิทัล

Abstract

         การศึกษาวิทยานิพนธ์เรื่องการรับรู้ และความคาดหวัง เพื่อสร้างกลยุทธ์ในการพัฒนารายการฝนฟ้าอากาศช่อง 7HD โดยมีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาการรับรู้ของผู้ชมที่มีต่อกระบวนการผลิตรายการฝนฟ้าอากาศ (2) เพื่อศึกษาความคาดหวังของผู้ชมที่มีต่อกระบวนการผลิตรายการฝนฟ้าอากาศ (3) เพื่อสร้าง กลยุทธ์ในการพัฒนารายการฝนฟ้าอากาศ ให้สอดคล้องกับความต้องการรับชม การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาวิจัยเชิงเชิงสำรวจ (Survey Research) โดยใช้วิธีวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) มีแบบสอบถาม (Questionnaire) เป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูลและทำการประมวลผลจากโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูปกลุ่มตัวอย่างการวิจัย ได้แก่ ประชาชนที่เคยชมรายการฝนฟ้าอากาศ ช่อง 7HD อย่างน้อย 5 ครั้ง ในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก ภาคใต้ ภาคกลาง และกรุงเทพมหานครกับปริมณฑล โดยเป็นการสุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญ (Accidental Sampling) ซึ่งจะสุ่มตัวอย่างจากผู้ชมทั้งหมด 420 คน เพื่อให้ได้ข้อสรุปของผู้ชมทั้งประเทศอย่างแท้จริง จากการตอบแบบสอบถามออนไลน์          ผลการศึกษา พบว่ากลุ่มตัวอย่างรับรู้ ด้านผู้ดำเนินรายการ อันดับ 1 รองลงมาเป็นด้านเนื้อหาข่าว ด้านชุดผู้ดำเนินรายการ ด้านการออกแบบเชิงกราฟิก ส่วนด้านสุดท้ายเป็นด้านธีมรายการ ที่สร้างการรับรู้ได้น้อยที่สุด ส่วนความคาดหวังของผู้ชมรายการพยากรณ์อากาศ ฝนฟ้าอากาศ พบว่า ผู้ดำเนินรายการเป็นสิ่งที่ผู้ชมให้ความสำคัญกับความคาดหวัง รองลงมาเป็นเรื่องของเนื้อหาข่าว ด้านชุดผู้ดำเนินรายการ ด้านการออกแบบเชิงกราฟิก ส่วนด้านสุดท้ายเป็นด้านธีมรายการ ผู้ชมให้ความคาดหวังน้อยความคาดหวัง (1) ด้านผู้ดำเนินรายการ ผู้ชมคาดหวังให้ผู้ดำเนินรายการความสำคัญกับใจความข่าวสารและเน้นย้ำคำเตือนเรื่องของสภาพอากาศที่ต้องระวัง โดยใช้น้ำเสียงประกอบ เพื่อให้ผู้รับชมตื่นตัว ส่วนโทนเสียง การใช้ถ้อยคำที่บ่งบอกความรู้สึกได้หลายอารมณ์ เพื่อให้ผู้รับชมรู้สึกเพลิดเพลิน ยังคาดหวังอยู่น้อย (2) ด้านเนื้อหาข่าว ผู้ชมคาดหวังการนำข้อมูลเรื่องของสภาพอากาศจากแหล่งข่าวอื่น นอกเหนือจากกรมอุตุนิยมวิทยา มาประกอบการวิเคราะห์ข้อมูล และถูกตีแผ่ วิเคราะห์อย่างมีหลักการให้น่าเชื่อถือ ส่วนการเจาะลึกข่าวพยากรณ์อากาศในพื้นที่ประสบภัยธรรมชาติ ผู้ชมยังคาดหวังน้อย (3) ด้านชุดผู้ดำเนินรายการ ผู้ชมคาดหวังให้ชุดผู้ดำเนินรายการ มีดีไซน์ชุดที่ทันสมัย มีลักษณะแฟนตาซีไม่เหมือนแฟชั่นทั่วไปและเป็นชุดมีความเหมาะสมตามกาลเทศะในการสวมใส่ เป็นแบบอย่างให้ผู้ชมส่วนชุดประดิษฐ์ขึ้นเอง ช่วยสร้างความ แปลกใหม่น่าสนใจ ผู้ชมยังคาดหวังน้อย (4) ด้านการออกแบบเชิงกราฟิก ผู้ชมคาดหวังการพัฒนาฉากเดิม ๆ ที่ใช้ซ้ำ ๆ ให้แตกต่างจากเดิม โดยการสร้างสรรค์องค์ประกอบในฉากเพิ่มเติม ให้สอดคล้องกับสถานการณ์ และพัฒนาองค์ประกอบในฉากกราฟิก ให้ทันต่อสถานการณ์ปัจจุบัน ส่วนกราฟิกตัวหนังสือ แจ้งเตือนภัย ต้องโดดเด่น ให้ความรู้สึกตื่นตัวและระมัดระวัง ต่อเหตุการณ์ที่กำลังจะมาถึง เป็นสิ่งที่ผู้ชมคาดหวังน้อย (5) ด้านธีมรายการ ผู้ชมคาดหวังที่จะเห็นธีมล้อเลียน เสียดสี อิงกระแสสังคม มีความน่าสนใจ ทำให้สนุกสนานเฮฮา และธีมเกี่ยวกับละครของทางสถานี ทำให้รายการน่าสนใจ เมื่อแสดงในบทบาทตัวละคร ผสมผสานการรายงานสภาพอากาศส่วนธีม อย่างเป็นทางการผู้ชมคาดหวังน้อย            Thesis study on perception and anticipation on a developing strategy Channel 7 HD Weather Show (1) to study an audience’s awareness toward program production process (2) to study an audience expectation towards the program production process (3) to create a strategy of a program production that relate to an audience expectation. This is a study of Survey Research using quantitative methodology offer the questionnaires as a tool for collecting data and processing from a computer program.          Quantitative research were used to survey opinions from questionnaires. The sample group are from the 7HD weather program audience from all over the country. From 6 regions, 70 each as in a total of 420 people by answer an online questionnaire. An audience must have been watching at least 5 7HD weather programs since the researcher will send to a regional reporter in Chiang Mai, Khon Kaen, Nakhon Si Thammarat, Chonburi, Phra Nakhon Si Ayutthaya, Central Region, Bangkok and Metropolitan area.          For the analysis of the perception of CH7 weather program shows that sample group recognize the tv host as the top of mind, followed by the news content, costume, graphic design, and the theme of the program that create a least recognition.           For expectation, (1) program host, an audience expect a program host to provide an accurate information of the weather forecast, warnings about weather conditions that must be considered, use of a sound effects to draw audience’s attention, use a variety of voice toning (2) news content, an audience expect to get a Weather forecast from different news sources apart from the Meteorological Department (3) costume, an audience expect to a fantasy costume unlike a general fashion (4) The graphic design of the project is expected to develop from an original scenes create a different style up to a current situation. As for the program theme, the program is expected to see a parody theme based on a mainstream topic, also a channel 7 drama.

Downloads