การพัฒนาลักษณะมุ่งอนาคตของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ด้วยการปรึกษากลุ่มแบบบูรณาการทฤษฎีและเทคนิค
Keywords:
การปรึกษา, กลุ่มแบบบูรณาการทฤษฎี, เทคนิค, นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3Abstract
การวิจัยนี้เป็นการวิจัยและพัฒนาที่มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาองค์ประกอบลักษณะมุ่งอนาคต 2) สร้างโปรแกรมการปรึกษากลุ่มแบบบูรณาการทฤษฎีและเทคนิคสำหรับพัฒนาลักษณะมุ่งอนาคต และ 3) ศึกษาผลของโปรแกรมการปรึกษากลุ่มแบบบูรณาการทฤษฎีและเทคนิคต่อการพัฒนาลักษณะมุ่งอนาคต กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่มัธยมศึกษา กระทรวง ศึกษาธิการในภาคตะวันออกของประเทศไทย แบ่งเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มแรกมีจำนวน 960 คน ที่ได้มาจากการสุ่มแบบหลายขั้นตอน (Multistage random sampling) เพื่อใช้ในการศึกษาองค์ประกอบลักษณะมุ่งอนาคต กลุ่มที่ 2 เป็นนักเรียนโรงเรียนแสนสุข จังหวัดชลบุรี ที่มีคะแนนลักษณะมุ่งอนาคตต่ำกว่าเปอร์เซ็นต์ไทล์ที่ 25 จำนวน 24 คน สุ่มเป็น 2 กลุ่ม และทำการสุ่มเข้ากลุ่ม (Random assignment) แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง และกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 12 คน เพื่อใช้ในการศึกษาผลของโปรแกรมการปรึกษากลุ่มแบบบูรณาการทฤษฎีและเทคนิคในกลุ่มทดลอง และกลุ่มควบคุมใช้วิธีปกติของโรงเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ได้แก่ 1) แบบวัดลักษณะมุ่งอนาคต และ 2) โปรแกรมการปรึกษากลุ่มแบบบูรณาการทฤษฎีและเทคนิคสำหรับพัฒนาลักษณะมุ่งอนาคต แผนการทดลองเป็นแบบสุ่ม 2 กลุ่ม ทดสอบระยะก่อนการทดลอง ระยะหลังการทดลองและระยะติดตามผล (The randomized pretest-posttest control group design) และมีแผนการดำเนินการปรึกษากลุ่มในการทดลอง 18 ครั้ง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ (EFA) การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน (CFA) การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบสองทางวัดซ้ำ (two-way repeated measure ANOVA) และทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยรายคู่ด้วยวิธี Bonferroni ผลการวิจัยพบว่า 1. องค์ประกอบลักษณะมุ่งอนาคตของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบได้แก่ การรับรู้ความสามารถตนเอง เจตคติต่อการเรียนรู้ แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ การควบคุมตนเอง และการคาดการณ์อนาคต ซึ่งโมเดลมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์และมีค่าน้ำหนักองค์ประกอบอยู่ในเกณฑ์ระดับสูง ซึ่งมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 2. รูปแบบโปรแกรมการปรึกษากลุ่มแบบบูรณาการทฤษฎีและเทคนิค เพื่อพัฒนาลักษณะมุ่งอนาคตของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ประกอบด้วย 3 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นเริ่มต้นการให้การปรึกษา ขั้นดำเนินการให้การปรึกษาและขั้นยุติการให้การปรึกษา โดยเนื้อหาได้บูรณาการทฤษฎีการปรึกษากลุ่มพฤติกรรมการรู้คิด (CBT) และเทคนิคในทฤษฎีการปรึกษากลุ่มที่เกี่ยวข้องอีก 4 ทฤษฎี ได้แก่ เทคนิคในทฤษฎีเหตุผล อารมณ์และพฤติกรรม (REBT) เทคนิคในทฤษฎีเกสตัลท์ (GT) เทคนิคในทฤษฎีพฤติกรรมนิยม (BT) และเทคนิคในทฤษฎีเผชิญความจริง (RT) เพื่อพัฒนาลักษณะมุ่งอนาคตของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 3. ผลของโปรแกรมการปรึกษากลุ่มแบบบูรณาการทฤษฎีและเทคนิคต่อลักษณะมุ่งอนาคตของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 พบว่า 1) นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่ได้รับการปรึกษากลุ่มแบบบูรณาการทฤษฎีและเทคนิคมีลักษณะมุ่งอนาคตในระยะหลังการทดลอง และระยะติดตามผล สูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 2) นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่ได้รับการปรึกษากลุ่มแบบบูรณาการทฤษฎีและเทคนิคมีลักษณะมุ่งอนาคตระยะหลังการทดลองและระยะติดตามผลสูงกว่าระยะก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 This study was a research and development that aimed to; 1) study the future orientation factor, 2) develop the assimilative integrative group counseling program for develop the future orientation technique, and 3) study the result of the assimilative integrative group counseling program and the development of future orientation technique. The samples were grade 9th students in the schools of the Secondary Educational Service Area Office, Ministry of Education in the eastern area of Thailand. These samples were divided into two groups. The first one was 960 grade 9th students those were selected by multistage random sampling to study the future orientation factor. The second group was 24 students at grade 9th of Saensook School, Chon Buri Provinces, those who earned the score lower than percentile 25th. The second group was randomly assigned into an experimental group and control group. Each group consisted of 12 students to study the result of the assimilative integrative group counseling program technique in an experimental group and normal method for the control group. The research instruments were 1) Future orientation measurement form, and 2) The assimilative integrative group counseling program and development of the future orientation technique. The experiment consisted of three stages, pretest, posttest and follow up. The counseling was used 18 times in an experiment group. Data were analyzed using exploratory factor analysis, confirmatory factor analysis, two-way repeated measures ANOVA and Bonferroni for post-hoc procedure. The results were that; 1. Confirmatory factor analysis of future orientation of grade 9th students found that the factor of the future orientation model includes 5 factors: Self- efficacy perception, Attitude toward learning, Achievement motive, Self- control, and Future expectation. This consistent with empirical data. The weight of the composition was high and was significant at the .0 5 level. It was possible to measure the future orientation factors of grade 9th students.Downloads
Issue
Section
Articles