ยุทธศาสตร์การจัดการทุน “โครงการทุนการศึกษาเฉลิมราชกุมารี” ระดับอุดมศึกษาของ กระทรวงศึกษาธิการ

Authors

  • ปุญญ์พัชชาณัฏ ใจสถาน
  • สมหมาย แจ่มกระจ่าง
  • พักตร์วิภา โพธิ์ศรี

Keywords:

ยุทธศาสตร์, การจัดการทุน, โครงการทุนการศึกษาเฉลิมราชกุมารี, ระดับอุดมศึกษา

Abstract

          การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาวิเคราะห์สภาพการจัดการทุน “โครงการทุนการศึกษาเฉลิมราชกุมารี” ระดับอุดมศึกษา ของกระทรวงศึกษาธิการ 2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการจัดการทุน “โครงการทุนการศึกษาเฉลิมราชกุมารี” ระดับอุดมศึกษา ของกระทรวงศึกษาธิการ และ 3) เพื่อนำเสนอยุทธศาสตร์การจัดการทุน “โครงการทุนการศึกษาเฉลิมราชกุมารี” ระดับอุดมศึกษา ของกระทรวงศึกษาธิการ โดยใช้รูปแบบการวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed Methods Research) โดยใช้แบบสอบถามความคิดเห็นจากผู้รับทุน จำนวน 255 คน การสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth interview) กับผู้เกี่ยวข้อง จำนวน 24 คน และการสนทนากลุ่ม (Focus group discussion) กับหน่วยงานที่เป็นผู้ดูแลทุน จำนวน 5 คน สรุปผลการวิจัย ดังนี้          1. สภาพการจัดการทุน พบว่า โดยภาพรวมทุกด้านอยู่ในระดับน้อย เมื่อพิจารณารายด้าน สภาพการจัดการทุนด้านการศึกษาอยู่ในระดับปานกลาง สถานภาพการจัดการทุนด้านสุขภาพของผู้รับทุนภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง สถานภาพการจัดการทุนด้านครอบครัวของผู้รับทุนการศึกษาภาพรวมอยู่ในระดับน้อย และด้านการใช้จ่ายและการจัดการทุนอยู่ในระดับน้อย         2. ปัจจัยที่ส่งผลต่อการจัดการทุน พบว่า มี 2 ปัจจัย คือ 1) ปัจจัยทางด้านบวก และ2) ปัจจัยทางด้านลบ โดยปัจจัยทางด้านบวก ภาครัฐให้ความสำคัญต่อโครงการ สนับสนุนทุนการศึกษา และงบประมาณในการบริหารจัดการโครงการฯ ให้กับผู้รับทุนจนเรียนจบครบตามหลักสูตรในระดับอุดมศึกษา (ปริญญาตรี) และส่งเสริมให้ผู้รับทุนการศึกษากลับไปปฏิบัติงานในพื้นที่ภูมิลำเนาของตนเองหลังสำเร็จการศึกษา ปลูกฝังและพัฒนาผู้เรียนในสถานศึกษาที่อยู่ในพื้นที่ห่างไกลให้เห็นคุณค่าทางการศึกษา มีความสำนึกในความเป็นคนไทย รักถิ่นฐาน รักประเทศและรักการปกครองตามระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข ซึ่งโครงการดำเนินงานในรูปของคณะกรรมการ และมีคู่มือแนวทางการดำเนินงานโครงการให้กับผู้เกี่ยวข้องนำไปประยุกต์ใช้ ส่วนปัจจัยทางด้านลบพบว่า ผู้รับทุนไม่ได้รับข้อมูลโครงการที่เพียงพอ ขาดการติดต่อกันระหว่างผู้เกี่ยวข้องในการจัดการทุนกับผู้รับทุนมีการประชาสัมพันธ์โครงการฯน้อยมาก การส่งเงินทุนให้กับผู้รับทุนมีความล่าช้า ไม่มีการส่งมอบภารกิจโครงการ กรณีครูและเจ้าหน้าที่ผู้ดูแลทุนโยกย้าย/หรือเปลี่ยนแปลง ไม่มีการส่งต่อข้อมูลผู้รับทุน            The objectives of the research were (1) to analyze the management of "Chalermrajakumari Scholarship Project" on Higher Education, Ministry of Education. (2) to study factors affecting to "Chalermrajakumari Scholarship Project" management on Higher Education, Ministry of Education, and (3) to propose a "Chalermrajakumari Scholarship Project" scholarship management strategy on Higher Education, Ministry of Education. The research was a mixed methods research which divided into 3 parts. The method of document synthesis from past follow-up reports and survey research appeared in first part approach collected data by questionnaire which was responded by a sample group of scholarship recipients (255 persons), The second part approach was an in-depth interview from scholarship related persons (24 persons) and the third part approach was presenting the scholarship management strategy discussed by the department that manage the scholarship (5 persons) as a focus group.          The findings were as follows:          1. Scholarship management conditions showed that in all aspects, at a low level. When considering each aspect, the condition of educational scholarship management were at a moderate level, the status of healthcare for scholarship recipient were moderate level, the status of family fund management of scholarship recipients were at a low level and the spending and scholarship management were at a low level.          2. There were 2 major factors effect scholarship, positive factors and negative factors. For the positive factors, the government gave the priority to budgeting and scholarship support for the scholarship recipients until the course in higher education (bachelor degree) are completed and encourage the scholarship recipients to return to work in their hometown after graduation, which aimed to cultivate and develop learners in educational institutions in remote areas to realize the value of education, with a sense of Thai citizens, who love their country, respect to democratic form of government with the King as Head of State. The project operated in the form of a committee, and there is a guideline for project implementation to those who concerned of applying. However, for the negative factors, the research found that the recipients did not received sufficient project information, disconnection between grantor and grantees, lacking of scholarship announcement, delay of scholarship, and no cooperation between staffs and grantees.          3. Presenting 5 strategies of scholarship management. Firstly, increasing scholarship management efficiency. Secondly, increasing efficiency in applying information technology. Thirdly, enhancing performance for relevant personnel. Fourthly, strengthening and developing educational potential, guidance and professional skills, and Finally, enhancing the understanding and awareness of project objectives.

Downloads