การประเมินความสำเร็จตามโครงการโครงการเงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิดขององค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่นในจังหวัดฉะเชิงเทรา
Keywords:
นโยบายสู่การปฏิบัติ, เงินอุดหนุน, การเลี้ยงดูเด็กแรกเกิด, องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นAbstract
การวิจัยเรื่องนี้ มีวัตถุประสงค์มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สภาพการปฏิบัติโครงการและปัจจัยเชิงนโยบายโครงการเงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิด 2) ความสำเร็จของสภาพการปฏิบัติโครงการและปัจจัยเชิงนโยบายโครงการ ที่ส่งผลต่อโครงการเงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิดไปปฏิบัติขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในจังหวัดฉะเชิงเทรา การวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยใช้แบบผสานวิธี (Mixed-methods Research) โดยใช้การวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) และการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ใช้แบบสอบถามในการเก็บข้อมูลจากผู้ปฏิบัติงาน คือพนักงานท้องถิ่น และอาสาสมัครพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (อพม.) ได้กลุ่มเป้าหมาย จำนวน 400 คน สถิติใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพการปฏิบัติโครงการเงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิดขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ทั้ง 4 ด้าน โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก 2) ปัจจัยเชิงนโยบายโครงการเงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิดไปปฏิบัติขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทั้ง 6 ด้าน โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก และ ระดับความสำเร็จในการนำนโยบายโครงการเงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิดไปปฏิบัติขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ทั้ง 2 ด้าน โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก จากการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการนำนโยบายโครงการเงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิดไปปฏิบัติขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ได้แก่ ด้านนโยบายของรัฐ (x1), ด้านการบริหาร (x4), ด้านกฎหมาย (x2), ด้านวิถีชีวิต (x3), โดยสามารถอธิบายความผันแปรของความสำเร็จในการนำนโยบายไปปฏิบัติ ได้ร้อยละ 78 (R = 0.78) และด้านการนำระเบียบไปปฏิบัติ (x8) ด้านการบูรณาการ การทำงาน (x10) ด้านการให้ความรู้ความเข้าใจ (x7) ด้านการตรวจสอบโครงการ (x9) และด้านการนำนโยบายไปปฏิบัติ (x6) สามารถอธิบายความผันแปรของความสำเร็จในการนำนโยบายไปปฏิบัติ ได้ร้อยละ 52 (R = 0.52) โดยสามารถอธิบายความผันแปรของความสำเร็จในการนำนโยบายไปปฏิบัติ ได้ร้อยละ 52 (R = 0.52) ส่งผลต่อความสำเร็จในการนำนโยบายโครงการเงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิดไปปฏิบัติขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในจังหวัดฉะเชิงเทรา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผลการวิจัยยังพบว่าความสำเร็จในการนำนโยบายโครงการเงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิดไปปฏิบัติขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ด้านต่าง ๆ คือ 1) ด้านความพึงพอใจของประชาชน คือขั้นตอนเป็นไปตามที่ระเบียบกำหนด ความสะดวกรวดเร็วในการให้บริการแต่ละขั้นตอน ความเป็นธรรมของการบริการ เช่น เรียงตามลำดับก่อนหลังมีความเสมอภาคเท่าเทียมกัน แบบฟอร์มมีความชัดเจน และมีตัวอย่างการกรอกแบบฟอร์มหรือคำร้อง เจ้าหน้าที่มีความรู้ ความสามารถในการให้บริการ ช่วยแก้ปัญหาได้ และเอาใจใส่ กระตือรือร้น และความพร้อมในการให้บริการ มีช่องทางการรับฟังความคิดเห็นต่อการให้บริการ เช่น ตู้รับฟังความคิดเห็น เว็บไซต์มีการประชาสัมพันธ์การให้บริการแผ่นพับ ป้ายประชาสัมพันธ์ มีสื่อประชาสัมพันธ์/คู่มือและเอกสารให้ความรู้ มีสายด่วน ในการสอบถามข้อมูล มีการแจ้งแผนผังขั้นตอนและผู้ให้บริการ การจัดทำป้ายข้อความ ป้ายประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับการให้บริการมีความชัดเจน เข้าใจง่าย มีการใช้วัสดุ อุปกรณ์สำหรับการให้บริการมีความทันสมัย การให้บริการเป็นไปตามระยะเวลาที่กำหนด และข้อที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ เจ้าหน้าที่ให้บริการต่อผู้รับบริการเหมือนกันทุกราย โดยไม่เลือกปฏิบัติ 2) ด้านการสร้างทุนมนุษย์ที่ยั่งยืน นั้นเป็นการลงทุนในทุนมนุษย์ที่จะช่วยบำรุงรักษาคุณค่าและเพิ่มค่าทุนมนุษย์ เป็นการเพิ่มประสิทธิภาพของการจัดสรรทรัพยากร และเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ และความเป็นธรรมในการกระจายรายได้ นโยบายนี้เป็นการสร้างทุนมนุษย์และมีความสำคัญต่อกำลังคนมาก โครงการเกิดผลดีต่อสังคมในด้านการช่วยเพิ่มคุณภาพให้กับทุนมนุษย์ และสามารถประเมินค่าทางเศรษฐกิจด้านต้นทุนได้ในอนาคต ทำให้โครงการนี้เกิดประโยชน์ต่อสาธารณชนอย่างมากโดยวัดค่าเป็นตัวเงินไม่ได้เพราะเกิดประโยชน์กับระบบเศรษฐกิจ สังคม ที่มีคุณภาพ The objectives of this study were to study 1) situation of policy implementation and policy factors of support budget for raising of new born baby program 2) achievement of situation of policy implementation and policy factors of which affected the program on budget for raising of new born baby program to implement of local administrative organizations in Chachoengsao Province.The research was mixed-methods research using quantitative and qualitative research methods. The research employed survey questionnaire to collect data from 400 practitioners who were local administrative officers and volunteer on social development and human security using purposive random sampling. In this research frequency, percentage, mean, standard deviation and step wise multiple regression analysis were used to analyzed the data and to test hypothesis. Research results found that 1) situation of policy implementation and policy factors of funding for raising new born baby program of local administrative organizations in overall 4 aspects was in high level 2) the policy factors of the budget to support raising of new born baby program from 6 aspects in overall was at high level and 3) achievement level of implementing the budget for raising new born baby program of the local administrative organizations from 2 aspects in overall was in high level. The results from Stepwise Multiple Regressions analysis revealed that the factors affecting the achievement of the policy of the budget to support looking after new born baby program of local administration organizations were the government policy (X1), administrative aspect (X4), legal aspect (X2), life style aspect (X3) which were able to explain the regression of the achievement of policy implementation at 78 percent (R2 = 0.78). The aspects of regulation implementation (X8), integrated job performing (X10), providing knowledge and understanding (X7), program audition (X9) and policy performing (X6) and were able to explain the regression of the achievement of policy implementation at 52 percent (R2 = 0.52) and these also affected the achievement of the policy of the budget to looking after of new born baby program of Local Administration Organizations in Chachoengsao Province at significant level of 0.05. The results from this study also found the achievement of the implementation of the budget to support the looking after of new born baby program of local administration organizations in each aspect including (1) people’s satisfaction aspect which were the procedure conformed the regulation, convenient and speed of service in each step, fair services such as queuing, equality, clear forms with examples to follow, officers who had ability and knowledge in services helped solving the problems, well-care, and willing to serve, having accesses to overhear opinion of the services such as opinion dropped-box, having the service providing public relations on the website, leaflet, PR board and manual for knowledge providing, hotline for inquire of information, and having clearly procedure and step of services for service users, easy to understand, using modern office automation for the services, and the services were followed the timeframe. The results revealed the items with the lowest mean were officers provided service equally without discrimination (2) for sustainable human capital building aspect, the results found to be investment in human capital which help maintaining value and increase human capital value. It helped increase effectiveness of resource allocation and economic stability, and the fairness in income distribution. This policy is to build human capital and is crucial for human resource. The program had positive effects on social in order to help add quality on to human capital and eligible to forecast economic value of costs in the future making the program be huge benefits to public even though could not measure in term of money because it created benefits for the quality of economic and social system.Downloads
Issue
Section
Articles