ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงานของนิสิตระดับปริญญาตรี สาขาเทคโนโลยีอุตสาหกรรมศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา

Results of Project-based Instruction with Undergraduate Students, Industrial Technology Education, Faculty of Education, Burapha University

Authors

  • ดุสิต ขาวเหลือง

Keywords:

กิจกรรมการเรียนการสอน, การสอนแบบโครงงาน, ทักษะทางการคิด

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงานของนิสิตระดับปริญญา ตรี 2) เพื่อเปรียบเทียบทักษะการคิดระหว่างนิสิตระดับปริญญาตรีที่เรียนด้วยการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานกับ นิสิตที่เรียนด้วยการจัดการเรียนรู้แบบปกติ 3) เพื่อเปรียบเทียบทักษะการคิดของนิสิตระดับปริญญาตรีที่มีผลการ เรียนแตกต่างกัน 4) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการทำโครงงานระหว่างนิสิตระดับปริญญาตรีที่เรียนด้วยการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานกับนิสิตที่เรียนด้วยการจัดการเรียนรู้แบบปกติ และ 5) เพื่อศึกษาความคิดเห็นของนิสิตที่มีต่อกระบวนการทำโครงงาน กลุ่มตัวอย่างเป็นนิสิตสาขาวิชาเทคโนโลยีอุตสาหกรรมศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา ที่มีผลการเรียนสูงและผลการเรียนต่ำ จำนวน 70 คน แบ่งออกเป็นกลุ่มทดลอง และกลุ่มควบคุม โดยใช้วิธีเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง เลือกห้องที่ผู้วิจัยได้รับมอบหมายให้ทำการสอน กลุ่มทดลองเรียนด้วยวิธีการจัดการเรียนรู้แบบโครงงาน และกลุ่มควบคุมเรียนด้วยวิธีการจัดการเรียนรู้แบบปกติ ทั้งกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม มีการทดสอบหลังเรียนด้วยแบบทดสอบวัดระดับทักษะการคิด การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย ความเบี่ยง เบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที และการวิเคราะห์ความแปรปรวนร่วม ผลการวิจัยครั้งนี้พบว่า 1. คะแนนทักษะการคิดของนิสิตที่เรียนด้วยวิธีการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานกับนิสิตที่เรียนด้วยวิธีการจัดการเรียนรู้แบบปกติ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และนิสิตกลุ่มที่มีผลการเรียนสูงกับนิสิตกลุ่มที่มีผลการเรียนต่ำมีคะแนนของระดับทักษะการคิดแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และปฏิสัมพันธ์ร่วมระหว่างวิธีการจัดการเรียนรู้กับระดับผลการเรียน พบว่า วิธีการจัดการเรียนรู้และระดับผลการเรียนร่วมกันส่งผล ต่อคะแนนทักษะการคิดของนิสิตระดับปริญญาตรีอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ 2. คะแนนความสามารถในการทำโครงงานของนิสิตที่เรียนด้วยวิธีการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานกับนิสิตที่เรียนด้วยวิธีการจัดการเรียนรู้แบบปกติ แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และนิสิตกลุ่มที่มีผลการเรียนสูงกับนิสิตกลุ่มที่มีผลการเรียนต่ำมีคะแนนความสามารถในการทำโครงงานแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05  The purposes of this study were 1) to study results of project-based instruction with undergraduate students, Industrial Technology Education, Faculty of Education, 2) to compare if there was a difference in thinking skills of undergraduate students who studied by Project-based instruction and who studied by conventional teaching method, 3) to compare if there was a difference in thinking skills of undergraduate students who had varying grade point average, 4) to study ability in doing projects of undergraduate students who studied by Project-based instruction and who studied by conventional teaching method, and 5) to study whose opinion on the process of project work. The samples consisted of 70 undergraduate students from Faculty of Education, Burapha University. They were divided into two groups: an experimental group and a control group. The experimental group was taught through Project-based instruction, while the control group was taught through conventional method. The researcher was assigned to be taught for an experimental group and a control group. An experimental group consisted of high and low grade point average. A control group had also consisted of high and low grade point average. There were 35 students in each group. The experimental group and control group were posttest for thinking skills. The collected data were analyzed by percentage, arithmetic mean, standard deviation, t-test, and ANCOVA. The research findings were summarized as follows: 1. The scores in thinking skills of the experimental group were significantly higher than those of students in the control group at .05 level of significance, and the scores in thinking skills of the high grade point average group were significantly higher than those of students in the low grade point average group at .05 level of significance. In regard to the interaction between method of teaching and level of grade point average, it was found that the method of teaching and level of student’s grade point did not significantly differ. 2. The scores of ability in doing projects of the experimental group were significantly higher than those of students in the control group at .05 level of significance, and the scores of ability in doing projects of the high grade point average group were significantly higher than those of students in the low grade point average group at .05 level of significance.

Downloads

Published

2024-01-29