https://ojs.lib.buu.ac.th/index.php/social/issue/feed วารสารการศึกษาและการพัฒนาสังคม มหาวิทยาลัยบูรพา 2020-09-16T15:46:30+00:00 วารสารการศึกษาและการพัฒนาสังคม journal.Libbuu@gmail.com Open Journal Systems https://ojs.lib.buu.ac.th/index.php/social/article/view/6959 สมรรถภาพทางกายของนิสิตสาขาวิชาพลศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพาปีการศึกษา 2562 2020-09-16T15:46:29+00:00 เกษมสันต์ พานิชเจริญ society@buu.ac.th ระพีพัฒน์ เดือนเพ็ญศรี society@buu.ac.th ประทีป ปุณวัฒนา society@buu.ac.th เอกยศ มานะสม society@buu.ac.th ปนัดดา จูเภาล์ society@buu.ac.th โสภณ อาภรณ์ศิริโรจน์ society@buu.ac.th <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาสมรรถภาพทางกายของนิสิต สาขาวิชาพลศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา ปีการศึกษา 2562 กลุ่มตัวอย่างเป็นนิสิตพลศึกษาชาย 60 คน และนิสิตพลศึกษาหญิง 52 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบทดสอบสมรรถภาพทางกายสำหรับประชาชน อายุ 19-59 ปี ของสำนักวิทยาศาสตร์การกีฬา กรมพลศึกษา พ.ศ.2562 ประกอบด้วย รายการทดสอบ 5 รายการ ได้แก่ ดัชนีมวลกาย นั่งงอตัวไปข้างหน้าแรงบีบมือ ยืน-นั่ง บนเก้าอี้ 60 วินาที และยืนยกเข่าขึ้นลง 3 นาที วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ยและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน<br />&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; ผลการวิจัยพบว่า สมรรถภาพทางกายของนิสิตพลศึกษาชั้นปีที่ 1-4 มีผลการทดสอบตามลำดับ ดังนี้<br />&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; ด้านที่ 1 ดัชนีมวลกาย เมื่อเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยกับเกณฑ์ พบว่า นิสิตชายทุกชั้นปี มีค่าดัชนีมวลกาย อยู่ในระดับสมส่วน ยกเว้นชั้นปีที่ 4 อยู่ในระดับท้วม ส่วนนิสิตหญิงทุกชั้นปี มีค่าดัชนีมวลกายอยู่ในระดับสมส่วน ด้านที่ 2 นั่งงอตัวไปข้างหน้า เมื่อเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยกับเกณฑ์ พบว่า นิสิตชายทุกชั้นปี มีค่านั่งงอตัวไปข้างหน้าอยู่ในระดับปานกลาง ยกเว้นชั้นปีที่ 1 อยู่ในระดับดี ส่วนนิสิตหญิงทุกชั้นปี มีค่านั่งงอตัวไปข้างหน้า อยู่ในระดับปานกลาง ยกเว้นชั้นปีที่ 3 อยู่ในระดับต่ำ ด้านที่ 3 แรงบีบมือ เมื่อเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยกับเกณฑ์ พบว่า นิสิตชายชั้นปี 2 และ 4 มีค่าแรงบีบมือ อยู่ในระดับปานกลาง และนิสิตชั้นปี 1 และ 3 อยู่ในระดับต่ำ ส่วนนิสิตหญิงทุกชั้นปี มีค่าแรงบีบมือ อยู่ในระดับปานกลาง ยกเว้นชั้นปีที่ 4 อยู่ในระดับต่ำ ด้านที่ 4 ยืน-นั่ง บนเก้าอี้ 60 วินาที เมื่อเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยกับเกณฑ์ พบว่านิสิตชายชั้นปี 1 และ 3 มีค่ายืน-นั่ง บนเก้าอี้ 60 วินาที อยู่ในระดับดีมาก และนิสิตชั้นปี 2 และ 4 อยู่ในระดับดี ส่วนนิสิตหญิงทุกชั้นปี มีค่ายืน-นั่ง บนเก้าอี้ 60 วินาที อยู่ในระดับดีมาก ยกเว้นชั้นปีที่ 2 อยู่ในระดับปานกลาง ด้านที่ 5 ยืนยกเข่าขึ้นลง 3 นาที เมื่อเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยกับเกณฑ์ พบว่า นิสิตชายชั้นปี 1 มีค่ายืนยกเข่าขึ้นลง 3 นาที อยู่ในระดับดี นิสิตชั้นปี 2 และ 3 อยู่ในระดับพอใช้ และนิสิตชั้นปี 4 อยู่ในระดับต่ำ ส่วนนิสิตหญิงทุกชั้นปี มีค่ายืนยกเข่า ขึ้นลง 3 นาที อยู่ในระดับปานกลาง ยกเว้นชั้นปีที่ 1 อยู่ในระดับดี</p> <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; The purposes of this research were to study and compare physical fitness of physical education undergraduate students, faculty of education, Burapha University in academic years 2019. The sample groups were 60 male and 52 female physical education undergraduate students. The instrument used in this research were Fitness test Physical for people aged 19-59 years, Sports Science Bureau, Department of Physical Education, year 2019. There were five item: Body Mass Index, Sit and Reach, Hand Grip Strength, 60 Seconds Chair Stand and 3 Minutes Step Up and Down. analysed by mean and standard deviation, the findings showed as follows;<br />&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; The body mass index when comparing the average with the criteria, showed that male students of all years with the body mass index at good level except for years 4 at the level of overweight as for female students of all years with the body mass index at good level. Sit and Reach when comparing the average with the criteria, showed that male students of all years with the sit and reach at a fair level except for years 1 at a good level as for female students of all years with the sit and reach at a fair level except for years 3 is low level. Hand Grip Strength when comparing the average with the criterion, showed that male students years 2 and 4 with hand grip strength at a fair level and years 1 and 3 at a low level as for female students of all years with hand grip strength at a fair level except year 4 is low level. 60 Seconds Chair Stand when comparing the average with the criteria, showed that male students years 1 and 3 with 60 seconds chair stand at a very good level and years 2 and 4 at a good level as for female students of all years with 60 seconds chair stand at a very good level. except for year 2 at a fair level. 3 Minutes Step Up and Down when comparing the average with the criterion, showed that male students in years 1 with 3 Minutes Step Up and Down at a good level, years 2 and 3 at a fair level and years 4 at a low level as for female students of all years with 3 minutes step up and down at a fair level except for years 1 at a good level</p> Copyright (c) https://ojs.lib.buu.ac.th/index.php/social/article/view/6960 ปัญหาและอุปสรรคการบังคับใช้พระราชบัญญัติโบราณสถาน โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุและพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พ.ศ. 2504 2020-09-16T15:46:29+00:00 เลอชิตา สุรกิจบวร society@buu.ac.th เกรียงศักดิ์ พินทุสรศรี society@buu.ac.th บวรวิทย์ เปรื่องวงศ์ society@buu.ac.th <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; วิทยานิพนธ์นี้มุ่งศึกษาเกี่ยวกับปัญหาและอุปสรรคทางกฎหมายในการการบังคับใช้พระราชบัญญัติโบราณสถาน โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ และพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ปัญหาในการบังคับใช้พระราชบัญญัติโบราณสถาน โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ และพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พ.ศ. 2504 จากการศึกษาพบว่ามีปัญหาเกี่ยวกับบทนิยามคำว่าโบราณสถาน โบราณวัตถุ และศิลปวัตถุ ที่ไม่ชัดเจนและไม่เหมาะสมทำให้เกิดอุปสรรคในการบังคับใช้กฎหมาย ปัญหาเกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ของพนักงานเจ้าหน้าที่ในการบังคับใช้ที่ไม่ชัดเจนและไม่เหมาะสมปัญหาเกี่ยวกับบทบัญญัติกำหนดโทษ บทลงโทษไม่ชัดเจนและไม่เหมาะสมกับสภาพความเป็นจริงที่เกิดขึ้นในปัจจุบันปัญหาจากการที่ชุมชนไม่ได้มีส่วนร่วมในการดูแล บูรณะ และซ่อมแซมโบราณสถานในการใช้สิทธิฟ้องร้องต่อหน่วยงานหรือผู้รับผิดชอบ และปัญหาการควบคุมการค้าสิ่งเทียมโบราณวัตถุ และสิ่งเทียมศิลปวัตถุตามประกาศของกรมศิลปากร<br />&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; ผู้ศึกษาขอเสนอแนะว่าจะต้องมีการแก้ไขกฎหมายในส่วนที่เกี่ยวกับบทนิยามโดยกำหนดความหมายกำหนดบทนิยามให้ละเอียดยิ่งขึ้นให้ง่ายต่อการตีความเพื่อเป็นประโยชน์ในการบังคับใช้กฎหมาย อำนาจหน้าที่ของพนักงานเจ้าหน้าที่ในการบังคับใช้พระราชบัญญัติควรแบ่งขอบเขตอำนาจหน้าที่ของแต่ละหน่วยงานให้ชัดเจนและเหมาะสม ปัญหาเกี่ยวกับบทบัญญัติกำหนดโทษ บทลงโทษควรเพิ่มโทษทางปกครอง ปัญหาจากการที่ชุมชนไม่ได้มีส่วนร่วมในการดูแล บูรณะ และซ่อมแซมโบราณสถานควรให้สิทธิประชาชนในการฟ้องร้องต่อหน่วยงานหรือผู้รับผิดชอบเพื่อเป็นประโยชน์ในการดูแล รักษาโบราณสถาน ปัญหาการควบคุมการค้าสิ่งเทียมโบราณวัตถุ และสิ่งเทียมศิลปวัตถุเห็นควรให้กรมศิลปากรออกประกาศควบคุมการค้าสิ่งเทียมโบราณ วัตถุ และสิ่งเทียมศิลปวัตถุ โดยปรับปรุงและแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติโบราณสถาน โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ และพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พ.ศ. 2504 ทั้งนี้เพื่อประโยชน์แห่งการรักษาโบราณสถาน โบราณวัตถุ และศิลปวัตถุ และเพื่อคุ้มครองดูแล บูรณะ และซ่อมแซมโบราณสถานสืบไป</p> <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; This thesis aimed to study problems and obstacles on enforcement of the historic Sites, Antique Artifact and National Museum Act, having objectives to analyze problems of legal enforcement on the Archaeological Sites, Antique, Artifact and National Museum Act of 1961. From the study, it was found that there were problems relating with definition of &ldquo;archaeological sites, antique and artifact&rdquo; which were not clear and not appropriate; it caused obstacles concerning legal enforcement; problems concerning provisions of punishment; the penalty is not appropriate for the actual condition occurring at present time and problems from the fact that the community does not participate in taking care, restoring and repairing archaeological sites in using right to prosecute against working units, or responsible persons.</p> <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; The researcher recommended that there shall be modification of law in the part of definition, by defining meaning, defining the definition in more detail, to be easy for interpretation for benefit in legal enforcement. The authority and duty of employees in enforcing the Act; there should be clear and appropriate dividing of authority and duty scope of each working unit. Regarding problems regarding provisions of punishment, in the penalty, there shall be increasing of administrative penalty. Problems from the fact that the community does not participate in taking care, restoring and repairing archaeological sites, people should receive right in prosecution against the working units, or responsible<br />persons for benefit in taking care of archaeological sites, problems of trading control of artificial antique and artificial artifact. It is recommended for the Fine Arts Department to issue the notification for trading controlling of artificial antique and artificial artifact, by improving and amending the Archaeological Sites, Antique, Artifact and National Museum Act of 1961, for the benefit of taking care of archaeological sites, antique and artifact and protecting, taking care, restoring and repairing archaeological sites forever.</p> Copyright (c) https://ojs.lib.buu.ac.th/index.php/social/article/view/6961 การพัฒนาลักษณะมุ่งอนาคตของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ด้วยการปรึกษากลุ่มแบบบูรณาการทฤษฎีและเทคนิค 2020-09-16T15:46:29+00:00 สิวินีย์ ทองนุช society@buu.ac.th ระพินทร์ ฉายวิมล society@buu.ac.th สุรินทร์ สุทธิธาทิพย์ society@buu.ac.th <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; การวิจัยนี้เป็นการวิจัยและพัฒนาที่มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาองค์ประกอบลักษณะมุ่งอนาคต 2) สร้างโปรแกรมการปรึกษากลุ่มแบบบูรณาการทฤษฎีและเทคนิคสำหรับพัฒนาลักษณะมุ่งอนาคต และ 3) ศึกษาผลของโปรแกรมการปรึกษากลุ่มแบบบูรณาการทฤษฎีและเทคนิคต่อการพัฒนาลักษณะมุ่งอนาคต กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่มัธยมศึกษา กระทรวง ศึกษาธิการในภาคตะวันออกของประเทศไทย แบ่งเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มแรกมีจำนวน 960 คน ที่ได้มาจากการสุ่มแบบหลายขั้นตอน (Multistage random sampling) เพื่อใช้ในการศึกษาองค์ประกอบลักษณะมุ่งอนาคต กลุ่มที่ 2 เป็นนักเรียนโรงเรียนแสนสุข จังหวัดชลบุรี ที่มีคะแนนลักษณะมุ่งอนาคตต่ำกว่าเปอร์เซ็นต์ไทล์ที่ 25 จำนวน 24 คน สุ่มเป็น 2 กลุ่ม และทำการสุ่มเข้ากลุ่ม (Random assignment) แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง และกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 12 คน เพื่อใช้ในการศึกษาผลของโปรแกรมการปรึกษากลุ่มแบบบูรณาการทฤษฎีและเทคนิคในกลุ่มทดลอง และกลุ่มควบคุมใช้วิธีปกติของโรงเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ได้แก่ 1) แบบวัดลักษณะมุ่งอนาคต และ 2) โปรแกรมการปรึกษากลุ่มแบบบูรณาการทฤษฎีและเทคนิคสำหรับพัฒนาลักษณะมุ่งอนาคต แผนการทดลองเป็นแบบสุ่ม 2 กลุ่ม ทดสอบระยะก่อนการทดลอง ระยะหลังการทดลองและระยะติดตามผล (The randomized pretest-posttest control group design) และมีแผนการดำเนินการปรึกษากลุ่มในการทดลอง 18 ครั้ง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ (EFA) การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน (CFA) การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบสองทางวัดซ้ำ (two-way repeated measure ANOVA) และทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยรายคู่ด้วยวิธี Bonferroni<br />&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; ผลการวิจัยพบว่า<br />&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;1. องค์ประกอบลักษณะมุ่งอนาคตของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบได้แก่ การรับรู้ความสามารถตนเอง เจตคติต่อการเรียนรู้ แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ การควบคุมตนเอง และการคาดการณ์อนาคต ซึ่งโมเดลมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์และมีค่าน้ำหนักองค์ประกอบอยู่ในเกณฑ์ระดับสูง ซึ่งมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05<br />&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; 2. รูปแบบโปรแกรมการปรึกษากลุ่มแบบบูรณาการทฤษฎีและเทคนิค เพื่อพัฒนาลักษณะมุ่งอนาคตของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ประกอบด้วย 3 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นเริ่มต้นการให้การปรึกษา ขั้นดำเนินการให้การปรึกษาและขั้นยุติการให้การปรึกษา โดยเนื้อหาได้บูรณาการทฤษฎีการปรึกษากลุ่มพฤติกรรมการรู้คิด (CBT) และเทคนิคในทฤษฎีการปรึกษากลุ่มที่เกี่ยวข้องอีก 4 ทฤษฎี ได้แก่ เทคนิคในทฤษฎีเหตุผล อารมณ์และพฤติกรรม (REBT) เทคนิคในทฤษฎีเกสตัลท์ (GT) เทคนิคในทฤษฎีพฤติกรรมนิยม (BT) และเทคนิคในทฤษฎีเผชิญความจริง (RT) เพื่อพัฒนาลักษณะมุ่งอนาคตของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3<br />&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; 3. ผลของโปรแกรมการปรึกษากลุ่มแบบบูรณาการทฤษฎีและเทคนิคต่อลักษณะมุ่งอนาคตของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 พบว่า 1) นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่ได้รับการปรึกษากลุ่มแบบบูรณาการทฤษฎีและเทคนิคมีลักษณะมุ่งอนาคตในระยะหลังการทดลอง และระยะติดตามผล สูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 2) นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่ได้รับการปรึกษากลุ่มแบบบูรณาการทฤษฎีและเทคนิคมีลักษณะมุ่งอนาคตระยะหลังการทดลองและระยะติดตามผลสูงกว่าระยะก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05</p> <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; This study was a research and development that aimed to; 1) study the future orientation factor, 2) develop the assimilative integrative group counseling program for develop the future orientation technique, and 3) study the result of the assimilative integrative group counseling program and the development of future orientation technique. The samples were grade 9th students in the schools of the Secondary Educational Service Area Office, Ministry of Education in the eastern area of Thailand. These samples were divided into two groups. The first one was 960 grade 9th students those were selected by multistage random sampling to study the future orientation factor. The second group was 24 students at grade 9th of Saensook School, Chon Buri Provinces, those who earned the score lower than percentile 25th. The second group was randomly assigned into an experimental group and control group. Each group consisted of 12 students to study the result of the assimilative integrative group counseling program technique in an experimental group and normal method for the control group. The research instruments were 1) Future orientation measurement form, and 2) The assimilative integrative group counseling program and development of the future orientation technique. The experiment consisted of three stages, pretest, posttest and follow up. The counseling was used 18 times in an experiment group. Data were analyzed using exploratory factor analysis, confirmatory factor analysis, two-way repeated measures ANOVA and Bonferroni for post-hoc procedure.<br />&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;The results were that;<br />&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;1. Confirmatory factor analysis of future orientation of grade 9th students found that the factor of the future orientation model includes 5 factors: Self- efficacy perception, Attitude toward learning, Achievement motive, Self- control, and Future expectation. This consistent with empirical data. The weight of the composition was high and was significant at the .0 5 level. It was possible to measure the future orientation factors of grade 9th students.</p> Copyright (c) https://ojs.lib.buu.ac.th/index.php/social/article/view/6962 กระบวนการเรียนรู้เพื่อการพัฒนาตนเองของคนพิการทางการเคลื่อนไหว 2020-09-16T15:46:29+00:00 ศิณัญญา ศรีเกตุ society@buu.ac.th สมหมาย แจ่มกระจ่าง society@buu.ac.th ดุสิต ขาวเหลือง society@buu.ac.th <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการเรียนรู้เพื่อการพัฒนาตนเองของคนพิการทางการเคลื่อนไหวเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) เลือกผู้ให้ข้อมูลแบบเจาะจง (Purposive Sampling) จำนวน 13 คน เก็บรวบรวมข้อมูลระหว่างเดือน กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561 ถึงเดือน เมษายน พ.ศ. 2562 โดยการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth interview) และการสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม (Non-participation observation) วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา (Content Analysis)<br />&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; ผลการวิจัยพบว่า<br />&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; 1. กระบวนการเรียนรู้ของคนพิการทางการเคลื่อนไหว ประกอบด้วย 6 ขั้นตอน คือ 1) การวิเคราะห์และกำหนดความต้องการของตนเองเกิดจากความสนใจ วิเคราะห์ตนเอง และกำหนดเป้าหมายการเรียนรู้ 2) การวางแผนการเรียนรู้ ประกอบด้วย แผนการเรียนรู้ระยะสั้นเป็นตามความต้องการเรียนรู้ในช่วงเวลาหนึ่ง และแผนการเรียนรู้ระยะยาวที่กำหนดเป้าหมายชัดเจน 3) การแสวงหาแบบอย่างที่ดี เกิดจากความเชื่อมั่น ศรัทธา มี 3 ลักษณะ คือ แบบอย่างที่เป็นผู้ถ่ายทอดความรู้ แบบอย่างด้านพฤติกรรม และแบบอย่างที่สร้างแรงบันดาลใจ 4) การแสวงหาแหล่งเรียนรู้ ได้แก่ ศูนย์ฝึกอาชีพคนพิการ ผู้เชี่ยวชาญ และสารสนเทศออนไลน์ 5) การกำหนดวิธีการเรียนรู้ เพื่อให้ได้มาซึ่งความรู้ ได้แก่ การเรียนรู้จากแบบอย่าง การทดลองปฏิบัติด้วยตนเอง การสืบค้นข้อมูลจากหนังสือ สื่ออินเตอร์เน็ต และการแบ่งปันข้อมูลแบบรวมกลุ่ม 6) การประเมินผลการเรียนรู้จากความสำเร็จ ด้านการพึ่งพาตนเอง ด้านความมั่นคงทางเศรษฐกิจด้านการมีส่วนร่วมทางสังคม<br />&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; 2. แนวทางการพัฒนาตนเองของคนพิการทางการเคลื่อนไหว ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน คือ 1) การรักษาและฟื้นฟูร่างกายจาก แพทย์ หรือหมอพื้นบ้าน พระสงฆ์ วิธีทางไสยศาสตร์ และการดูแลจากครอบครัว ญาติ พี่น้อง นักสังคมสงเคราะห์ 2) การมีทัศนคติเชิงบวก จากการยอมรับของครอบครัว การมีแบบอย่างที่ดี และได้เข้าร่วมกิจกรรมทางสังคม 3) การศึกษาที่เหมาะสมกับตนเอง สามารถเลือกและผสมผสานการศึกษาและนำความรู้มาใช้กับการพัฒนาตนเอง 4) การมีอาชีพที่มั่นคง สร้างรายได้จากการพัฒนาอาชีพที่ได้รับการสืบทอดจากครอบครัวและอาชีพที่ริเริ่มจากการเรียนรู้และฝึกทักษะใหม่</p> <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; The objectives of this study were to investigate the learning process and self-development guidelines for persons with physical disability. The 13 key informants were selected by purposive sampling. Data were collected in February 2018 &ndash; April 2019 by in-depth interview and nonparticipation observation. Data analysis were conducted by contents analysis.<br />&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; The results of this research were as follows:<br />&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; 1. The learning process of persons with physical disability consists of 6 steps. 1) analysis and determination of self - needs due to personal interest and self-analysis 2) The learning plan consists of the short-term and long-term learning, 3) seeking for good model; as the transmitter of knowledge, the role model and inspiration model. 4) seeking for learning resources: training center, expert and information technology. 5) Selecting methods of learning to gain the knowledge, including; learning from the professional, self-test practice, information from books, social media and group data sharing, 6) Evaluation of learning from self-reliance success, the economic stability and social participation.<br />&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;2. Self-development of the physical disability persons consists of 4 steps: 1) Treatment and rehabilitation of the body functions and structure from a doctor or folk therapists, the monks, mysticism, family care, relative and social walker, 2) Providing positive attitude from family acceptance, having a good model and attending social activities 3) Individualized Education: select and mix methods of learning and apply knowledge to self-development. 4) Providing a stable career: creates income from the development of a career that has been inherited from the family and a profession initiated by learning and practicing new skills.</p> Copyright (c) https://ojs.lib.buu.ac.th/index.php/social/article/view/6963 การศึกษาองค์ประกอบของสมรรถนะการสื่อสารภาษาอังกฤษเพื่ออาชีพตามยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 2020-09-16T15:46:29+00:00 อุปกิต ทรวงทองหลาง society@buu.ac.th สมบัติ คชสิทธิ์ society@buu.ac.th พิทักษ์ นิลนพคุณ society@buu.ac.th เมษา นวลศรี society@buu.ac.th <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; บทความนี้ผู้เขียนมีจุดมุ่งหมายเพื่อนำเสนอองค์ประกอบของสมรรถนะการสื่อสารภาษาอังกฤษเพื่ออาชีพตามยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 สำหรับครูผู้สอนนำไปใช้ในการออกแบบการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนภาษาอังกฤษเพื่ออาชีพ ที่ผู้เขียนได้สังเคราะห์ขึ้นจากการศึกษาข้อมูลจากเอกสาร และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง โดยมีรายละเอียดเกี่ยวกับ สมรรถนะ สมรรถนะ การสื่อสารภาษาอังกฤษ สมรรถนะการสื่อสารภาษาอังกฤษในศตวรรษที่ 21 การสอนภาษาอังกฤษเพื่อวัตถุประสงค์เฉพาะ (เพื่ออาชีพ) และองค์ประกอบของสมรรถนะการสื่อสารภาษาอังกฤษเพื่ออาชีพ</p> <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; This article, for teacher using in the design of English language teaching activities for careers, the author intends to present English communication competency components for careers according to nation strategy 20 years of students grade 9. The author has synthesized studying data from documents and related research with details about; competency, English communication competency, English communication competency in the 21st century, teaching English for specific purposes (for careers) and Components of English communication competency for careers.</p> Copyright (c) https://ojs.lib.buu.ac.th/index.php/social/article/view/6964 การพัฒนาชุดการเรียนการสอนด้วยกระบวนการจัดการเรียนการสอนแบบย้อนกลับ เรื่อง การใช้โปรแกรม Microsoft PowerPoint สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 2020-09-16T15:46:29+00:00 บุญกนก ปิยะนิตย์ society@buu.ac.th มานพ แจ่มกระจ่าง society@buu.ac.th สิริยุพิน ศุภ์ธนัชภัคชนา society@buu.ac.th <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาชุดการเรียนการสอนด้วยกระบวนการจัดการเรียนการสอนแบบย้อนกลับให้มีประสิทธิภาพ 80/80 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) ชุดการเรียนการสอนด้วยกระบวนการจัดการเรียนการสอนแบบย้อนกลับ เรื่อง การใช้โปรแกรม Microsoft PowerPoint สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 3) แบบวัดความพึงความพอใจหลังเรียน 4) แผนการจัดการเรียนรู้ด้วยกระบวนการจัดการเรียนการสอนแบบย้อนกลับ กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้ เป็นนักเรียนระดับ ชั้นประถมศึกษาปี 6 ปีการศึกษา 2561 ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster random sampling) จำนวน 1 ห้องเรียน จาก 3 ห้องเรียนมีนักเรียนเป็นกลุ่มตัวอย่าง 38 คนสถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที (t-test)<br />&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; ผลการวิจัยพบว่า<br />&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; 1. การพัฒนาชุดการเรียนการสอนด้วยกระบวนการจัดการเรียนการสอนแบบย้อนกลับเรื่อง การใช้โปรแกรม Microsoft PowerPoint สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีประสิทธิภาพ 84.73/81.31<br />&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; 2. การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์คะแนนก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีคะแนนหลังเรียนสูงกว่าคะแนนก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05<br />&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; 3. การศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนหลังเรียนด้วยชุดการเรียนการสอนด้วยกระบวนการจัดการเรียนการสอนแบบย้อนกลับ เรื่อง การใช้โปรแกรม Microsoft PowerPoint สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 อยู่ในระดับมากที่สุด (ค่าเฉลี่ย = 4.66, SD = 0.52)</p> <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; The purposes of this study were 1) to develop a backward design instructional package on Microsoft PowerPoint that meets the 80/80 efficiency standard criterion, 2) to compare learning achievements of students before and after using the package, and 3) to study a learning satisfaction level of students using the package. Data collection instruments in this study include 1) the backward design instructional package on Microsoft PowerPoint for Pathomsuksa 6 students, 2) students&rsquo; learning achievement tests, 3) a questionnaire investigating the level of student learning satisfaction, 4) a backward design learning management plan. The sample in this study was 38 students studying in one classroom. Cluster random sampling technique was used to identify one whole class of students from three classrooms. Statistics used in this study were average, Percentage, Standard Deviation (SD), and t-test dependent.<br />&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; This study reports the following findings: 1. The efficiency index of the backward design instructional package on Microsoft PowerPoint for Pathomsuksa 6 was 84.73/81.31 as indicated by 80/80. 2. Students&rsquo; post-learning achievement was significantly higher than their pre-learning achievement (p &lt; .05). 3. Pathomsuksa 6 Students were highly satisfied with the backward design instructional package on Microsoft PowerPoint with the average score of 4.66 and Standard Deviation of 0.52.</p> Copyright (c) https://ojs.lib.buu.ac.th/index.php/social/article/view/6965 การวิเคราะห์ศักยภาพทางการแข่งขันน้ำตาลทรายของไทยในตลาดอาเซียน 2020-09-16T15:46:29+00:00 ภัคจิรา ทวีกาญจน์ society@buu.ac.th <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;ประเทศไทยมีความได้เปรียบโดยเปรียบเทียบ (RCA) ของการส่งออกน้ำตาลทรายไปยังตลาดอาเซียน เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยดัชนีความได้เปรียบโดยเปรียบเทียบเท่ากับ 35.37 ในปี พ.ศ.2559 เพิ่มขึ้นเป็น 77.29 ในปี พ.ศ. 2561 และมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 77.29 ขณะที่ประเทศบราซิลมีความได้เปรียบโดยเปรียบเทียบ(RCA) ลดลงอย่างต่อเนื่องโดยดัชนีความได้เปรียบโดยเปรียบเทียบเท่ากับ 2.44 ในปี พ.ศ.2559 ลดลงเหลือ 1.66 ในปี พ.ศ.2561 โดยมีค่าเฉลี่ยตลอดสามปีเท่ากับ 2.01 ขณะที่ส่วนแบ่งตลาด(MS) พบว่า ประเทศไทยมีส่วนแบ่งตลาดน้ำตาลทรายในอาเซียนเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องเช่นกันและอยู่ในระดับสูงมากทั้ง 3 ปี โดยเท่ากับ45.39 ในปี พ.ศ.2559 เพิ่มขึ้นเป็น 62.50 ในปี พ.ศ.2561 เฉลี่ยสามปีเท่ากับ 55.85 ส่วนประเทศบราซิลมีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่อง โดยเท่ากับ 11.50 ในปี พ.ศ. 2559 เป็น 10.20 ในปี พ.ศ.2561 เฉลี่ยสามปีเท่ากับ 10.20<br />&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;นอกจากนี้พบว่าความสามารถในการแข่งขันทางการค้า (TC) มีแนวโน้มเช่นเดียวกับการวิเคราะห์ดัชนีความได้เปรียบโดยเปรียบเทียบ (RCA) และส่วนแบ่งตลาด (MS) โดยประเทศไทยมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง กล่าวคือในปี พ.ศ.2559 ประเทศไทยมีความสามารถในการแข่งขันทางการค้า (TC) เท่ากับ 0.70 และเพิ่มขึ้นเป็น 0.85 ในปี พ.ศ. 2561 เฉลี่ยสามปีเท่ากับ 0.78 ส่วนประเทศบราซิลมีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่องคือเท่ากับ 0.55 ในปี พ.ศ.2559 เหลือ 0.29 ในปี พ.ศ.2561 เฉลี่ยสามปีเท่ากับ 0.39</p> <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; Thailand has continuously increased Revealed Comparative Advantage (RCA) index for sugar exports to the ASEAN market. Comparative advantage index is 35.37 in 2016, increasing to 77.29 in 2018 and having an average of 77.29. Brazil has consistently reduced Revealed Comparative Advantage (RCA) index, the comparative advantage index was 2.44 in 2016 and reduced to 1.66 in 2018, an average of three years equal to 2.01. While in terms of Market Share (MS), it is found that Thailand has continuously increased its sugar market share in ASEAN and is at a very high level for the whole 3 years, which is equal to 45.39 in 2016 and increased to 62.50 in the 2018, an average of three years equal to 55.85. Brazil is likely to continue to decline, which is equal to 11.50 in 2016 and is reduced to 10.20 in 2018, an average of three years equal to 10.20.<br />&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;In addition, it was found that Trade Competitiveness (TC) has the same trend as Revealed Comparative Advantage (RCA) index and Market Share (MS). Thailand has a tendency to increase continuously, namely in 2016, Thailand has Trade Competitiveness (TC) equal to 0.70 and increased to 0.85 in 2018, an average of three years equal to 0.78. Brazil is likely to continue to decline, which is equal to 0.55 in 2016 and down to 0.29 in 2018, an average of three years equal to 0.39.</p> Copyright (c) https://ojs.lib.buu.ac.th/index.php/social/article/view/6966 อนาคตภาพสมรรถนะพื้นฐานของนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาไทย 2020-09-16T15:46:29+00:00 เจษฎาภรณ์ วิริยะสกุลธรณ์ society@buu.ac.th จันทร์ชลี มาพุทธ society@buu.ac.th สุวิชัย โกศัยยะวัฒน์ society@buu.ac.th <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ระดับสมรรถนะพื้นฐานของนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา และ 2) อนาคตภาพสมรรถนะพื้นฐานของนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาไทย เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการศึกษาอนาคต ใช้เทคนิคการวิจัยแบบเดลฟาย (Delphi Future Research) กลุ่มตัวอย่างจำนวน 396 คน เลือกโดยใช้วิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน (Multi-stage Sampling) ผู้ให้ข้อมูล จำนวน 20 คน และผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 17 คน เครื่องมือที่ใช้ได้แก่ แบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ร้อยละ, ค่าเฉลี่ย, SD, ค่ามัธยฐาน, ค่าพิสัยระหว่างควอไทล์ และการวิเคราะห์เนื้อหา<br />&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; ผลการวิจัย พบว่า<br />&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; 1. ระดับสมรรถนะพื้นฐานของนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาไทย โดยรวมอยู่ในระดับมากเมื่อพิจารณารายด้านเรียงลำดับจากมากไปน้อย ได้แก่ ด้านเจตคติ, ด้านความรู้ และด้านทักษะ ตามลำดับ<br />&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; 2. อนาคตภาพสมรรถนะพื้นฐานของนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาไทยมีแนวโน้มดังนี้<br />&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; ด้านความรู้: นักศึกษาต้องมีการศึกษาหาความรู้เพื่อพัฒนาตัวเองตลอดเวลาตลอดชีวิต, สามารถสังเคราะห์ความรู้ที่ได้มา และนำไปใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ, ต้องติดตามสถานการณ์ความเคลื่อนไหวของศาสตร์ที่ตนเองศึกษา, สามารถคิดนอกกรอบได้อย่างมีเหตุผล, สามารถเข้าใจองค์ความรู้อย่างลึกซึ้ง, สามารถประยุกต์องค์ความรู้ไปใช้ในการทำงาน กับเพื่อนร่วมงานได้, ต้องมีความรู้ที่เท่าทันและพร้อมรับการเปลี่ยนแปลงในโลกอนาคต, ต้องมีความรู้ความเข้าใจอย่างลึกซึ้งในศาสตร์ของตนเอง และสามารถแสวงหาองค์ความรู้ที่เป็นข้อเท็จจริงได้ด้วยตนเอง<br />&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; ด้านทักษะ: นักศึกษาต้องมีทักษะในการเลือกข้อมูลมา วิเคราะห์ สังเคราะห์ และการประยุกต์ใช้ข้อมูลอย่างมีสติและมีเหตุผล, ต้องมีทักษะการควบคุมอารมณ์ในการอยู่ร่วมกับผู้อื่นและสังคม, ต้องมีทักษะการประกอบการอย่างมืออาชีพ, ต้องมีทักษะการเป็นผู้นำ และผู้ตามที่ดี, ต้องมีทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21, ต้องมีทักษะการจัดการตนเองอย่างเป็นระบบ, ต้องมีทักษะการนำเสนอข้อมูลที่ชัดเจนอย่างมืออาชีพ, ต้องมีทักษะการแก้ไขปัญหา อย่างมีเหตุผล, ต้องมีทักษะการประยุกต์ใช้ข้อมูล เพื่อสามารถสร้างการแข่งขันได้ และต้องมีทักษะการใช้เทคโนโลยี และรู้เท่าทันข้อมูลท่ามกลางการเปลี่ยนแปลง<br />&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; ด้านเจตคติ: นักศึกษาต้องมีการให้เกียรติซึ่งกันและกัน ยอมรับตนเอง และผู้อื่น ต้องมีความกล้าที่จะเป็นตัวของตัวเองไม่ใช่ทำตามคนอื่น ต้องมีความซื่อสัตย์สุจริต,ต้องมีความซื่อตรงและเที่ยงธรรม, ต้องมีความตระหนักคิด มีสติ ต้องมีน้ำใจ เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ โอบอ้อมอารี ต้องมีความอ่อนน้อม ถ่อมตน ต้องมีทัศนคติเชิงบวก ต้องมีมนุษยสัมพันธ์กับผู้อื่น ต้องมีการเคารพในความเป็นผู้ใหญ่ ต้องมีความเคารพสถานที่ที่เข้าไปอยู่ ต้องมีความเชื่อมั่นในตนเอง ในองค์กร ต้องรู้จักการยอมรับความผิดพลาดจากการกระทำของตนเอง ต้องมีความเข้าใจความหลากหลายทางวัฒนธรรม ต้องมีความมุ่งมั่น ขยัน พากเพียร อดทน มีวินัย มีแรงบันดาลใจในการฝ่าอุปสรรค และต้องมีความเสียสละ</p> <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; The propose of this research were to study. 1) Graduate Thai students Competencies-Based and 2) Scenario Competencies-Based of Graduate Thai students. The samples were 396 graduates for a competency survey and Delphi technique using 20 informants and 17 experts. The instruments were questionnaire and structure interview. The statistic were percent, mean, standard deviation, median, inter quartile range and content analysis.<br />&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; The research were as follow:<br />&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; 1. The Thai graduate student Competencies was at high level, ranging from Attitudes, Knowledge and Skills, respective.<br />&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; 2. Scenario Competencies based of Thai Graduate were;<br />&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; Knowledge: Students must study for knowledge to develop themselves throughout their lives, can synthesize the knowledge gained and use it effectively, must follow the situation of the movement of the discipline that they study. Student can apply knowledge to work with colleagues. Student must have the knowledge that is ready and being ready to face changes in the future, a deep understanding of their own discipline and be able to find facts that are factual on your own.<br />&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; Skills: Students must have skills in data selection, analysis, synthesis, and application of information in a conscious and reasonable manner, must have professional entrepreneurial skills, leadership skills and being good followers. Students must have the 21st century skills, systematic self-management skills, professional presentation skills, reasonable problem solving skills. Students must have applying information skills, to be able to create competition and must have technology skills and archive update information.<br />&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; Attitudes: Students must respect teach other, accept themselves and others, must have the courage to be themselves, not follow others. Students must be honest and upright. Students must have conscious awareness. Students must be considerate, generous. Students must be humble. Students must have a positive attitude, good human relations with others, respect for being adults and respect for the place they entered. Students must have confidence in themselves in the organization. Students must know to accept mistakes from their actions. Students need to understand cultural diversity. Students must be committed, diligent, patient, disciplined, motivated to break through obstacles and must have sacrifices.</p> Copyright (c) https://ojs.lib.buu.ac.th/index.php/social/article/view/6967 การพัฒนาหลักสูตรการอบรมภาษาไทยระยะสั้นสำหรับนักศึกษาชาวจีนของคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา 2020-09-16T15:46:29+00:00 เชษฐ์ ศิริสวัสดิ์ society@buu.ac.th ประชา อินัง society@buu.ac.th โสภี ชาญเชิงยุทธชัย society@buu.ac.th ศศิชญา แก่นสาร society@buu.ac.th ธนะวัฒน์ วรรณประภา society@buu.ac.th <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาหลักสูตรการอบรมภาษาไทยระยะสั้นสำหรับนักศึกษาชาวจีน 2) เพื่อทดลองใช้และประเมินหลักสูตรการอบรมภาษาไทยระยะสั้นสำหรับนักศึกษาชาวจีน ประชากรสำหรับการศึกษาครั้งนี้เป็นนักศึกษาชาวจีนของคณะอาชีวศึกษาและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยชนชาติยูนนาน ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน จำนวน 50 คน<br />&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; ผลการศึกษา<br />&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; 1. ได้หลักสูตรอบรมภาษาไทยระยะสั้นสาหรับนักศึกษาชาวจีน ของคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา มีองค์ประกอบคือ หลักการและเหตุผล วัตถุประสงค์ของหลักสูตร เนื้อหาสาระของหลักสูตร วิธีดำเนิน การอบรม และการประเมินผล มีความสอดคล้องกับบริบทของนักศึกษาชาวจีนที่มีพื้นฐานการใช้ภาษาไทยเบื้องต้นโดยหลักสูตรที่พัฒนาขึ้นนั้นมีความเหมาะสมตามความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญอยู่ในระดับมากที่สุด (ค่าเฉลี่ย = 4.51, SD = 0.34)<br />&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; 2. หลังจากนำสูตรอบรมภาษาไทยระยะสั้นสำหรับนักศึกษาชาวจีนของคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา ไปทดลองใช้ พบว่า นักศึกษาชาวจีนมีเวลาในการอบรมตามหลักสูตรเฉลี่ยร้อยละ 90 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาไทยและความสามารถการใช้ภาษาไทย สูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 60 และมีความคิดเห็นต่อการจัดการเรียนการสอนในหลักสูตรสูงกว่าเกณฑ์ 3.50 อยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย = 4.30, SD = 0.16) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ซึ่งผ่านเกณฑ์ในการประเมินหลักสูตรทุกประการ</p> <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; This research aimed to 1) to develop short-term Thai language training for Chinese students, 2) to implement and evaluate short-term Thai language courses for Chinese students. The population were selected from 50 students the School of Vocational and Technical Education, Yunnan Minzu University (YMU), P.R. China.<br />&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; Results of the study are as follows:<br />&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; 1. The shot course training in Thai language for Chinese students&rsquo; element was rationale, course objectives, course content, procedures and evaluation that consistent with the context of Chinese students with basic Thai. This course appropriateness of expert opinion was highest level (average = 4.51, SD = 0.34)<br />&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; 2. After to use the shot course training in Thai language for Chinese students in the faculty of education, Burapha University found that the Chinese students had the time to train in 90 percent. Chinese students had opinions on teaching and learning pass over criteria 3.50 at the .01 level of significance (average = 4.30, SD = 0.16)</p> Copyright (c) https://ojs.lib.buu.ac.th/index.php/social/article/view/6968 ปัญหาทางกฎหมายในการปล่อยตัวชั่วคราวโดยไม่ต้องมีประกันหรือหลักประกันในชั้นสอบสวน 2020-09-16T15:46:29+00:00 ทิพย์รัตน์ กุหลาบแก้ว society@buu.ac.th ศิวพร เสาวคนธ์ society@buu.ac.th คมสัน สุขมาก society@buu.ac.th <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวคิด ทฤษฎี และกฎหมายที่เกี่ยวกับการปล่อยชั่วคราวโดยไม่มีประกันหรือหลักประกันในชั้นสอบสวน โดยศึกษากฎหมายไทยเปรียบเทียบกับกฎหมายต่างประเทศ รวมถึงวิเคราะห์ปัญหาที่เกิดจากการไม่ได้รับโอกาสในการปล่อยตัวชั่วคราวของผู้ต้องหา เมื่อเทียบกับฐานะทางเศรษฐกิจของแต่ละบุคคล เพื่อหาแนวทางในการแก้ไขปัญหาให้ผู้ต้องหาได้รับโอกาสในการปล่อยชั่วคราวอย่างเท่าเทียมกันโดยไม่นำหลักประกันมาเป็นข้อพิจารณาประกอบ<br />&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; ผลการศึกษาพบว่า ในปัจจุบันการปล่อยชั่วคราวในชั้นสอบสวนของประเทศไทย มักประสบปัญหาว่า ผู้ต้องหาที่มีความประสงค์ขอปล่อยชั่วคราวจะต้องมีประกันหรือหลักประกัน ทำให้คนด้อยโอกาสที่มีประวัติดีแต่มีฐานะยากจน ไม่มีหลักประกันอย่างเพียงพอต้องถูกคุมขังระหว่างสอบสวน ขาดโอกาสการได้รับอนุญาตให้ปล่อยชั่วคราว ซึ่งถือเป็นการขัดต่อหลักสิทธิเสรีภาพ เมื่อพิจารณาระหว่างคนที่มีฐานะทางเศรษฐกิจดีกับคนที่มีฐานะทางเศรษฐกิจไม่ดีและแม้กระทรวงยุติธรรมจะได้จัดตั้งกองทุนยุติธรรมขึ้นเพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าวข้างต้น แต่การขอความช่วยเหลือจากกองทุนยุติธรรมจะต้องผ่านการการพิจารณาของคณะกรรมการกองทุนยุติธรรม ทำให้เกิดความล่าช้า ส่งผลให้ผู้ต้องหาไม่ได้รับความเป็นธรรมเท่าที่ควร อีกทั้งการมีกองทุนยุติธรรมก็มิได้แก้ปัญหาที่ต้นเหตุ เนื่องจากการขอปล่อยชั่วคราวยังคงต้องใช้หลักประกัน โดยเงื่อนไขดังกล่าวถูกบัญญัติ ไว้ในประมวลวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 108/1 (4) ว่า &ldquo;...หลักประกันไม่น่าเชื่อถือ&rdquo; และขั้นตอนการขอปล่อยชั่วคราวโดยไม่ใช้หลักประกันในชั้นสอบสวน ตามประมวลวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 111 ยังไม่มีความชัดเจนถึงหลักเกณฑ์และวิธีการในการขอปล่อยตัวชั่วคราวโดยไม่ใช้หลักประกัน เพื่อใช้ประกอบดุลพินิจสั่งคำร้องขอปล่อยชั่วคราว นอกจากนี้รัฐยังไม่มีมาตรการหรือบทกำหนดโทษในกรณีที่เมื่อผู้ต้องหาได้รับการปล่อยชั่วคราวโดยไม่มีหลักประกันและต่อมาผู้ต้องหาหลบหนีไป<br />&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; ข้อเสนอแนะการวิจัยเห็นควรให้มีการแก้ไขประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ในประเด็นเงื่อนไขในการพิจารณาการสั่งคำร้องขอปล่อยตัวชั่วคราวในชั้นสอบสวนและให้มีการกำหนดขั้นตอน หลักเกณฑ์ และวิธีการการขอปล่อยชั่วคราวโดยไม่ใช้หลักประกันในชั้นสอบสวนให้มีความชัดเจน รวมทั้งให้มีการกำหนดบทลงโทษกรณีที่ผู้ต้องหาในคดีอาญาได้รับการปล่อยชั่วคราวโดยไม่มีประกันหรือหลักประกันในชั้นสอบสวนแล้วหลบหนีไป</p> <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; The objectives of this Research are to study concepts, theories and law relating to temporary release without bail or collateral during the inquiry stage, by studying Thai law in comparison to foreign law, as well as analyzing problems with being denied of opportunities of temporary release of the alleged offenders in comparison to economic status of each individual, for finding approaches to solving the problems, in order that the alleged offenders shall equally enjoy opportunities of temporary release without taking collateral into consideration.<br />&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; The results of the Research find that, presently, temporary release during the inquiry stage in Thailand usually experiences problems where the alleged offenders, who wishes to enjoy temporary release, must present bail or collateral, resulting in underprivileged people, who have good criminal records but are financially poor and do not have sufficient collateral, being subjected to be in custody during the inquiry stage and denied of opportunities of temporary release, cases which breach the principle of rights and liberties, where economic status of financially rich people and financially poor people is taken into consideration. And even though Ministry of Justice has already established the Justice Fund in order to solve the aforementioned problems, application for assistance from the Justice Fund needs to undergo contemplation of the Justice Fund Committee, resulting in delay, preventing the alleged offenders from being treated fairly as they should be. Moreover, the Justice Fund has not solved roots of the problems, because application for temporary release is still required collateral, whereby the said condition is prescribed in the Criminal Procedure Code, Section 108/1 (4), that &ldquo;... the collateral is unreliable&rdquo;, and the processes of application for temporary release without collateral during the inquiry stage under the Criminal Procedure Code, Section 111, still lack clarity, in terms of rules and methods of application for temporary release without collateral, as to be taken into consideration for exercising discretion in issuing orders on application for temporary release. Apart from this, the State does not have measures or prescribe punishment in a case where the alleged criminal offender has been granted with temporary release without bail or collateral during the inquiry stage, and subsequently escapes the judicial system.<br />&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; The recommendations of the Research are to amend the Criminal Procedure Code in the point of conditions to be taken into consideration for issuing temporary release during the inquiry stage, and provide with clear processes, rules and methods of application for temporary release without collateral during the inquiry stage, as well as prescribe punishment in a case where the alleged criminal offender has been granted with temporary release without bail or collateral during the inquiry stage, and then escapes the judicial system.</p> Copyright (c) https://ojs.lib.buu.ac.th/index.php/social/article/view/6969 การพัฒนาองค์ประกอบการประกันคุณภาพภายในสมาคมกีฬาซอฟท์บอลแห่งประเทศไทย 2020-09-16T15:46:29+00:00 ประวีณ สุทธิสง่า society@buu.ac.th พงศ์เทพ จิระโร society@buu.ac.th สมศักดิ์ ลิลา society@buu.ac.th <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; การศึกษาวิจัยครั้งนี้ มีจุดมุ่งหมายเพื่อการพัฒนาองค์ประกอบ และตัวชี้วัดคุณภาพการประกันคุณภาพภายในสมาคมกีฬาซอฟท์บอลแห่งประเทศไทย เพื่อศึกษาความเหมาะสม และความสอดคล้องกันขององค์ประกอบและตัวชี้วัดคุณภาพ ด้วยการประเมินความคิดเห็นสอดคล้อง โดยประยุกต์ใช้เทคนิคเดลฟายด้วยผู้เชี่ยวชาญ 17 คนในการประเมินวิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่ามัธยฐาน ส่วนเบี่ยงเบนควอไทล์ และประเมินความเหมาะสม โดยใช้แบบสอบถามกับกลุ่มตัวอย่าง 202 คน โดยใช้การสุ่มแบบตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multistage Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .989 นำเสนอผลการประเมินโดยหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน<br />&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; ผลการวิจัยพบว่า 1) องค์ประกอบของการประกันคุณภาพภายในสมาคมกีฬาซอฟท์บอลแห่งประเทศไทย มีดังนี้ องค์ประกอบที่ 1 ระบบการบริหารจัดการ องค์ประกอบที่ 2 ระบบการพัฒนานักกีฬา องค์ประกอบที่ 3 ระบบการพัฒนาบุคลากรกีฬา องค์ประกอบที่ 4 ระบบการจัดการแข่งขัน และองค์ประกอบที่ 5 ระบบการบริหารจัดการตามหลักธรรมาภิบาล และแต่ละองค์ประกอบมีความเห็นสอดคล้องเหมาะสม 2) ตัวชี้วัดคุณภาพของการประกันคุณภาพภายในสมาคมกีฬาซอฟท์บอลแห่งประเทศไทย มีดังนี้ องค์ประกอบที่ 1 ระบบการบริหารจัดการ มี 13 ตัวชี้วัด องค์ประกอบที่ 2 ระบบการพัฒนานักกีฬา มี 8 ตัวชี้วัด องค์ประกอบที่ 3 ระบบการพัฒนาบุคลากรกีฬาซอฟท์บอล มี 6 ตัวชี้วัด องค์ประกอบที่ 4 ระบบการจัดการแข่งขัน มี 3 ตัวชี้วัด และองค์ประกอบที่ 5 ระบบการบริหารจัดการตามหลัก ธรรมาภิบาล มี 4 ตัวชี้วัด 3) การประเมิน ความเหมาะสมขององค์ประกอบ และตัวชี้วัดคุณภาพของการประกันคุณภาพภายในสมาคมกีฬาซอฟท์บอลแห่งประเทศไทยที่พัฒนาขึ้น พบว่า ผลการประเมินความเหมาะสมโดยภาพรวมมีความเหมาะสมทั้งองค์ประกอบ และตัวชี้วัดคุณภาพ และมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก</p> <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; The purpose of this research was to develop factors, quality of indicators and the internal quality assurance for the Softball Association of Thailand. To researcher study a suitable and consistent of the factors and quality of indicators. Researcher asked seventeen experts to evaluate and analyze Delphi Technique (apply). That I use to find data. The experts analyze this technique by finding median, quartile, and evaluate the appropriateness. Using 202 questionnaires, they use multistage random sampling instrument. The data were collected using the researcher&rsquo;s constructed questionnaire (r = .989). The data were then analyzed by mean, standard deviation, and confirm factor analysis.<br />&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; The results were the following: 1. The factor of the internal quality assurance for the Softball Association of Thailand were, as follow the first factor is management system, the second factor is development of athletes system, the third factor is development of sports personnel system, the fourth factor is development of competition management system, and the fifth factor is good governance management system, all factors were Significant. 2. The quality indicators of the internal quality assurance for the Softball Association of Thailand were, as follow the first factor has 13 indicators, the second factor has 8 indicators, the third factor has 6 indicators, the fourth factor has 3 indicators, and the fifth factor has 4 indicators. 3. Evaluating consistency factor and quality indicators of the internal quality assurance for the Softball Association of Thailand were appropriate factors, quality of indication, and high average.</p> Copyright (c) https://ojs.lib.buu.ac.th/index.php/social/article/view/6970 ยุทธศาสตร์การจัดการทุน “โครงการทุนการศึกษาเฉลิมราชกุมารี” ระดับอุดมศึกษาของ กระทรวงศึกษาธิการ 2020-09-16T15:46:30+00:00 society@buu.ac.th สมหมาย แจ่มกระจ่าง society@buu.ac.th พักตร์วิภา โพธิ์ศรี society@buu.ac.th <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาวิเคราะห์สภาพการจัดการทุน &ldquo;โครงการทุนการศึกษาเฉลิมราชกุมารี&rdquo; ระดับอุดมศึกษา ของกระทรวงศึกษาธิการ 2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการจัดการทุน &ldquo;โครงการทุนการศึกษาเฉลิมราชกุมารี&rdquo; ระดับอุดมศึกษา ของกระทรวงศึกษาธิการ และ 3) เพื่อนำเสนอยุทธศาสตร์การจัดการทุน &ldquo;โครงการทุนการศึกษาเฉลิมราชกุมารี&rdquo; ระดับอุดมศึกษา ของกระทรวงศึกษาธิการ โดยใช้รูปแบบการวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed Methods Research) โดยใช้แบบสอบถามความคิดเห็นจากผู้รับทุน จำนวน 255 คน การสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth interview) กับผู้เกี่ยวข้อง จำนวน 24 คน และการสนทนากลุ่ม (Focus group discussion) กับหน่วยงานที่เป็นผู้ดูแลทุน จำนวน 5 คน สรุปผลการวิจัย ดังนี้ <br />&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;1. สภาพการจัดการทุน พบว่า โดยภาพรวมทุกด้านอยู่ในระดับน้อย เมื่อพิจารณารายด้าน สภาพการจัดการทุนด้านการศึกษาอยู่ในระดับปานกลาง สถานภาพการจัดการทุนด้านสุขภาพของผู้รับทุนภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง สถานภาพการจัดการทุนด้านครอบครัวของผู้รับทุนการศึกษาภาพรวมอยู่ในระดับน้อย และด้านการใช้จ่ายและการจัดการทุนอยู่ในระดับน้อย<br />&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;2. ปัจจัยที่ส่งผลต่อการจัดการทุน พบว่า มี 2 ปัจจัย คือ 1) ปัจจัยทางด้านบวก และ2) ปัจจัยทางด้านลบ โดยปัจจัยทางด้านบวก ภาครัฐให้ความสำคัญต่อโครงการ สนับสนุนทุนการศึกษา และงบประมาณในการบริหารจัดการโครงการฯ ให้กับผู้รับทุนจนเรียนจบครบตามหลักสูตรในระดับอุดมศึกษา (ปริญญาตรี) และส่งเสริมให้ผู้รับทุนการศึกษากลับไปปฏิบัติงานในพื้นที่ภูมิลำเนาของตนเองหลังสำเร็จการศึกษา ปลูกฝังและพัฒนาผู้เรียนในสถานศึกษาที่อยู่ในพื้นที่ห่างไกลให้เห็นคุณค่าทางการศึกษา มีความสำนึกในความเป็นคนไทย รักถิ่นฐาน รักประเทศและรักการปกครองตามระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข ซึ่งโครงการดำเนินงานในรูปของคณะกรรมการ และมีคู่มือแนวทางการดำเนินงานโครงการให้กับผู้เกี่ยวข้องนำไปประยุกต์ใช้ ส่วนปัจจัยทางด้านลบพบว่า ผู้รับทุนไม่ได้รับข้อมูลโครงการที่เพียงพอ ขาดการติดต่อกันระหว่างผู้เกี่ยวข้องในการจัดการทุนกับผู้รับทุนมีการประชาสัมพันธ์โครงการฯน้อยมาก การส่งเงินทุนให้กับผู้รับทุนมีความล่าช้า ไม่มีการส่งมอบภารกิจโครงการ กรณีครูและเจ้าหน้าที่ผู้ดูแลทุนโยกย้าย/หรือเปลี่ยนแปลง ไม่มีการส่งต่อข้อมูลผู้รับทุน</p> <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;The objectives of the research were (1) to analyze the management of "Chalermrajakumari Scholarship Project" on Higher Education, Ministry of Education. (2) to study factors affecting to "Chalermrajakumari Scholarship Project" management on Higher Education, Ministry of Education, and (3) to propose a "Chalermrajakumari Scholarship Project" scholarship management strategy on Higher Education, Ministry of Education. The research was a mixed methods research which divided into 3 parts. The method of document synthesis from past follow-up reports and survey research appeared in first part approach collected data by questionnaire which was responded by a sample group of scholarship recipients (255 persons), The second part approach was an in-depth interview from scholarship related persons (24 persons) and the third part approach was presenting the scholarship management strategy discussed by the department that manage the scholarship (5 persons) as a focus group.<br />&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; The findings were as follows:<br />&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; 1. Scholarship management conditions showed that in all aspects, at a low level. When considering each aspect, the condition of educational scholarship management were at a moderate level, the status of healthcare for scholarship recipient were moderate level, the status of family fund management of scholarship recipients were at a low level and the spending and scholarship management were at a low level.<br />&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; 2. There were 2 major factors effect scholarship, positive factors and negative factors. For the positive factors, the government gave the priority to budgeting and scholarship support for the scholarship recipients until the course in higher education (bachelor degree) are completed and encourage the scholarship recipients to return to work in their hometown after graduation, which aimed to cultivate and develop learners in educational institutions in remote areas to realize the value of education, with a sense of Thai citizens, who love their country, respect to democratic form of government with the King as Head of State. The project operated in the form of a committee, and there is a guideline for project implementation to those who concerned of applying. However, for the negative factors, the research found that the recipients did not received sufficient project information, disconnection between grantor and grantees, lacking of scholarship announcement, delay of scholarship, and no cooperation between staffs and grantees.<br />&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; 3. Presenting 5 strategies of scholarship management. Firstly, increasing scholarship management efficiency. Secondly, increasing efficiency in applying information technology. Thirdly, enhancing performance for relevant personnel. Fourthly, strengthening and developing educational potential, guidance and professional skills, and Finally, enhancing the understanding and awareness of project objectives.</p> Copyright (c) https://ojs.lib.buu.ac.th/index.php/social/article/view/6971 ผลของการจัดการเรียนการสอนเชิงรุกต่อความสามารถในการแก้ปัญหาและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาสุขศึกษาและพลศึกษาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 2020-09-16T15:46:30+00:00 ไวทยา ชมพูแสน society@buu.ac.th เกษมสันต์ พานิชเจริญ society@buu.ac.th จันทร์พร พรหมมาศ society@buu.ac.th <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; การวิจัยกึ่งทดลองครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบผลของการจัดการเรียนการสอนเชิงรุกต่อความสามารถในการแก้ปัญหาและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาสุขศึกษาและพลศึกษาของนักเรียน ชั้นมัธยม ศึกษาปีที่ 1 กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนสารสาสน์วิเทศบูรพา จังหวัดชลบุรี ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2561 ที่ได้มาจากการสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) จำนวน 31 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนการสอนสุขศึกษา และพลศึกษาเชิงรุกแบบทดสอบ ความสามารถในการแก้ปัญหาและแบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาสุขศึกษาและพลศึกษา สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที<br />&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; ผลการวิจัยพบว่า<br />&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; 1. ความสามารถในการแก้ปัญหาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่ได้รับการจัดการเรียนการสอนสุขศึกษาและพลศึกษาเชิงรุกหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05<br />&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; 2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่ได้รับการจัดการเรียนการสอนสุขศึกษาและพลศึกษาเชิงรุกหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05</p> <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; The purposes of this quasi experimental research were to compare the effect of active learning approach on problem solving ability and achievement in health education and physical education of grade 7 students. The samples consisted of 31 students of grade 7 during academic year 2018 of Sarasas Witaed Burapha School, Chonburi by Cluster Random Sampling. The instrument of this research were active learning lesson plans, problem solving ability test and achievement test. The statistical analysis were mean, standard deviation and dependent sample t-test.<br />&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;The results of this research were as follow<br />&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;1. The students&rsquo; problem solving ability of grade 7 learning by active learning approach in health education and physical education were statistically significant higher than the pretest at .05 level.<br />&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;2. The students&rsquo; achievement of grade 7 learning by active learning approach in health education and physical education were statistically significant higher than the pretest at .05 level.</p> Copyright (c) https://ojs.lib.buu.ac.th/index.php/social/article/view/6972 ความสัมพันธ์ระหว่างความผูกพันต่อองค์กร การมีส่วนร่วมของพนักงานและพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์กร กรณีศึกษาบริษัทรับเหมาก่อสร้างในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล 2020-09-16T15:46:30+00:00 สิทธิศักดิ์ เชื้อดวงผูย society@buu.ac.th ธัญวรัตน์ สุวรรณะ society@buu.ac.th <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; การค้นคว้าอิสระนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความผูกพันต่อองค์กร การมีส่วนร่วมของพนักงาน และพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์กร กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือ พนักงานทั่วไปบริษัทรับเหมาก่อสร้างในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล จำนวน 400 คน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการวิจัย วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐานด้วยสถิติเชิงอนุมาน โดยใช้ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สันระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05<br />&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; ผลการวิเคราะห์ระดับความผูกพันต่อองค์กรพบว่า พนักงานให้ความสำคัญกับด้านความผูกพันอย่างต่อเนื่องเป็นอันดับแรก ผลการวิเคราะห์ข้อมูลความคิดเห็นเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมพบว่า พนักงานให้ความ สำคัญในข้อการร่วมดำเนินงานตามแผนงานเป็นอันดับแรก และผลการวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์กร พบว่า พนักงานให้ความสำคัญในด้านพฤติกรรมการสำนึกในหน้าที่เป็นอันดับแรก<br />&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; ผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างความผูกพันต่อองค์กรกับพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์กรมีความสัมพันธ์เชิงบวกอยู่ในระดับปานกลางอย่างมีนัยสำคัญ และผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างการมีส่วนร่วมของพนักงานกับพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์กรมีความสัมพันธ์เชิงบวกอยู่ในระดับปานกลางอย่างมีนัยสำคัญ</p> Copyright (c) https://ojs.lib.buu.ac.th/index.php/social/article/view/6973 การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมเพื่อลดผลกระทบการใช้เครือข่ายสังคมของนิสิตมหาวิทยาลัยบูรพา 2020-09-16T15:46:30+00:00 รัตนาภรณ์ จันวิไชย society@buu.ac.th ดุสิต ขาวเหลือง society@buu.ac.th สิราวรรณ จรัสรวีวัฒน์ society@buu.ac.th มานพ แจ่มกระจ่าง society@buu.ac.th <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) พฤติกรรม ผลกระทบและแนวทางลดผลกระทบของการใช้เครือข่ายสังคมของนิสิตมหาวิทยาลัยบูรพา 2) เพื่อพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมเพื่อลดผลกระทบจากการใช้เครือข่ายสังคมของนิสิตมหาวิทยาลัยบูรพา 3) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ ก่อนฝึกอบรมและหลังฝึกอบรมของผู้เข้ารับการฝึกอบรมที่อบรมด้วยหลักสูตรฝึกอบรมเพื่อลดผลกระทบจากการใช้เครือข่ายสังคมของนิสิต มหาวิทยาลัยบูรพา 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนิสิตมหาวิทยาลัยบูรพาที่มีต่อการจัดฝึกอบรมเพื่อลดผลกระทบจากการใช้เครือข่ายสังคมการวิจัยและพัฒนาหลักสูตร แบ่งออกเป็น 2 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 ศึกษาสภาพปัญหาและแนวทางลดผลกระทบ กลุ่มตัวอย่างได้แก่ นิสิตมหาวิทยาลัยบูรพา 380 คนได้จากวิธีการสุ่มอย่างง่าย และศึกษาหาแนวทางลดผลกระทบโดยสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ 5 ท่าน และระยะที่ 2 การพัฒนาและการทดลองใช้หลักสูตรฝึกอบรมกับนิสิตมหาวิทยาลัยบูรพา จำนวน 25 คน ได้มาจากการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ หลักสูตรฝึกอบรม แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์จากการฝึกอบรม แบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์ ส่วนสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ คะแนนเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว<br />&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; ผลการวิจัยพบว่า<br />&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; 1. พฤติกรรมและผลกระทบการใช้เครือข่ายสังคมของนิสิตมหาวิทยาลัยบูรพาในภาพรวมอยู่ในระดับมากและแนวทางลดผลกระทบของการใช้เครือข่ายสังคม คือ ควรมีการให้ความรู้และด้านความปลอดภัยของข้อมูลบนโลกไซเบอร์และควรจัดการฝึกอบรมเกี่ยวกับการใช้สื่อสังคมอย่างปลอดภัย<br />&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; 2. หลักสูตรการฝึกอบรมเพื่อลดผลกระทบการใช้เครือข่ายสังคมของนิสิตมหาวิทยาลัยบูรพา มีองค์ประกอบดังนี้ หลักการ จุดมุ่งหมาย จุดประสงค์การเรียนรู้ ขอบข่ายเนื้อหาสาระของหลักสูตร แนวทางจัดกิจกรรมการฝึกอบรมและการวัดและประเมินผล มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด (ค่าเฉลี่ย = 4.76, SD = 0.71)<br />&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; 3. คะแนนวัดผลสัมฤทธิ์หลังการฝึกอบรมสูงกว่าคะแนนก่อนการฝึกอบรม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05<br />&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; 4. ผลการศึกษาความพึงพอใจต่อหลักสูตรฝึกอบรมเพื่อลดผลกระทบการใช้เครือข่ายสังคมของนิสิตมหาวิทยาลัยบูรพา พบว่า ในภาพรวมผู้เข้ารับการฝึกอบรมมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย = 3.95, SD = 0.63)</p> <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; The objectives of this study were 1) to study behaviors, impacts and guidelines for reducing impacts of using social network of students in Burapha University, 2) to develop training curriculum, 3) to compare the pretest and posttest achievement scores of trainees, and 4) to study students&rsquo; satisfaction towards training curriculum. The research and development training curriculum was devided into two phases. The first phase: Study the problems and guidelines for reducing impacts. The samples consisted of 380 students and five experts who were interviewed to obtain some guidelines and suggestions for reducing impacts of using social network. The second phase was the development and a trial of the training curriculum with 25 students. The research instuments were achievement test, questionaires, construct interviews and training curriculum. The statistics used for data analysis were percentage, Means Standard Deviation, t-test, and One-way ANOVA.<br />&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; The research findings were summarized as follows:<br />&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; 1. Overall, the behaviors and impacts of using social network of students in Burapha University were rated at high level. The guidelines for reducing impacts of using social network shared by five experts included there should be a development of a training curriculum for cyber security management and safety social network usage.<br />&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; 2. Training curriculum development of train curriculum for reducing impacts of using social network of students in Burapha University was comprised of 6 components, including: principle, goals, objectives, contents, training activities, and evaluation all of components were rated at the highest level (average = 4.76, SD = 0.71).<br />&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; 3. The score in training achievement of the posttest were significantly higher than pretest at .05 level of significance.<br />&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; 4. Overall, the level of students&rsquo; satisfaction with training curriculum development of train curriculum for reducing impacts of using social network of students in Burapha University were rated at high level (average = 3.95, SD = 0.63).</p> Copyright (c) https://ojs.lib.buu.ac.th/index.php/social/article/view/6974 แนวทางส่งเสริมการเรียนรู้วัฒนธรรมในชีวิตประจำวันของนักศึกษาจีนและนักศึกษาไทยในสถาบันระดับอุดมศึกษา 2020-09-16T15:46:30+00:00 Zhang Chunjiao society@buu.ac.th สุวิชัย โกศัยยะวัฒน์ society@buu.ac.th วรวุฒิ เพ็งพันธ์ society@buu.ac.th ภัทรมนัส ศรีตระกูล society@buu.ac.th <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการเรียนรู้วัฒนธรรมไทยในชีวิตประจำวันของนักศึกษาจีน ที่ศึกษาในระดับอุดมศึกษาของไทย 2) ศึกษาการเรียนรู้วัฒนธรรมจีนในชีวิตประจำวันของนักศึกษาไทยที่เคย ไปศึกษาในระดับอุดมศึกษาของจีน 3) ศึกษาแนวทางส่งเสริมการเรียนรู้วัฒนธรรมในชีวิตประจำวันของ นักศึกษาจีนและนักศึกษาไทยในสถาบันระดับอุดมศึกษา เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ผู้ให้ข้อมูลหลักคือ นักศึกษา จีนและนักศึกษาไทย จำนวน 40 คน ด้วยวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกและวิธีการสนทนากลุ่มจากอาจารย์และผู้ ประสานงาน จำนวน 6 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการวิเคราะห์เนื้อหาและสรุปจัดหมวดหมู่ประเด็นสำคัญ &nbsp;นำเสนอผลการวิจัยด้วยวิธีพรรณนาเชิงวิเคราะห์ในรูปแบบความเรียง ตารางและแผนภูมิ ผลการวิจัยมีดังนี้<br />&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; 1. การเรียนรู้วัฒนธรรมไทยในชีวิตประจำวันของนักศึกษาจีนมีการศึกษาด้วยตนเองจากหนังสือ จากเว็บไซต์ จากอินเทอร์เน็ต จากภาพยนตร์ และการถามรุ่นพี่ทั้งชาวจีนและชาวไทยก่อนมาศึกษา ขณะศึกษา เรียนรู้จากการสังเกต การพูดคุยกับเพื่อนและอาจารย์ผู้สอน วัฒนธรรมการเรียนรู้ที่ต้องส่งเสริม คือภาษา สมัยใหม่ในการสื่อสารมารยาทในสังคม กฎหมายข้อบังคับที่แตกต่างกัน สถานที่ที่ต้องติดต่อ ต้องการเพื่อนคนไทยและคนจีนช่วยให้คำแนะนำ<br />&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; 2. การเรียนรู้วัฒนธรรมจีนในชีวิตประจำวันของนักศึกษาไทยมีการเรียนรู้จากบทเรียนในหลักสูตรสังคมศึกษา จากเอกสาร จากเว็บไซต์ จากอินเทอร์เน็ต ศึกษาด้วยตนเองจากช่องโทรทัศน์ของจีนในไทยจากภาพยนตร์ จากคำบอกเล่าของรุ่นพี่คนไทยที่เคยไปศึกษา และถามเพื่อนคนจีนที่เรียนอยู่ด้วยก่อนไปศึกษา ขณะศึกษาเรียนรู้จากการสังเกต อ่านเอกสาร ถามเพื่อนและอาจารย์ผู้สอน วัฒนธรรมการเรียนรู้ที่ต้องส่งเสริม คือ ภาษาสมัยใหม่ในการสื่อสารมารยาทในสังคม กฎหมาย อาหารที่แตกต่างกัน สถานที่ที่ต้องติดต่อ ต้องมีเพื่อนคนไทยและคนจีนให้คำแนะนำและช่วยเหลือ<br />&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; 3. แนวทางส่งเสริมการเรียนรู้วัฒนธรรมในชีวิตประจำวันของนักศึกษาจีนและไทยในสถาบันระดับ อุดมศึกษา คือ ควรมีการปรับหลักสูตรให้ทันสมัย เพิ่มภาษาที่ใช้ในปัจจุบัน ควรสอดแทรกวัฒนธรรมด้วยการจัดโครงการทัศนศึกษา จัดตั้งหน่วยงานและบุคลากรช่วยประสานงานโดยตรง จัดตั้งเป็นสมาคมหรือชมรมศิษย์เก่าเพื่อจัดกิจกรรมเสริมและเผยแพร่วัฒนธรรมให้แก่นักศึกษาไทยและจีน จัดบรรยากาศวิชาการโดยใช้เทศกาลตามประเพณีในชุมชนเป็นแหล่งเรียนรู้วัฒนธรรมให้แก่นักศึกษาได้รับความรู้เพิ่มเติมจากที่ได้รับในบทเรียน</p> <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; The purposes of this research aimed to; 1) study Thai culture learning in daily life of Chinese students in Thai higher education level, 2) study Chinese culture learning in daily life of Thai students who had studied in Chinese higher education level, 3) study guideline promotion for culture learning in daily life of Chinese and Thai students in higher education level. Qualitative method was the method of this research. The key informants composed of 40 Chinese and Thai students were in-depth interviewed and 6 instructors and coordinators who participated in focus group discussion. Data analysis composed of content analysis and main topics classification. Research results was presented by descriptive analysis with tables and charts. The results were as follows;<br />&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; 1. Thai culture learning in daily life of Chinese students consisted of studying by themselves, books, website, internet, film and talking with senior both Chinese and Thai students before coming to Thailand. During studying in Thailand, both observation and conversation with friends and instructors were used. Culture learning to be promoted were modern language for communication, different social etiquettes, law and social rules, important places, these need assistances from both Chinese and Thai friends.<br />&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;2. Chinese culture learning in daily life of Thai students consisted of studying by lesson from social studies curriculum, documents, website, internet, self-study from China channel television in Thailand, film, talking with senior Thai students who had studied in China and Chinese friends who were studying in Thailand before travelling to China. During studying in China, observation, study from documents and conversation with friends and instructors needed to use. Culture learning needed to be promoted were modern language for communication, different social etiquettes, law and Chinese foods. Concerning with important places must be assisted from both Chinese and Thai friends.<br />&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;3. The guideline for culture learning in daily life promotion for both Chinese and Thai students in higher education level was that the curriculum should be revised to be up date addition modern language, added culture issues by field trip management, setting up a Chinese students service, forming student alumni association or club for cultural activity, atmosphere academic arrangement using tradition of community in each festival to be culture learning resource for students.</p> Copyright (c) https://ojs.lib.buu.ac.th/index.php/social/article/view/6975 การประเมินความสำเร็จตามโครงการโครงการเงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิดขององค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่นในจังหวัดฉะเชิงเทรา 2020-09-16T15:46:30+00:00 ศิรพงศ์ โภคินวงศ์หิรัญ society@buu.ac.th อติพร เกิดเรือง society@buu.ac.th ประยุทธ์ สวัสดิ์เรียวกุล society@buu.ac.th <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; การวิจัยเรื่องนี้ มีวัตถุประสงค์มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สภาพการปฏิบัติโครงการและปัจจัยเชิงนโยบายโครงการเงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิด 2) ความสำเร็จของสภาพการปฏิบัติโครงการและปัจจัยเชิงนโยบายโครงการ ที่ส่งผลต่อโครงการเงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิดไปปฏิบัติขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในจังหวัดฉะเชิงเทรา การวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยใช้แบบผสานวิธี (Mixed-methods Research) โดยใช้การวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) และการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ใช้แบบสอบถามในการเก็บข้อมูลจากผู้ปฏิบัติงาน คือพนักงานท้องถิ่น และอาสาสมัครพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (อพม.) ได้กลุ่มเป้าหมาย จำนวน 400 คน สถิติใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน<br />&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพการปฏิบัติโครงการเงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิดขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ทั้ง 4 ด้าน โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก 2) ปัจจัยเชิงนโยบายโครงการเงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิดไปปฏิบัติขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทั้ง 6 ด้าน โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก และ ระดับความสำเร็จในการนำนโยบายโครงการเงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิดไปปฏิบัติขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ทั้ง 2 ด้าน โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก จากการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการนำนโยบายโครงการเงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิดไปปฏิบัติขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ได้แก่ ด้านนโยบายของรัฐ (x1), ด้านการบริหาร (x4), ด้านกฎหมาย (x2), ด้านวิถีชีวิต (x3), โดยสามารถอธิบายความผันแปรของความสำเร็จในการนำนโยบายไปปฏิบัติ ได้ร้อยละ 78 (R = 0.78) และด้านการนำระเบียบไปปฏิบัติ (x8) ด้านการบูรณาการ การทำงาน (x10) ด้านการให้ความรู้ความเข้าใจ (x7) ด้านการตรวจสอบโครงการ (x9) และด้านการนำนโยบายไปปฏิบัติ (x6) สามารถอธิบายความผันแปรของความสำเร็จในการนำนโยบายไปปฏิบัติ ได้ร้อยละ 52 (R = 0.52) โดยสามารถอธิบายความผันแปรของความสำเร็จในการนำนโยบายไปปฏิบัติ ได้ร้อยละ 52 (R = 0.52) ส่งผลต่อความสำเร็จในการนำนโยบายโครงการเงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิดไปปฏิบัติขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในจังหวัดฉะเชิงเทรา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05<br />&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; ผลการวิจัยยังพบว่าความสำเร็จในการนำนโยบายโครงการเงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิดไปปฏิบัติขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ด้านต่าง ๆ คือ 1) ด้านความพึงพอใจของประชาชน คือขั้นตอนเป็นไปตามที่ระเบียบกำหนด ความสะดวกรวดเร็วในการให้บริการแต่ละขั้นตอน ความเป็นธรรมของการบริการ เช่น เรียงตามลำดับก่อนหลังมีความเสมอภาคเท่าเทียมกัน แบบฟอร์มมีความชัดเจน และมีตัวอย่างการกรอกแบบฟอร์มหรือคำร้อง เจ้าหน้าที่มีความรู้ ความสามารถในการให้บริการ ช่วยแก้ปัญหาได้ และเอาใจใส่ กระตือรือร้น และความพร้อมในการให้บริการ มีช่องทางการรับฟังความคิดเห็นต่อการให้บริการ เช่น ตู้รับฟังความคิดเห็น เว็บไซต์มีการประชาสัมพันธ์การให้บริการแผ่นพับ ป้ายประชาสัมพันธ์ มีสื่อประชาสัมพันธ์/คู่มือและเอกสารให้ความรู้ มีสายด่วน ในการสอบถามข้อมูล มีการแจ้งแผนผังขั้นตอนและผู้ให้บริการ การจัดทำป้ายข้อความ ป้ายประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับการให้บริการมีความชัดเจน เข้าใจง่าย มีการใช้วัสดุ อุปกรณ์สำหรับการให้บริการมีความทันสมัย การให้บริการเป็นไปตามระยะเวลาที่กำหนด และข้อที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ เจ้าหน้าที่ให้บริการต่อผู้รับบริการเหมือนกันทุกราย โดยไม่เลือกปฏิบัติ 2) ด้านการสร้างทุนมนุษย์ที่ยั่งยืน นั้นเป็นการลงทุนในทุนมนุษย์ที่จะช่วยบำรุงรักษาคุณค่าและเพิ่มค่าทุนมนุษย์ เป็นการเพิ่มประสิทธิภาพของการจัดสรรทรัพยากร และเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ และความเป็นธรรมในการกระจายรายได้ นโยบายนี้เป็นการสร้างทุนมนุษย์และมีความสำคัญต่อกำลังคนมาก โครงการเกิดผลดีต่อสังคมในด้านการช่วยเพิ่มคุณภาพให้กับทุนมนุษย์ และสามารถประเมินค่าทางเศรษฐกิจด้านต้นทุนได้ในอนาคต ทำให้โครงการนี้เกิดประโยชน์ต่อสาธารณชนอย่างมากโดยวัดค่าเป็นตัวเงินไม่ได้เพราะเกิดประโยชน์กับระบบเศรษฐกิจ สังคม ที่มีคุณภาพ</p> <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;The objectives of this study were to study 1) situation of policy implementation and policy factors of support budget for raising of new born baby program 2) achievement of situation of policy implementation and policy factors of which affected the program on budget for raising of new born baby program to implement of local administrative organizations in Chachoengsao Province.<br />The research was mixed-methods research using quantitative and qualitative research methods. The research employed survey questionnaire to collect data from 400 practitioners who were local administrative officers and volunteer on social development and human security using purposive random sampling. In this research frequency, percentage, mean, standard deviation and step wise multiple regression analysis were used to analyzed the data and to test hypothesis.<br />&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; Research results found that 1) situation of policy implementation and policy factors of funding for raising new born baby program of local administrative organizations in overall 4 aspects was in high level 2) the policy factors of the budget to support raising of new born baby program from 6 aspects in overall was at high level and 3) achievement level of implementing the budget for raising new born baby program of the local administrative organizations from 2 aspects in overall was in high level. The results from Stepwise Multiple Regressions analysis revealed that the factors affecting the achievement of the policy of the budget to support looking after new born baby program of local administration organizations were the government policy (X1), administrative aspect (X4), legal aspect (X2), life style aspect (X3) which were able to explain the regression of the achievement of policy implementation at 78 percent (R2 = 0.78). The aspects of regulation implementation (X8), integrated job performing (X10), providing knowledge and understanding (X7), program audition (X9) and policy performing (X6) and were able to explain the regression of the achievement of policy implementation at 52 percent (R2 = 0.52) and these also affected the achievement of the policy of the budget to looking after of new born baby program of Local Administration Organizations in Chachoengsao Province at significant level of 0.05.<br />&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; The results from this study also found the achievement of the implementation of the budget to support the looking after of new born baby program of local administration organizations in each aspect including (1) people&rsquo;s satisfaction aspect which were the procedure conformed the regulation, convenient and speed of service in each step, fair services such as queuing, equality, clear forms with examples to follow, officers who had ability and knowledge in services helped solving the problems, well-care, and willing to serve, having accesses to overhear opinion of the services such as opinion dropped-box, having the service providing public relations on the website, leaflet, PR board and manual for knowledge providing, hotline for inquire of information, and having clearly procedure and step of services for service users, easy to understand, using modern office automation for the services, and the services were followed the timeframe. The results revealed the items with the lowest mean were officers provided service equally without discrimination (2) for sustainable human capital building aspect, the results found to be investment in human capital which help maintaining value and increase human capital value. It helped increase effectiveness of resource allocation and economic stability, and the fairness in income distribution. This policy is to build human capital and is crucial for human resource. The program had positive effects on social in order to help add quality on to human capital and eligible to forecast economic value of costs in the future making the program be huge benefits to public even though could not measure in term of money because it created benefits for the quality of economic and social system.</p> Copyright (c) https://ojs.lib.buu.ac.th/index.php/social/article/view/6976 แนวทางการพัฒนาสังคมและวัฒนธรรมในเขตเศรษฐกิจพิเศษนครพนม 2020-09-16T15:46:30+00:00 สุริยนต์ หลาบหนองแสง society@buu.ac.th สุวิชัย โกศัยยะวัฒน์ society@buu.ac.th ศรีวรรณ ยอดนิล society@buu.ac.th <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาปัจจัยที่มีต่อการพัฒนาสังคมและวัฒนธรรมในเขตเศรษฐกิจพิเศษนครพนม (2) สร้างแนวทางการพัฒนาสังคมและวัฒนธรรมในเขตเศรษฐกิจพิเศษนครพนม (3) ยืนยันแนวทางการพัฒนาสังคมและวัฒนธรรมในเขตเศรษฐกิจพิเศษนครพนม โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ ผู้ให้ข้อมูลหลัก ได้แก่ กลุ่มระดับนโยบาย กลุ่มระดับฝ่ายปฏิบัติการ และกลุ่มประชาชนทั่วไป จำนวน 81 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสัมภาษณ์เชิงลึก วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหาและสรุปแนวทางการพัฒนาจากการสนทนากลุ่ม ผลการวิจัยพบว่า<br />&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; 1. ปัจจัยที่มีต่อการพัฒนาสังคมและวัฒนธรรมในเขตเศรษฐกิจพิเศษนครพนม ประกอบด้วย ปัจจัยหลัก 3 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านการพัฒนาองค์การทางสังคม 2) ด้านการพัฒนาสถาบันทางสังคม 3) ด้านการพัฒนาทางวัฒนธรรม<br />&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; 2. การสร้างแนวทางการพัฒนาสังคมและวัฒนธรรมในเขตเศรษฐกิจพิเศษนครพนม ประกอบด้วยปัจจัยย่อย 15 ประการ ได้แก่<br />&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;2.1 ด้านการพัฒนาองค์การทางสังคม มีปัจจัยย่อย 7 ปัจจัย ได้แก่ 1) การพัฒนาระบบการขนส่งโลจิสติกส์, 2) การพัฒนาช่องทางเศรษฐกิจทางการค้า, 3) การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของภาครัฐอย่างต่อเนื่อง, 4) การมีส่วนร่วมของประชาชนในท้องถิ่นต่อการพัฒนาทางสังคม, 5) การสนับสนุนจากภาคเอกชนด้านการลงทุนในพื้นที่, 6) การจ้างแรงงานในพื้นที่เพื่อความมั่นคงของท้องถิ่น และ 7) การใช้กฎหมายและข้อบังคับในการรักษาระเบียบของท้องถิ่น<br />&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;2.2 ด้านการพัฒนาสถาบันทางสังคม มีปัจจัยย่อย 4 ปัจจัย ได้แก่ 1) การสร้างการรับรู้และปลูกจิตสำนึกรักท้องถิ่น, 2) การมีส่วนร่วมระหว่างเครือข่ายสถาบันทางสังคมทุกมิติ, 3) การสร้างความมั่นคงในอาชีพสร้างความอบอุ่นในครอบครัวในพื้นที่ และ 4) การพัฒนาสถาบันการศึกษาเพื่อรองรับการพัฒนาและสร้างเครือข่ายระหว่างประเทศ<br />&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;2.3 ด้านการพัฒนาทางวัฒนธรรม มีปัจจัยย่อย 4 ปัจจัย ได้แก่ 1) การสร้างการรับรู้ประเพณีในท้องถิ่นให้เกิดการยอมรับของคนภายนอก, 2) การรักษาวัฒนธรรมภูมิปัญญาท้องถิ่นให้เกิดการสืบต่อและต่อยอด, 3) การสร้างวัฒนธรรมเป็นเกราะสร้างศรัทธารักษาท้องถิ่น และ4) การสนับสนุนและส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม<br />&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; 3. การยืนยันแนวทางการพัฒนาสังคมและวัฒนธรรมในเขตเศรษฐกิจพิเศษนครพนม ประกอบด้วยปัจจัยสำคัญ 6 ปัจจัย ได้แก่ 1) การส่งเสริมเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมที่ก่อเกิดความเอื้อเฟื้อทางสังคม 2) การสนับสนุนงบประมาณด้านการพัฒนาในท้องถิ่น 3) การพัฒนาระบบการคมนาคมเพื่อรองรับการท่องเที่ยว 4) การสร้างการยอมรับและการรับรู้ของประชาชน 5) การปลุกจิตสำนึกด้านบทบาทหน้าที่ของพลเมือง และ 6) การพัฒนาโครงสร้างทางสังคมผ่านมิติทางวัฒนธรรม</p> <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;The objectives of this research were; 1) to study the development factors toward society and culture in Nakhon Phanom Special Economic Zone, 2) to create the development guideline of society and culture in Nakhon Phanom Special Economic Zone, 3) to confirm the development guideline of society and culture in Nakhon Phanom Special Economic Zone, by using qualitative methods. Key Informants in studying consisted of 81 people who were policy groups, operational groups, and the general people. The tools used for collecting data were in-depth interview forms. Data were analyzed by the content analysis and summarizing on focus group discussion concerning the development guidelines. The research results were as follows:<br />&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; 1. The development factors toward society and culture in Nakhon Phanom Special Economic Zone consisted of 3 main factors: 1.1 the social organization development, 1.2 the social institution development, and 1.3 the cultural development<br />&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; 2. The development guideline of society and culture in Nakhon Phanom Special Economic Zone consisted of 15 sub-factors were as follows:<br />&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;2.1 the aspect of social organization development consisted of 7 sub- factors: 1) the development of logistic transportation system, 2) the development of economic and trade channels, 3) the continuous development of government infrastructure, 4) the local people's participation in social development, 5) the support from private sectors in investment of the area, 6) the employment of workers in the area for local stability, and, 7) the use of laws and regulations to maintain local regulations.<br />&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;2.2 The aspect of development of social institutions consisted of 4 sub-factors: 1) building the awareness and instilling conscience of the local love, 2) the participation between networks of social institutions in all dimensions, 3) building job stability, creating a warmth in the family of the area, and 4) the development of educational institutions to support the development and creation of international networks.<br />&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;2.3 The aspect of cultural development consisted of 4 sub- factors: 1) the awareness creation of local traditions in order to be accepted by outsiders, 2) the cultural preservation, local wisdom for succession and extension, 3) the cultural creation as a shield to build local beliefs, and 4) the support and promotion in the cultural tourism.<br />&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; 2. Confirmation of the development guideline of society and culture in Nakhon Phanom Special Economic Zone consisted of 6 main factors: 1) the promotion of the cultural identity that created the social courtesy, 2) the budget support for local development, 3) the development of transportation systems to support the tourism, 4) the creation of acceptance and perception of the people, 5) the conscious creation of roles and responsibilities of people, and 6) the development of social structures through cultural dimensions.</p> Copyright (c) https://ojs.lib.buu.ac.th/index.php/social/article/view/6977 ปัจจัยเชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อโครงการประเมินผลนักเรียนร่วมกับนานาชาติ (PISA) ของประเทศไทย 2020-09-16T15:46:30+00:00 ภัทรมนัส ศรีตระกูล society@buu.ac.th <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยในรูปแบบของการวิจัยเพื่อการปรับปรุงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อผลการประเมิน PISAของประเทศไทย 2) กำหนดแนวทางการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของประเทศไทย ซึ่งระเบียบวิธีวิจัยในการศึกษาครั้งนี้แบ่งออกเป็น 2 ส่วน ประกอบด้วย ส่วนที่ 1 ได้แก่ ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาเอกสารงานวิจัยและทฤษฎีที่เกี่ยวข้องและสังเคราะห์เอกสารรายงานผลการศึกษา PISA ของ OECD และ สสวท. ขั้นตอนที่ 2 สัมภาษณ์ผู้บริหารโครงการ PISA ประเทศไทย เจ้าหน้าที่รับผิดชอบ และศึกษานิเทศก์รับผิดชอบงาน PISA รวม 19 คน ขั้นตอนที่ 3 นำผลการศึกษาปัจจัยในขั้นตอนที่ 1 และขั้นตอนที่ 2 ไปสังเคราะห์เพื่อออกแบบเครื่องมือจัดเก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์ผู้บริหารโรงเรียนสังกัด สพฐ. โรงเรียนเทศบาล โรงเรียนเอกชน วิทยาลัยสังกัดอาชีวศึกษา และโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัย รวม 11 แห่ง ขั้นตอนที่ 4 สอบถามถามความคิดเห็นและเจตคตินักเรียนอายุ 15 ปี จำนวน 240 คน และ ขั้นตอนที่ 5 สัมภาษณ์นักเรียนที่เคยเข้าร่วมการสอบ PISA ในโครงการ PISA 2018 จานวน 20 คน ในส่วนที่ 2 ประกอบด้วย ขั้นตอนที่ 1 วิเคราะห์สภาพแวดล้อมการศึกษาไทยโดยใช้หลัก SWOT Analysis ขั้นตอนที่ 2 นำผลการศึกษาในส่วนที่ 1 ไปสังเคราะห์ร่วมกับเป้าหมายตัวชี้วัดของแผนพัฒนาการศึกษาแห่งชาติ ปี 2560-2579 และจัดทำกลยุทธ์การพัฒนา PISA ประเทศไทย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบไปด้วย แบบสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ แบบสัมภาษณ์ผู้บริหาร ครู และนักเรียน แบบสอบถามความคิดเห็นและเจตคติของนักเรียน ด้านการอ่าน คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และ ไอซีที ตารางสังเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพการศึกษา ตารางวิเคราะห์การจัดทำกลยุทธ์การพัฒนาการวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติ ค่าความถี่ ร้อยละ และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า ปัจจัยที่ส่งต่อผลการประเมินโครงการ PISA ของประเทศไทย ประกอบด้วย 1) ทัศนคติ แรงจูงใจและวิธีการเรียนของนักเรียน 2) ฐานะทางเศรษฐกิจและสังคมของผู้ปกครอง 3) การรับนักเรียนเข้าเรียนและการแบ่งกลุ่มนักเรียนในการเรียน 4) อำนาจอิสระในการบริหารโรงเรียน 5) ปัญหาครูและวิธีการพัฒนาครู 6) การบริหารทรัพยากรการเรียน 7) บรรยากาศและพฤติกรรมทางการเรียน 8) ระบบการประกันคุณภาพภายในของโรงเรียน 9) นโยบายการศึกษาและการบูรณาการระหว่างหน่วยงานในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา จากปัจจัยดังกล่าวนำไปกำหนดกลยุทธ์แนวทางการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของประเทศไทย ประกอบไปด้วย 1) กลยุทธ์การพัฒนาผู้เรียน 2) กลยุทธ์การบริหาร และ 3) กลยุทธ์การพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา</p> <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;This study aimed to 1) study the factors that had influenced Thailand&rsquo;s PISA achievement and 2) arrange the suggestion for Thai educational quality development. The research methodologies had been operated by 4 steps. The first step was to interview the administrator of PISA Thailand, five responsible officers, and 14 PISA supervisors in Educational Service Area. The second was to study the research documents and related theories. In addition, OECD&rsquo;s PISA study report and surveys had been synthesized since 2000-2015. In the third step, the results from step 1 and 2 had been analysed and organized the school data storage by interviewing the school administrators, teachers, and students in 5 OBEC schools (Office of the Basic Education Commission), 3 municipality schools, one private school, one vocational school, and one university demonstration school. Furthermore, the research results had been deducted to manage Thai PISA educational development plan. The instruments consisted of the questionnaire for administrators, teachers and students, the skills and attitude inventory test of students in literacy, mathematics, science and ICT, the table of factors influencing educational development, and the table of the analysis of educational development plan. The uses of statistics in this research were frequency and percentage.<br />&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; The findings showed that the factors influencing Thai educational quality were 1) learning ability, 2) parents&rsquo; socio-economic status 3) selecting and grouping students 4) school autonomy 5) teacher quality and teacher development 6) learning resources management 7) learning environment and learning behavior 8) school internal quality assurance 9) the policies of education and integration between departments of educational quality development. In order to make suggestion in policy level for upgrading Thailand's PISA Achievement, SWOT analysis had been operated to analyze the National Education Development Plan.<br />&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;From the discussion, the nine factors that affected Thailand&rsquo;s PISA achievement had been synchronized to the indicators of National Education Plan for enhancing students' learning ability and increasing the effectiveness of school management and teaching potential development.</p> Copyright (c) https://ojs.lib.buu.ac.th/index.php/social/article/view/6978 การเปรียบเทียบทักษะการอ่านและการเขียนภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ระหว่าง กระบวนการอ่านจากล่างขึ้นบนกับการอ่านจากบนลงล่าง 2020-09-16T15:46:30+00:00 วรวงค์ เครือหว้า society@buu.ac.th วิราวรรณ์ ชาติบุตร society@buu.ac.th <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) เพื่อเปรียบเทียบทักษะการอ่านและการเขียนภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ระหว่างกลุ่มที่เรียนโดยใช้กระบวนการอ่านจากล่างขึ้นบนกับกลุ่มที่เรียนโดยใช้กระบวนการอ่านจากบนลงล่าง 2) เพื่อเปรียบเทียบทักษะการอ่านและการเขียนภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 หลังการจัดการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการอ่านจากล่างขึ้นบน กับเกณฑ์ร้อยละ 70 และ 3) เพื่อเปรียบเทียบทักษะการอ่านและการเขียนภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 หลังการจัดการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการ อ่านจากบนลงล่าง กับเกณฑ์ร้อยละ 70 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนอนุบาลหนองกี่ จำนวน 2 ห้องเรียน ห้องที่ 1 จำนวน 32 คน ห้องที่ 2 จำนวน 30 คน รวม 62 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการอ่านจากล่างขึ้นบนและการอ่านจากบนลงล่าง แบบวัดทักษะการอ่านและการเขียนภาษาไทย สถิติที่ใช้ ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบที (t-test)<br />&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; ผลการวิจัย พบว่า 1) ทักษะการอ่านและการเขียนภาษาไทยของนักเรียนไม่แตกต่างกันที่ระดับนัยสำคัญ .05 2) หลังการจัดการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการอ่านจากล่างขึ้นบน ทักษะการอ่านภาษาไทย มีคะแนนเฉลี่ย 14.97 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 74.85 ทักษะการเขียนภาษาไทยมีคะแนนเฉลี่ย 31.91 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 79.78 สูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 3) หลังการจัดการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการอ่านจากบนลงล่าง ทักษะการอ่านภาษาไทยมีคะแนนเฉลี่ย 15.03 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 75.15 ทักษะการเขียนภาษาไทยมีคะแนนเฉลี่ย 32.53 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 81.33 สูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05</p> <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; The objectives of this study were: 1) to compare Thai reading and writing skill of Grade 2 students learning by using the bottom-up reading process and the group learning by using the top down reading process; 2) to compare Thai reading and writing skill of Grade 2 students after learning by using the bottom-up reading process with the 70 percent criteria; and 3) to comparing Thai reading with the 70 percent criteria. The sample group in this research Double group, group one were 32 and writing skill of Grade 2 students after learning by using the top-down reading process students and group two were 30 students were 62 students in Grade 2 at Anuban Nong Ki School. There were selected by cluster random sampling. The tools used in the research were: 1) learning management plans using the bottom-up reading process; 2) learning management plans using the top-down reading process; 3) Thai reading skill test; and 4) Thai writing skills test. The data were analyzed by using included mean, standard deviation, percentage, and t-test.<br />&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; The results of the research showed that 1) The Thai reading and writing skills of Grade 2 students learning by using the bottom-up reading process and the group learning by using the top down reading process were not significantly different at the .05 level, 2) The score after learning by using the bottom-up reading process on the Thai reading skills of Grade 2 students was 14.97 which the 74.85 percent and Thai writing skills was 31.91 which the 79.78 percent which was significantly higher than the 70 percent criteria at the .05 significance level, and 3) The score after learning by using the top-down reading process on the Thai reading skills of Grade 2 students was 15.03 which the 75.15 percent and Thai writing skills was 32.53 which the 81.33 percent which was significantly higher than the 70 percent criteria at the .05 significance level.</p> Copyright (c) https://ojs.lib.buu.ac.th/index.php/social/article/view/6979 การพัฒนาบทเรียนออนไลน์ วิชา อินเทอร์เน็ต ด้วยแอปพลิเคชัน Google classroom สำหรับนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 2020-09-16T15:46:30+00:00 ศุภเศรษฐ์ พึ่งบัว society@buu.ac.th เกรียงศักดิ์ บุญญา society@buu.ac.th ธนะวัฒน์ วรรณประภา society@buu.ac.th แดน ทองอินทร์ society@buu.ac.th <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; การศึกษาครั้งนี้ มีจุดประสงค์เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพบทเรียนออนไลน์ เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียนและศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนบทเรียนออนไลน์ วิชา อินเทอร์เน็ต ด้วยแอปพลิเคชัน Google classroom สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2562 โรงเรียนบ้านมหาเจริญ ตำบลทุ่งมหาเจริญ อำเภอวังน้ำเย็น จังหวัดสระแก้ว จำนวน 2 ห้องเรียน รวมจำนวนนักเรียนทั้งหมด 67 คน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ เป็นนักเรียนที่กำลังศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/1 ซึ่งได้มาจากการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Sampling Random.) โดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยสุ่ม จำนวน 34 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ บทเรียนออนไลน์ วิชาอินเทอร์เน็ต ด้วยแอปพลิเคชัน Google classroom สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 4 บทเรียน แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน จำนวน 20 ข้อ และแบบสอบถามความพึงพอใจที่มีต่อการเรียนโดยใช้บทเรียนออนไลน์ วิชา อินเทอร์เน็ต ด้วยแอปพลิเคชัน Google classroom จำนวน 20 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานและการทดสอบค่าที (t-test)<br />&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; ผลการศึกษาพบว่า บทเรียนออนไลน์ วิชา อินเทอร์เน็ต ด้วยแอปพลิเคชัน Google Classroom สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่สร้างขึ้นมีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ E1 มีค่า เท่ากับ 82.06, E2 มีค่า มีค่าเท่ากับ 81.10 ซึ่งผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน พบว่า หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนหลังเรียนอยู่ ในระดับมากที่สุด ซึ่งสูงกว่าสมมติฐานที่ตั้งไว้ในระดับมาก</p> <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; The objective of this study were: 1) to create and find the effective of online lessons., 2) to compare the learning achievement and study about satisfaction of student who have used online lessons on the internet by Google Classroom application for grade 7 students. The basic Education Core Curriculum A.D. 2008. A sample<br />&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; Was select from grade 7 students of Mahajaroen School who study in semester 1 academic year 2019 within 2 classrooms, 67 students. They were selected by cluster sampling random group by using the classroom random based of unit which of 34 students. The tools used to collect information include online lessons on internet with Google Classroom program, number of 4 chapter. Learning achievement test number of 20 questions and satisfaction questionnaire with the learning by using online lessons on internet with Google Classroom program for grade 7 students. The basic Education Core Curriculum A.D. 2008 number of 20 questions. The statistics used to analyze data is mean (&times;), percentage (%), standard deviation (SD) and t-test.<br />&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; The results of the study found that online lessons on internet with Google Classroom program that built effective according to the criteria E1/E2 is equal to 82.06/81.10, which is the learning achievement of lesson online on internet with Google Classroom program. After studying higher than before, studying significantly in statistic .01 and satisfaction of the students to learn by using lesson online on internet with Google Classroom program for grade 7 students. The basic Education Core Curriculum A.D. 2008. After studying in the highest levels. Which is higher than the set hypothesis of the high levels. The basic Education Core Curriculum A.D. 2008. After studying in the highest levels. Which is higher than the set hypothesis of the high levels.</p> Copyright (c) https://ojs.lib.buu.ac.th/index.php/social/article/view/6980 เพลงโคราช : การถ่ายทอดและองค์ความรู้ 2020-09-16T15:46:30+00:00 บุญส่ง สร้อยสิงห์ society@buu.ac.th ปริญญา เรืองทิพย์ society@buu.ac.th ประวิทย์ ทองไชย society@buu.ac.th <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; บทความนี้ จึงต้องการนำเสนอมุมมองของผู้เขียนที่เกิดจากศึกษาค้นคว้าจากเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องเพื่อประกอบการทำวิจัยเรื่อง เพลงโคราช : การอนุรักษ์มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมไทยสู่สากล เพื่อเป็นการเผยแพร่ความรู้ความเข้าใจในองค์ความรู้และการถ่ายทอดองค์ความรู้ของเพลงโคราช มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมไทย ใช้แนวทางเดียวกันกับหลักเกณฑ์การขึ้นทะเบียนมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมขององค์การศึกษา วิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO) ซึ่งประกอบด้วย 1) การศึกษาวัฒนธรรมและความคงอยู่ของมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม 2) การถ่ายทอดองค์ความรู้ของมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม 3) การศึกษาองค์ความรู้ของมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม และ 4) การศึกษาวิถีชีวิตชุมชนของมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม ตามหลักเกณฑ์ดังกล่าวสิ่งที่สะท้อนความเป็นมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมได้เด่นชัดและทำให้มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมอยู่คู่ในสังคมได้อย่างยาวนาน<br />&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; ผลการศึกษา พบว่า การแสดงเพลงโคราช เป็นมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมไทยที่สะท้อนอัตลักษณ์และสังคมของจังหวัดนครราชสีมา อัตลักษณ์เฉพาะที่เด่นชัด คือการใช้ภาษาโคราช และการแสดงที่ไม่มีดนตรีประกอบสังคมที่ประกอบด้วยผู้คนที่อาศัยหลากหลายกลุ่มชาติพันธุ์ เสียงเหน่อโคราช เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว เป็นสำเนียงกึ่งภาคกลาง กึ่งอีสาน กึ่งอีสานใต้ จึงเรียกว่า &ldquo;สำเนียงโคราช&rdquo; การถ่ายทอดองค์ความรู้ของการแสดงเพลงโคราชจากอดีตสู่ปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็นการถ่ายทอดจากบิดามารดาสู่บุคคลในครอบครัว หรือการถ่ายทอดจากครูสู่ลูกศิษย์ ถือว่าเป็นการอนุรักษ์มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมอีกรูปแบบหนึ่ง</p> <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; This article therefore wants to present the views of the author caused by research from related research to conduct research &ldquo;Khorat folksong: Conservation of Thai intangible culture heritage into the culture world&rdquo; to disseminate knowledge and understanding of transferring knowledge of Khorat performance Thai intangible cultural heritage. Conservation of Thai intangible cultural heritage: Khorat folksong in the way of according to the intangible cultural heritage list of persistence of intangible cultural heritage 2) Transferring knowledge of cultural heritage 3) The study educational organization United Nations Science and Culture. Consist of 1) The study of culture and of knowledge of cultural heritage and 4) Community life education of intangible cultural heritage. According to the said criteria that clearly reflect the intangible cultural heritage and make the intangible cultural heritage in the society a long time Is the knowledge and transmission of intangible cultural heritage.<br />&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; The results of the study were as follows: Khorat folksong is a Thai intangible cultural heritage that reflects the identity and society of Nakhon Ratchasima. The unique identity that is clear to use Khorat language and no background music. A society that consists of people living in various ethnic groups. They were reflecting the language spoken, Accent Khorat voice. The unique therefore called the Khorat accent. Transferring knowledge of Khorat folking or Khorat performances from past to present. Whether it is transmitted from parents to family members or transferring from teachers to students. Considered as a conservation of cultural heritage is something that reflects that society.</p> Copyright (c) https://ojs.lib.buu.ac.th/index.php/social/article/view/6981 พฤติกรรมการเรียนรู้ทางสังคมในการใช้บริการร้านสะดวกซื้อของนักศึกษาในสถาบันอุดมศึกษา จังหวัด ชลบุรี 2020-09-16T15:46:30+00:00 ศศิวรรณ จรัลทรัพย์ society@buu.ac.th สุวิชัย โกศัยยะวัฒน์ society@buu.ac.th วรวุฒิ เพ็งพันธ์ society@buu.ac.th ภัทรมนัส ศรีตระกูล society@buu.ac.th <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; การวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี ใช้การวิจัยเชิงปริมาณ และวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาแรงจูงใจในการซื้อสินค้าจากร้านสะดวกซื้อของนักศึกษาในสถาบันอุดมศึกษา จังหวัดชลบุรี และเพื่อศึกษาความคาดหวังในการซื้อสินค้าจากร้านสะดวกซื้อของนักศึกษาในสถาบันอุดมศึกษา จังหวัดชลบุรี รวมถึงพฤติกรรมการเรียนรู้ทางสังคมในการใช้บริการร้านสะดวกซื้อของนักศึกษาในสถาบันอุดมศึกษา จังหวัดชลบุรี กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักศึกษาระดับปริญญาตรีในสถาบันอุดมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาในเขตจังหวัดชลบุรี ปีการศึกษา 2561 จำนวนทั้งสิ้น 400 คน ทำการสัมภาษณ์เชิงลึก จำนวน 5 คน และสนทนากลุ่ม จำนวน 9 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว<br />&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; ผลการวิจัย พบว่า<br />&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; 1) แรงจูงใจในการซื้อสินค้าจากร้านสะดวกซื้อ ของนักศึกษาในสถาบันอุดมศึกษา จังหวัดชลบุรี จำแนกตาม อายุ ระบบการเข้าศึกษา สถานะของนักศึกษา และรายได้ต่อเดือน ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ<br />&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; 2) ความคาดหวังในการซื้อสินค้าจากร้านสะดวกซื้อ ของนักศึกษาในสถาบันอุดมศึกษา จังหวัดชลบุรี จำแนกตาม อายุ สถานะของนักศึกษา และรายได้ต่อเดือน ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ส่วนจำแนกตามระบบการเข้าศึกษา แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05<br />&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; 3) พฤติกรรมการเรียนรู้ทางสังคมในการใช้บริการร้านสะดวกซื้อของนักศึกษาในสถาบันอุดมศึกษา จังหวัดชลบุรี จากมุมมองของนักศึกษาและผู้จัดการร้านสะดวกซื้อ พบว่า มีแรงจูงใจภายในจากความต้องการสินค้า แรงจูงใจภายนอกจากการโฆษณาในสื่อต่าง ๆ และความคาดหวังจากการได้รับบริการที่ดีจากร้านค้า</p> <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; This research was mixed method, both quantitative research and qualitative research, aimed to study the motivation to buy products from the convenience stores of students in higher education institutions in Chonburi province and to study the expectations of buying products from the convenience stores of students in higher education institutions in Chonburi province including social learning behavior in the use of convenience stores of student in higher education institutions in Chonburi province. The sample used in this research were 400 total number undergraduate students in higher education institutions under the Office of the Higher Education Commission in Chonburi Province, the academic year 2018, with 5 students for in-depth interviews and 9 from focus group discussions. The instruments used for data collection were a questionnaire and interview forms. Data was analyzed through technique called by &ldquo;content analysis&rdquo;. The statistics used for data analysis were percentage, mean, standard deviation, testing of the value and one-way ANOVA.<br />&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; The results of the research were:<br />&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; 1) Motivation to buy products from convenience stores of students in higher education institutions in Chonburi province, classified by age, education system, student status and income per month was not significantly different. <br />&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; 2) Expectation of buying products from convenience stores of students in higher education institutions in Chonburi province classified by age, student status and income per month was not significantly different, but classified by education system differing significantly at the level of .05. <br />&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; 3) Social learning behavior in using convenience stores of students in higher education institutions in Chonburi province from the view point of students and convenience store managers, found that internal motivation by need products, external motivation from advertising in media and the expectation by getting good service from convenience store.</p> Copyright (c) https://ojs.lib.buu.ac.th/index.php/social/article/view/6982 ผลการใช้ชุดการสอน กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี เรื่อง การดูแลรักษาบ้าน ของ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 2020-09-16T15:46:30+00:00 รวิพัชร์ นิลพัฒน์ society@buu.ac.th ดุสิต ขาวเหลือง society@buu.ac.th สิราวรรณ จรัสรวีวัฒน์ society@buu.ac.th มานพ แจ่มกระจ่าง society@buu.ac.th <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาประสิทธิภาพของชุดการสอน กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี เรื่อง การดูแลรักษาบ้าน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ตามเกณฑ์ E1/ E2 เท่ากับ 80/ 80 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี เรื่องการดูแลรักษาบ้าน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยชุดการสอน และ 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจต่อการเรียนด้วยชุดการสอน กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี เรื่องการดูแลรักษาบ้านของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ 1) ชุดการสอน 2) แผนการจัดการเรียนรู้ 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาการงานอาชีพและเทคโนโลยี 4) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียน กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนอุทัย จำนวน 40 คน ใช้การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่ม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที<br />&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; ผลการวิจัย พบว่า<br />&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; 1. ชุดการสอน กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี เรื่อง การดูแลรักษาบ้าน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นมีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ E1/ E2 เท่ากับ 81.94/ 80 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่ตั้งไว้<br />&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; 2. ผลการเปรียบเทียบคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 1 คะแนนเฉลี่ยหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05<br />&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; 3. ผลการศึกษาความพึงพอใจต่อการเรียนด้วยชุดการสอน กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี เรื่อง การดูแลรักษาบ้านของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก คะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 4.17 (ค่าเฉลี่ย = 4.17, SD = 0.91)</p> <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; The purposes of this research were 1) to find the efficiency of the occupations and technology instructional package on &ldquo;unit of use materials and equipments suitable to the home care&rdquo; of Mathayomsuksa one students acconding to the standard criterion of 80/80, 2) to compare learning achievement of the occupations and technology instructional package on &ldquo;unit of use materials and equipments suitable to the home care&rdquo; of Mathayomsuksa one students pretest and posttest, and 3) to study the students&rsquo; satisfaction toward to the occupations and technology instructional package on &ldquo;unit of use materials and equipments suitable to the home care&rdquo; of Mathayomsuksa one students. The instruments in the study comprised of 1) instructional package, 2) Learning plan, 3) occupations and technology learning achievement test, and 4) satisfaction questionnaire. The sample group in this study were 40 Mathayomsuksa one students at Uthai School, they were selected by cluster random sampling. The statistics that used for data analysis were percentage, mean, standard deviation and dependent t-test</p> Copyright (c) https://ojs.lib.buu.ac.th/index.php/social/article/view/6983 สตรีในการพัฒนาสังคม 2020-09-16T15:46:30+00:00 ธัญญธร บุญอภัย society@buu.ac.th พักตร์วิภา โพธิ์ศรี society@buu.ac.th สมหมาย แจ่มกระจ่าง society@buu.ac.th <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษา 1) สภาพ บทบาทความเป็นผู้นำของสตรีในการพัฒนาสังคม 2) ปัจจัยที่ส่งผลต่อบทบาทความเป็นผู้นำของสตรีในการพัฒนาสังคม 3) วิเคราะห์แนวโน้มบทบาทความเป็นผู้นำของสตรีในการพัฒนาสังคมในอนาคต ใช้วิธีวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed methods) จากการวิจัยเชิงสำรวจโดยใช้แบบสอบถามกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 384 คน และการเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการสัมภาษณ์คณะกรรมการสตรี จำนวน 21 คน และการสนทนากลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 9 คน<br />&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; ผลการวิจัย พบว่า<br />&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; 1. สภาพบทบาทความเป็นผู้นำของสตรีในการพัฒนาสังคม โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านเรียงลำดับจากมากไปหาน้อย ได้แก่ ด้านสังคม ด้านวัฒนธรรม และด้านสิ่งแวดล้อม<br />&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; 2. ปัจจัยที่ส่งผลต่อบทบาทความเป็นผู้นำของสตรีในการพัฒนาสังคม 1) ด้านสังคม ประกอบด้วย 3 ปัจจัย ได้แก่ 1.1) การมีจิตอาสาเพื่อช่วยเหลือสังคม 1.2) การมีความสามัคคีและความร่วมมือร่วมใจของคนในชุมชน 1.3) การมีอำนาจต่อรองโดยการจัดตั้งกลุ่มเพื่อส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพชีวิต 2) ด้านเศรษฐกิจ ประกอบด้วย 2.1) การบริหารจัดการเศรษฐกิจของครอบครัวทั้งรายรับรายจ่าย 2.2) การพัฒนาเศรษฐกิจสร้างสรรค์และการใช้เทคโนโลยีต่าง ๆ 2.3) ความสามารถในการเจรจาต่อรองด้านธุรกิจเพื่อสร้างความเป็นธรรมด้านเศรษฐกิจของชุมชน 3) ด้านวัฒนธรรม ประกอบด้วย 3.1) ด้านคุณลักษณะที่เอื้อต่อความเป็นผู้นำในการทำกิจกรรมด้านวัฒนธรรม 3.2) การประพฤติตนเป็นแบบอย่างที่ดีและส่งเสริมศีลธรรมแก่ครอบครัวและชุมชน 3.3) การอนุรักษ์และสืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่น 4) ด้านการเมืองและการปกครอง ประกอบด้วย 4.1) การเปิดโอกาสและสนับสนุนให้สตรีเข้ามามีส่วนร่วมในการทำงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและหน่วยงานต่าง ๆ มากขึ้น 4.2) การมีความรู้ความเข้าใจด้านการเมืองการปกครองทำให้สังคมยอมรับบทบาทสตรีมากขึ้น 4.3) การมีความรู้เกี่ยวกับกฎหมายเบื้องต้นเพื่อสร้างความตระหนักถึงสิทธิ บทบาทหน้าที่พลเมืองที่ดีของสังคม 5) ด้านสิ่งแวดล้อม ประกอบด้วย 5.1) การเป็นผู้นำการพัฒนาและส่งเสริมโครงการต่าง ๆ เพื่ออนุรักษ์และเสริมสร้างสิ่งแวดล้อมให้ยั่งยืน 5.2) การรณรงค์ให้ชุมชนและสังคมได้ตระหนักถึงคุณค่าของทรัพยากร 5.3) การประชาสัมพันธ์กิจกรรมต่าง ๆ เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมในชุมชน<br />&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; 3. แนวโน้มบทบาทความเป็นผู้นำของสตรีในการพัฒนาสังคม &ldquo;ตามกรอบ 5 ส&rdquo; ประกอบด้วย ส. 1: เสริมสร้างพลังจิตอาสา เพื่อพัฒนาความเข้มแข็งสู่ชุมชน ประกอบด้วย ด้านจิตอาสา ด้านการศึกษา การได้รับการยอมรับในความสามารถ ส. 2: เสริมสร้างพลังสตรี นวัตวิถีสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์ ประกอบด้วย การบริหารจัดการเศรษฐกิจของครอบครัว ความสามารถในการใช้เทคโนโลยี การเจรจาต่อรองในด้านธุรกิจของชุมชน ส. 3: เสริมสร้างเอกลักษณ์ความเป็นไทยรวมจิตใจ สืบสานภูมิปัญญาสู่สากล ประกอบด้วย เป็นแบบอย่างในการอนุรักษ์วัฒนธรรม บทบาทในการถ่ายทอด จริยธรรม ศีลธรรม คุณธรรม บทบาทในการอนุรักษ์และสืบทอดภูมิปัญญาท้องถิ่น ส. 4: เสริมสร้างความสมานฉันท์เพื่อสร้างสรรค์ความปรองดอง ประกอบด้วย การพัฒนาความรู้และเรียนรู้ด้านกฎหมายเบื้องต้นเพื่อพัฒนาตนเอง บทบาทการเป็นผู้นำด้านสิทธิมนุษย์ชน การได้รับการสนับสนุนจากครอบครัวและชุมชน ส. 5: เสริมสร้างความตระหนัก รักษ์ทรัพยากรตามวิถีพอเพียงสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน ประกอบด้วย การศึกษาเรียนรู้และเข้าใจเรื่องสิ่งแวดล้อมการเป็นแบบอย่างในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม การเป็นผู้นำในการรณรงค์ ด้านการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม</p> <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; The objectives of this mixed-method research were 1) to study status and leadership roles of women in social development, 2) to study factors influencing leadership roles of women in social development, 3) to analyze trends of leadership roles of women in social development. In order to determine the status and leadership roles of women in social development, the researcher used a questionnaire to survey opinion of 384 women living in the East of Thailand. To confirm and conclude the research findings, 9 experts took part in a focus group. Data collection instruments in this study were a questionnaire, and a structured interview guide. The collected data was analyzed through descriptive statistics and a content analysis technique.<br />&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; This study reports that<br />&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; 1) On average, status and leadership roles of women in social development were rated at a high level. The most considered roles were respectively rated as their roles in 1) society, 2) culture, and 3) environment.<br />&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; 2) Roles of women in social development could be seen as follows: In the society: doing volunteer job, working collaboratively with other people in a community, exercising a power in negotiations, forming groups enhancing quality of life of others. In the economy: monitoring and managing domestic expenses, developing creative economy and the use of technology, negotiating a business to ensure the fairness of the economy in the community. In culture: possessing characteristics facilitating leadership work and encouraging others to take part in cultural activities, becoming a good role model and raising awareness concerning ethical practices in family and community, protecting and maintaining local wisdoms. In Politics: opening up possible opportunities for women to enter work in local government organizations and other government organizations, promoting women knowledge concerning politics, laws and regulations so that human&rsquo;s rights, roles and responsibility of women in<br />society could be greatly aware. In environment: becoming leaders developing environmental protection projects, encourage people in society to aware of values of environment and the environmental sustainable development, promoting environmental activities and encouraging people in the community to take part.<br />&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; 3) Directions of future roles of women in social development could be seen in 5 working area. W1: Women should encourage other people to do volunteer work to ensure the empowerment of the community. These volunteer work could be found in the area of education promoting social acceptance in women capability. W2: Women should lead creative economy by managing domestic economy, improving their technological competency and being able to do business negotiation in their community. W3: Women should promote Thainess and local wisdoms. These can be done by becoming role models in preserving, maintaining and instilling moral and accepted behaviors to people in the society. W4: Women should help ensure harmony in their community. These can be done through improving their knowledge concerning basic laws. Moreover, they could take the role of the leaders working on human rights projects. W5: Women should be aware of environmental conservation according to the Philosophy of Sufficiency Economy. They should enhance their understanding through learnings about environment and become role models in environmental conservation as well as leaders in environmental protection projects.</p> Copyright (c) https://ojs.lib.buu.ac.th/index.php/social/article/view/6984 รูปแบบการนิเทศที่มีประสิทธิผลต่อการจัดการเรียนการสอนในศตวรรษที่ 21 ของโรงเรียนเทศบาล วัดท่าสะต๋อย อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ 2020-09-16T15:46:30+00:00 ธนัฏฐา วุฒิวณิชย์ society@buu.ac.th <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาสภาพปัญหาและความต้องการการนิเทศ การสร้าง และตรวจสอบรูปแบบการนิเทศ รวมถึงการศึกษาผลการใช้รูปแบบการนิเทศที่มีประสิทธิผลต่อการจัดการเรียนการสอนในศตวรรษที่ 21 ของโรงเรียนเทศบาลวัดท่าสะต๋อย อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ วิธีดำเนินการวิจัยแบ่งเป็น 3 ขั้นตอนตามวัตถุประสงค์ ประชากร และกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ขั้นตอนที่ 1 ประกอบด้วย ผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอนของโรงเรียนเทศบาลวัดท่าสะต๋อย อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 40 คน ขั้นตอนที่ 2 ประกอบด้วยศึกษานิเทศก์ ผู้บริหารสถานศึกษา คณะกรรมการฝ่ายวิชาการ และครูผู้สอน จำนวน จำนวน 41 คน และผู้ทรงคุณวุฒิประกอบด้วย นักวิชาการด้านนิเทศการศึกษา ศึกษานิเทศก์ และผู้บริหารสถานศึกษาที่ประสบความสำเร็จในด้านการนิเทศการศึกษา จำนวน 10 คน ขั้นตอนที่ 3 ประกอบด้วย ผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอน ของโรงเรียนเทศบาลวัดท่าสะต๋อย อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 40 คน วิธีการและเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วยแบบสอบถาม การประชุมเชิงปฏิบัติการ การจัดสนทนากลุ่ม ส่วนการนำรูปแบบไปทดลองใช้ คือ แบบประเมินความพึงพอใจ แบบบันทึกการประชุม และแบบบันทึกการสะท้อนคิด สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา<br />&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; ผลการวิจัย พบว่า สภาพการปฏิบัติ ด้านระบบการนิเทศการจัดการเรียนการสอน ด้านการดำเนินการนิเทศและ ด้านการประเมินผลการการนิเทศ อยู่ในระดับมาก ในส่วนของปัญหาทุกด้านอยู่ในระดับปานกลาง ในขณะที่ความต้องการด้านกระบวนการนิเทศ และด้านการนิเทศรูปแบบ &ldquo;SPIDER Model&rdquo; อยู่ในระดับมาก ส่วนในด้านการจัดการเรียนการสอนในศตวรรษที่ 21 อยู่ในระดับมากที่สุด โดยรูปแบบการนิเทศที่มประสิทธิผล ประกอบด้วยส่วนสำคัญ 6 ส่วน ดังนี้ 1) หลักการ 2) วัตถุประสงค์ 3) องค์ประกอบ และกระบวนการ SPIDER Model 4) วิธีดาเนินการ 5) ผลลัพธ์ 6) เงื่อนไขความสำเร็จของรูปแบบ และคู่มือการใช้ ประกอบด้วย คำชี้แจงการใช้คู่มือ ตอนที่ 1 บทนำ ตอนที่ 2 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการนิเทศการจัดการเรียนการสอน ตอนที่ 3 รูปแบบการนิเทศที่มีประสิทธิผล ตอนที่ 4 กระบวนการใช้ ตอนที่ 5 การประเมินผล และภาคผนวก ส่วนผลการตรวจสอบรูปแบบ และคู่มือการใช้ โดยผู้ทรงคุณวุฒิ พบว่า มีความถูกต้อง ความเหมาะสม ความเป็นไปได้ อยู่ในระดับ มากที่สุด ผลการใช้รูปแบบการนิเทศที่มีประสิทธิผล พบว่า ผู้เกี่ยวข้องมีความพึงพอใจอยู่ระดับมากที่สุด การสะท้อนผลการทดลองใช้รูปแบบ พบว่า มีส่วนช่วยให้ครูผู้สอนมีแนวทางในการจัดการเรียนการสอนและพัฒนานักเรียนให้มีทักษะการเรียนรู้ตามทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 องค์ประกอบเชิงหลักการ และวัตถุประสงค์มีความเหมาะสม การติดตาม ดูแล ให้คำแนะนำของครูนิเทศมีประสิทธิภาพคู่มือการใช้รูปแบบเป็นเครื่องมือสำคัญในการดำเนินงาน รวมถึงกระบวนการ SPIDER Model ซึ่งเป็นกระบวนการสำคัญที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของรูปแบบการนิเทศการจัดการเรียนการสอนในศตวรรษ ที่ 21</p> <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; The purpose of this research were to 1) study the problems, the requirements of teacher&rsquo;s supervision, the constructions and the inspections of the effective supervision model and 2) study the result of the supervision model for teaching in the 21st century learning of Wat Thasatoi Municipal School, Muang District, Chiang Mai Province. The research procedures were taken in 3 groups included: 1) 2 administrators and 38 teachers of Wat Thasatoi Municipal School. 2) an educational supervisor, 2 school administrators, 5 academic committee members, 33 teachers and 10 successful academic supervisor and administrators. 3) 2 administrators and 38 teachers of the Wat Thasatoi Municipal School. The research instruments consisted of questionnaires, workshop group, group discussion, the satisfaction evaluation form, meeting record and the reflection recording form. The data were analyzed in term of frequency, percentage, mean, standard deviation and content analysis.<br />&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; The results of the research were as follow: the supervision and evaluation of supervision was in the high level. Regarding the problems of all aspects were at a medium level. The requirement of teacher&rsquo;s supervision model called the "SPIDER Model" was at a high level. And for the teaching management in the 21st century learning, it was in the highest level. The effective supervision model consists of 6 important parts as follows: 1) Principles 2) Objectives 3) Components and process of SPIDER Model 4) Method of operation 5) Results 6) Conditions of the model and the instruction manual which includes instruction manual explanations, part 1 Introduction, Part 2 Basic knowledge about the supervision, Part 3 Effective supervision model, Part 4 Process of the model and Part 5 Evaluation and the appendix. The result of the evaluation found that the accuracy, the appropriateness and the possibility were at the highest level. The result of using the effective supervision model found that the related persons were satisfied at the highest level. The reflection of the model experiment showed that it helped the teachers to have guidelines for teaching and learning and develop students to have learning skills based on 21st century learning skills. The Principles and objectives are appropriate. The monitoring and providing guidance of teachers are effective. The manual of the model is an important tool in the operation, including the SPIDER Model, which is an important process that affects the effectiveness of the supervision model of teaching and learning in the 21st century.</p> Copyright (c) https://ojs.lib.buu.ac.th/index.php/social/article/view/6985 การจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยโครงงาน กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี เรื่อง อาหารพื้นบ้านจังหวัดระยอง ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 2020-09-16T15:46:30+00:00 สิรวิชญ์ บำรุงพงษ์ society@buu.ac.th ดุสิต ขาวเหลือง society@buu.ac.th รุ่งฟ้า กิติญาณุสันต์ society@buu.ac.th <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; การวิจัยครั้งนี้ มีจุดมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาประสิทธิภาพของแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยโครงงาน เรื่อง อาหารพื้นบ้านจังหวัดระยอง ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อเปรียบเทียบคะแนนก่อนเรียนและหลังเรียน 3) ศึกษาค่าดัชนีประสิทธิผลของการเรียน และ 4) ศึกษาความพึงพอใจ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่เรียนด้วยแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยโครงงาน กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี เรื่อง อาหารพื้นบ้านจังหวัดระยอง ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านหนองจอก กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 35 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มแบบกลุ่ม Cluster Random Sampling เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยโครงงาน ทั้งหมด 7 แผน แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบสอบถามวัดความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิเคราห์ข้อมูลได้แก่ ร้อยละคะแนนเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที t-test<br />&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; ผลการวิจัยพบว่า<br />&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; 1. ประสิทธิภาพของแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยโครงงาน เรื่อง อาหารพื้นบ้านจังหวัดระยอง มีประสิทธิภาพของกระบวนการและผลลัพธ์ (E1/E2) เท่ากับ 86.03 และ 84.85 สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด 80/80<br />&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; 2. การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนด้วยแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยโครงงาน เรื่อง อาหารพื้นบ้านจังหวัดระยอง ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05<br />&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; 3. ค่าดัชนีประสิทธิผลหลังเรียนด้วยแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยโครงงาน กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี เรื่อง อาหารพื้นบ้านจังหวัดระยอง ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เท่ากับ 0.7292 หรือ 72.92%<br />&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; 4. ระดับความพึงพอใจ ของนักเรียนที่เรียนในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (ค่าเฉลี่ย = 4.53, SD = 0.57)</p> <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; The objective of this study were: 1) to study the efficiency of Project - Based Leaning Area, title on Traditional Food in Rayong for Grade 6 students which have met the standard criterion set at 80/80; 2) to compare the students academic achievement Pre - test and Post - test: 3) to study the effectiveness index of Project - Based Leaning Activity, and 4) to study the students satisfaction toward Project - Based Leaning Activity lesson plans. The sample consisted of 35 students who were randomed by cluster sampling. The instruments were 7 Project - Based Learning activity lesson plans, achievement tests, and questionnaire. The collected data were analyzed by percentage, arithmetic mean, standard deviation and t-test<br />&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; The research findings were summerired as follows:<br />&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; The efficiency of Project &ndash; Based Learning activity lesson plans in Occupation and Technology Learning Area, title on Traditional Food in Rayong for Grade 6 students was 86.03/84.85 which was higher than the standard criterion set at 80/80.<br />&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; In comparative study students academic achievement. The average score of posttest was significantly higher than that of the Pre &ndash; test at .05 level of significance.<br />&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; The effectiveness index of Project &ndash; Based Learning Activity lesson plans in Occupation and Technology Learning Area on Traditional Food in Rayong for Grade 6 students was 0.7292 or 72.92%<br />&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; The students satisfaction were at highest level (average = 4.53, SD = 0.57)</p> Copyright (c) https://ojs.lib.buu.ac.th/index.php/social/article/view/6986 แนวทางพัฒนาบทบาทการศึกษาต่อการเสริมสร้างความเป็นพลเมืองดิจิทัลสู่ทักษะการคิดเชิงนวัตกรรม 2020-09-16T15:46:30+00:00 กิตติพิชญ์ วรโชติสุพัฒภาคิน society@buu.ac.th พักตร์วิภา โพธิ์ศรี society@buu.ac.th อุทิศ บำรุงชีพ society@buu.ac.th <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; ผลการวิจัยนี้เป็นส่วนหนึ่งของการวิจัยเรื่องบทบาทการศึกษาต่อการเสริมสร้างความเป็นพลเมืองดิจิทัลสู่ทักษะการคิดเชิงนวัตกรรม มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอแนวทางพัฒนาบทบาทการศึกษาต่อการเสริมสร้างความเป็นพลเมืองดิจิทัลสู่ทักษะการคิดเชิงนวัตกรรม โดยมีรูปแบบการวิจัยเชิงคุณภาพที่เก็บรวบรวมข้อมูลจากการสัมภาษณ์เชิงลึกจากกลุ่มผู้ให้ข้อมูลจำนวน 15 คน ผลการวิจัยพบว่าแนวทางพัฒนาบทบาทการศึกษาต่อการเสริมสร้างความเป็นพลเมืองดิจิทัลสู่ทักษะการคิดเชิงนวัตกรรม ประกอบด้วย 7 มิติ หรือ KITIPIT Dimensions ได้แก่ 1. มิติทางความรู้ (K : Knowledge ) 2. มิติการเสาะแสวงหาความรู้ (I : Inquiry) 3. มิติทางเทคโนโลยีและการเรียนรู้ (T : Technology &amp; Learning Resources) 4. มิติทางทักษะ (I : Intellectual) 5. มิติการมีส่วนร่วม (P : Participation) 6. มิติการคิดเชิงนวัตรรม (I : Innovative Thinking) และ 7. มิติการบันทึก การคิดทบทวน และการสะท้อนความคิด (T : Thought Diary)</p> <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; The results section of the role of education to enhance digital citizenship towards innovative thinking skills research paper. The objectives of this study were to propose the role of education development guidelines to enhance digital citizenship towards innovative thinking skills. The research utilized a qualitative methodology through in-depth interviews from 15 key informants. Findings were as follows: The role of education development guidelines to enhance digital citizenship towards innovative thinking skill consisted of 7 dimensions (KITIPIT dimensions): 1) K: Knowledge, 2) I: Inquiry, 3) T: Technology &amp; Learning Resources, 4) I: Intellectual, 5) P: Participation, 6) I: Innovative Thinking, 7) T: Thought Diary.</p> Copyright (c) https://ojs.lib.buu.ac.th/index.php/social/article/view/6987 กฎหมายต้นแบบในการรับรองและคุ้มครองสิทธิการสมรสของบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศ 2020-09-16T15:46:30+00:00 ธัญญาภัส ทองมุสิทธิ์ society@buu.ac.th สุนีย์ มัลลิกะมาลย์ society@buu.ac.th <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและวิเคราะห์กฎหมายคุ้มครองสิทธิการสมรสของบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศเพื่อจัดทำเป็นกฎหมายต้นแบบ วิธีวิทยาการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพประกอบด้วยการวิจัยเอกสาร การสัมภาษณ์เชิงลึก การมีส่วนร่วมออกแบบ-ร่วมออกแบบ และการรับฟังความคิดเห็น<br />&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; การวิจัยพบว่า บุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศถือว่ามีสถานภาพความเป็นมนุษย์ที่มีศักดิ์ศรีเหมือนกับบุคคลที่เป็นเพศหญิงและชาย และได้รับการคุ้มครองตามกฎหมายระหว่างประเทศและกฎหมายต่างประเทศให้มีความเสมอภาคเท่าเทียมกันด้วยสิทธิการสมรส ส่วนประเทศไทยมีกฎหมายให้การรับรองสิทธิการสมรสเฉพาะเพศชายและหญิงเท่านั้น จึงขัดกับหลักสิทธิมนุษยชนและรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ผลการวิจัยได้คาตอบเป็นกฎหมายต้นแบบในการรับรองและคุ้มครองสิทธิการสมรสของบุคคลที่มีความหลาก หลายทางเพศ โดยมีโครงสร้างกฎหมายประกอบด้วย แบบการจดทะเบียนสมรส ความสัมพันธ์ระหว่างคู่สมรส ทรัพย์สินระหว่างคู่สมรส ความเป็นโมฆะของการจดทะเบียนสมรส การรับรองบุตรบุญธรรม มรดก และอายุความ<br />&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; การวิจัยเสนอแนะให้นำกฎหมายต้นแบบเสนอการพิจารณากับฝ่ายนิติบัญญัติเพื่ออนุมัติหลักการ นำไปเผยแพร่ต่อกลุ่มบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศ ผ่านองค์กรที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองสิทธิมนุษยชน และนำเสนอต่อคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนเพื่อทำการผลักดันกฎหมายต้นแบบให้เกิดกลไกในการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศที่เป็นรูปธรรมชัดเจนขึ้น และหัวข้อวิจัยต่อไปคือกฎหมายต้นแบบว่าด้วยคำนำหน้านามของบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศ</p> <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; The objective of this research is to study and analyze the law on protection of LGBT. In order to prepare the law Research methodology is a qualitative research. Consisting of documentary research In-depth Interviews Participation in Design - Joint Design and Public Hearing.<br />&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; The research found that LGBT people are considered to have the same status as dignity as men and women. Protected under international law and international law to equalize marriage rights. As for Thailand, there is a law that guarantees marriage rights only for males and females. Therefore contrary to the principles of human rights and the Constitution of the Kingdom of Thailand The results of the research have been answered as the prototype law to certify and protect the marriage rights of LGBT people. Which has a legal structure consisting of marriage registration forms Relationship between spouses Property between spouses Nullity of marriage registration Adoption, inheritance, and limitation.<br />&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; The research suggests that the original law be proposed to the Legislature for approval of the principle. Distributed to LGBT Through organizations related to the protection of human rights and to present to the Human Rights Commission to push for a model law to have a concrete mechanism for the protection of rights and liberties of LGBT.</p> Copyright (c) https://ojs.lib.buu.ac.th/index.php/social/article/view/6988 ผลการจัดการเรียนการสอนวิชา คอมพิวเตอร์ ตามแนววงจรการเรียนรู้เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน คอมพิวเตอร์และความสามารถในการแก้ปัญหาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 2020-09-16T15:46:30+00:00 สุขเกษม บุรินทร์ society@buu.ac.th จันทร์พร พรหมมาศ society@buu.ac.th วีระพันธ์ พานิชย์ society@buu.ac.th <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชา คอมพิวเตอร์ และความสามารถในการแก้ปัญหาของนักเรียนที่เรียนด้วยการจัดการเรียนการสอนตามแนววงจรการเรียนรู้กับนักเรียนที่เรียนด้วยวิธีสอนแบบปกติ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็น นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ปีการศึกษา 2560 โรงเรียนสตรีสิริเกศ อำเภอเมือง จังหวัดศรีสะเกษ จำนวน 84 คน ได้มาจากวิธีเลือกแบบสุ่มแบบการสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง 1. แผนการจัดการเรียนการสอนตามแนววงจรการเรียนรู้ 2. แผนการจัดการเรียนการสอนแบบปกติ 3. แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคอมพิวเตอร์ 4. แบบทดสอบวัดความสามารถในการแก้ปัญหา สถิติที่ใช้ ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เพื่อเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม โดยใช้วิธีการทดสอบก่อนและหลังเรียนกับกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลอง<br />&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; ผลการวิจัยสรุปได้ว่า<br />&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; 1. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชา คอมพิวเตอร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่เรียนด้วยการจัดการเรียนการสอนตามแนววงจรการเรียนรู้สูงกว่ากลุ่มที่เรียนด้วยการจัดการเรียนการสอนแบบปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01<br />&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; 2. ความสามารถในการแก้ปัญหาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 หลังเรียนโดยการจัดการเรียนการสอนตามแนววงจรการเรียนรู้สูงกว่ากลุ่มที่เรียนด้วยการจัดการเรียนการสอนปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01</p> <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; The purposes of this research were to compare computer learning achievement and problem solving ability of using the learning cycle and the traditional method. The samples were 84 students who studied in Mathayomsuksa five students at Satri Siriket School of the academic year 2017, They were selected by cluster random sampling, the research instruments were 1) the lesson plans which used the learning cycle 2) the lesson plans which used the traditional method 3) computer achievement test and 4) problem solving ability test. The statistics for data analysis were percentage, mean, standard deviation, pretest-posttest, nonequivalent control group design. The research results were as follows;<br />&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; 1. Computer learning achievement of Mathayomsuksa five students after learning with learning cycle were higher than traditional method at significance .01 level<br />&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; 2. The problem solving ability of Mathayomsuksa five students after learning with learning cycle were higher than traditional method at significance .01 level</p> Copyright (c) https://ojs.lib.buu.ac.th/index.php/social/article/view/6989 ปัจจัยที่ส่งผลต่อสมรรถนะการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษาปทุมธานี เขต 2 2020-09-16T15:46:30+00:00 วีระนันท์ มนตรี society@buu.ac.th สุเมธ งามกนก society@buu.ac.th สมพงษ์ ปั้นหุ่น society@buu.ac.th <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัจจัยแรงจูงใจ การจัดโครงสร้างองค์การ การใช้เทคโนโลยีในการบริหาร บรรยากาศองค์การ และวัฒนธรรมองค์การ ที่ส่งผลต่อสมรรถนะการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษา 2) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยแรงจูงใจ การจัดโครงสร้างองค์การ การใช้เทคโนโลยีในการบริหาร บรรยากาศองค์การ และวัฒนธรรมองค์การ ที่ส่งผลต่อสมรรถนะการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษา 3) สร้างสมการพยากรณ์สมรรถนะการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษา จากปัจจัยแรงจูงใจ การจัดโครงสร้างองค์การ การใช้เทคโนโลยีในการบริหาร บรรยากาศองค์การ และวัฒนธรรมองค์การ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ข้าราชการครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 2 ปีการศึกษา 2561 จำนวน 127 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม แบบมาตราประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าอำนาจจำแนกรายข้อระหว่าง 0.513 - 0.960 และค่าความเชื่อมั่น .995 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย (average) ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน (Pearson&rsquo;s Product Moment Correlation Coefficient) ค่าสัมประสิทธิ์การถดถอยพหุคูณและสร้างสมการถดถอยเพื่อพยากรณ์ตัวแปรตัว โดยการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบมีขั้นตอน ( Stepwise multiple regression analysis)<br />&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; ผลการวิจัย พบว่า<br />&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; 1. ปัจจัยที่ส่งผลต่อสมรรถนะการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 2 โดยรวมและรายด้าน พบว่า อยู่ในระดับมาก<br />&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; 2. ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยที่ส่งผลต่อสมรรถนะการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนัก งานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 2 โดยรวมมีความสัมพันธ์กันในทางบวกในระดับปานกลางถึงระดับสูง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01<br />&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; 3. ปัจจัยที่ส่งผลต่อสมรรถนะการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 2 มีเพียง 4 ปัจจัย คือ การจัดโครงสร้างองค์การ (X<sub>2</sub>) แรงจูงใจ (X<sub>1</sub>) บรรยากาศองค์การ (X<sub>4</sub>) และการใช้เทคโนโลยีในการบริหาร (X<sub>3</sub>) ร่วมกันทำนายตัวแปรตามได้ร้อยละ 64.70 (R<sup>2</sup> = 0.647 ) อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.01 โดยสามารถสร้างสมการพยากรณ์ในรูปคะแนนดิบและรูปคะแนนมาตรฐาน ได้ดังนี้</p> <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; Ŷ = 0.659 + 0.302(X<sub>2</sub>) + 0.242(X<sub>1</sub>) + 0.159(X<sub>4</sub>) + 0.136(X<sub>3</sub>)</p> <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; Z = 0.359(X<sub>2</sub>) + 0.239(X<sub>1</sub>) + 0.194(X<sub>4</sub>) + 0.182(X<sub>3</sub>)</p> <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; The purpose of this research was 1) to determine motivation, management structure of organizational, technology administration, organizational climate and organizational culture affecting the competencies of school administrators. 2) to determine relationships among motivation, management structure of organizational, technology administration, organizational climate and organizational culture affecting the competencies of school administrators. 3) to determine the factors that predicted the competencies of school administrators from motivation, management structure of organizational, technology administration, organizational climate and organizational culture. The sample was 127 teachers under Pathumthani primary education service area office 2 during the academic year 2018. The research tool was a set of 5 rating scale questionnaires. The questionnaire discrimination were .513 - .960 and the reliability was .995. The statistics used in data analysis were mean (average), standard deviation (SD), Pearson&rsquo;s product moment correlation coefficient and stepwise multiple regression analysis.<br />&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; The results to that;<br />&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; 1. factors affecting the competencies of school administrators under Pathumthani primary education service area office 2. in overall and Each aspect were at a high level.<br />&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; 2. Relationships among factors affecting the competencies of school administrators under Pathumthani primary education service area office 2. In overall had moderately level to high level positive relation with statistical significant at .01 level<br />&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; 3. Factors affecting the competencies of school administrators under Pathumthani primary education service area office 2 composed of 4 factors that were explained the variane of competencies at 64.70 % (R2 = .647) included management structure of organizational, motivation, organizational climate and technology administration. With statistic significant at .01 level, with could be able to create regression equation both with raw score and standard score as followings:</p> <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; Ŷ = 0.659 + 0.302(X<sub>2</sub>) + 0.242(X<sub>1</sub>) + 0.159(X<sub>4</sub>) + 0.136(X<sub>3</sub>)</p> <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; Z = 0.359(X<sub>2</sub>) + 0.239(X<sub>1</sub>) + 0.194(X<sub>4</sub>) + 0.182(X<sub>3</sub>)</p> Copyright (c) https://ojs.lib.buu.ac.th/index.php/social/article/view/6990 แนวทางการบริหารจัดการของเทศบาลนครภูเก็ตตามแนวนโยบายที่สอดคล้อง Thailand 4.0 2020-09-16T15:46:30+00:00 อุราพร เดชเกิด society@buu.ac.th อติพร เกิดเรือง society@buu.ac.th ประยุทธ์ สวัสดิ์เรียวกุล society@buu.ac.th <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการขับเคลื่อนภายในสู่ภายนอกตามแนวทางการบริหารการจัดการของเทศบาลนครภูเก็ต ตามแนวนโยบายที่สอดคล้อง Thailand 4.0 2) ศึกษาการบริหารจัดการองค์กรอย่างมีประสิทธิภาพของเทศบาลภูเก็ต ตามแนวนโยบายที่สอดคล้อง Thailand 4.0 และ 3) ศึกษาแนวทางการบริหารจัดการของเทศบาลนครภูเก็ต ตามแนวนโยบายที่สอดคล้อง Thailand 4.0 ใช้การวิจัยแบบผสานวิธี (mix methods research) ระหว่างการวิจัยเชิงคุณภาพ และเชิงปริมาณ ประชากรที่ใช้เป็นกลุ่มตัวอย่างการวิจัยเชิงคุณภาพคือ ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 10 คน ได้แก่ ผู้บริหารเทศบาลนครภูเก็ต 1 คน สมาชิกสภาเทศบาล 5 คน และข้าราชการประจำ จำนวน 4 คน ประชากรเชิงปริมาณ คือ ประชาชนทั่วไปที่เข้ามาติดต่อประสานงานและอาศัยในเขตบริการเทศบาลจำนวน 79,086 คน คำนวนขนาดกลุ่มตัวอย่างด้วยวิธีของ Yamane (1997) ได้กลุ่มตัวอย่าง 400 คน<br />&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; ผลการวิจัยเชิงคุณภาพด้านการขับเคลื่อนภายในสู่ภายนอก 3 ประการย่อย พบว่า (1) การยกระดับนวัตกรรมควรมีศูนย์แสดงสินค้าทางนวัตกรรม ให้การสนับสนุนผู้ประกอบการหน้าใหม่ และ มีศูนย์การเรียนรู้ชุมชนเพื่อศึกษาดูงาน (2) การสร้างสังคมที่มีจิตวิญญาณของความเป็นผู้ประกอบการ คือ การทำธุรกิจที่ไม่ได้มุ่งเน้นผลด้านกำไรเพียงอย่างเดียวแต่ต้องคำนึงถึงสังคมที่ต้องอาศัยเกื้อกูลกันอย่างยั่งยืน ควรเน้นการตลาดเพื่อสังคม ที่ถือเป็นแนวคิดใหม่ ที่ต้องคำนึงถึงปัญหาของสังคมเป็นหลัก การเป็นผู้ประกอบการหน้าใหม่ จะคำนึงถึงความต้องการของผู้บริโภคก่อนเป็นอันดับแรก (3) การสร้างความเข้มแข้งของชุมชน และเครือข่าย ผู้นำต้องมีภาวะความเป็นผู้นาอย่างสูง ต้องมีการเรียนรู้บนพื้นฐานวัฒนธรรม และมีความจริงใจต่อกัน มีการแบ่งปันข้อมูลที่เป็นจริงในการแลกเปลี่ยน ด้านการบริหารจัดการอย่างมีประสิทธิภาพ พบว่า ควรเปิดโอกาสให้ภาคเอกชนเข้ามามีส่วนร่วม ส่งเสริมการเข้ามามีส่วนร่วมของชุมชน มุ่งเน้นการบริหารจัดการแบบมืออาชีพ เพื่อประโยชน์ของประชาชนเป็นหลัก ต้องมีระบบการทางานที่โปร่งใส ตรวจสอบได้ มีระบบฐานข้อมูลในการสนับสนุนการทำงาน มีระบบข้อมูลย้อนกลับสำหรับการถอดบทเรียน เพื่อนำมาปรับปรุงแก้ไขได้ มีการนำเทคโนโลยี และนวัตกรรมมาช่วยในการบริหารจัดการ บุคลากรต้องมีความรู้ ความสามารถในการใช้นวัตกรรมที่ช่วยการบริหารจัดการและบริการ ต้องลดขั้นตอนในการปฏิบัติงานให้มีความเหมาะสม และ ควรมีค่าตอบแทนและสวัสดิการที่เหมาะสมกับบุคลากร ข้าราชการ เจ้าหน้าที่ นอกจากนี้ผลการวิจัยด้าน แนวทางการบริหารจัดการ พบว่า ด้านการบริหารจัดการ องค์กรการปกครองส่วนท้องถิ่นมีระบบการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ และพร้อมในการดำเนินการเพื่อประโยชน์ของประชาชน ด้านการบริหารงานบุคคลและกิจการสภา องค์กรมีการบริหารงานอย่างมีประสิทธิภาพ มีการดำเนินงานตามหลักธรรมาภิบาลโดยเฉพาะอย่างยิ่งการสร้างความโปร่งใสในการปราบปรามการทุจริตในทุกรูปแบบเน้นการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารโดยยึดหลักการ เปิดเผยเป็นหลัก ปกปิดเป็นข้อยกเว้น มีการติดตามนวัตกรรมท้องถิ่น ที่เน้นให้ความสำคัญในเรื่องของการหาแนวทางการทำงานใหม่ ๆ เพื่อตอบสนองความต้องการของประชาชนในท้องถิ่น รวมถึงความคิดสร้างสรรค์ใหม่ ๆ<br />&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; ผลการวิจัยเชิงปริมาณ พบว่า 1) การขับเคลื่อนภายในสู่ภายนอกตามแนวทางการบริหารการจัดการของเทศบาลนครภูเก็ต ตามแนวนโยบายที่สอดคล้อง Thailand 4.0 ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาตามองค์ประกอบพบว่า ด้านการยกระดับนวัตกรรม มากที่สุด รองลงมา ด้านการสร้างสังคมที่มีจิตวิญญาณของความเป็นผู้ประกอบการ และด้านการสร้างความเข้มแข็งของชุมชนและเครือข่าย 2) การบริหารจัดการองค์กรอย่างมีประสิทธิภาพของเทศบาลภูเก็ต ตามแนวนโยบายที่สอดคล้อง Thailand 4.0 มีภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านทักษะ มากที่สุด รองลงมา ด้านค่านิยมร่วม ด้านระบบ และด้านรูปแบบ มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดตามลำดับ 3) แนวทางการบริหารจัดการของเทศบาลนครภูเก็ต ตามแนวนโยบายที่สอดคล้อง Thailand 4.0 ภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เรียงตามลำดับคือ ด้านการบริหารจัดการ รองลงมาคือ ด้านการบริหารงานบุคคลและกิจการสภา และด้านการบริการสาธาณะ เป็นด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด<br />&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า 1) การขับเคลื่อนภายในสู่ภายนอก ที่ส่งผลต่อแนวทางการบริหารจัดการของเทศบาลนครภูเก็ต ตามแนวนโยบายที่สอดคล้อง Thailand 4.0 มี 2 ประการ คือ ด้านการสร้างสังคมที่มีจิตวิญญาณของความเป็นผู้ประกอบการ และด้านการสร้างความเข้มแข็งของชุมชนและเครือข่าย ได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ. 05 ร้อยละ 35.10 (R=35.10, R<sup>2</sup>= 0.351) 2) การบริหารจัดการองค์กรอย่างมีประสิทธิภาพ ที่ส่งผลต่อแนวทางการบริหารจัดการของเทศบาลนครภูเก็ต ตามแนวนโยบายที่สอดคล้อง Thailand 4.0 มี 2 ประการ คือ ด้านยุทธศาสตร์และด้านค่านิยมร่วม ได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ. 05 ร้อยละ 56.200 (R=56.00, R<sup>2</sup>= 0.560)</p> <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; The objectives of this research were to 1) study internal driving to external conforming guideline of Phuket Municipal conforming Thailand 4.0, 2) study Phuket municipal&rsquo;s organization administration effectively, and 3) study guideline of Phuket Municipal administration conforming Thailand 4.0 using mix method research between qualitative and quantitative method. Population which applied as samples for qualitative research were 10 key informants composted of 1 Phuket Municipal&rsquo;s administrator, 5 members of municipal office, and 4 government officers. Population for quantitative research were 79,086 people who came to use the services at Phuket Municipal and sample size was 400 using Yamane (1997) formula to compute for the size of sample.<br />&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;The results from qualitative research of first, driving from internal to external 3 elements found that rising innovation level, should have innovative product exhibition center, supporting new entrepreneurs, and having community study center for field trip study, second, building the society of entrepreneurship minded which were doing business that did not only focus on profit but concern the community which sustainable need to help each other should focus on market for community which is the new idea that concern about social problems as core to be new entrepreneurs should concern consumer&rsquo; needs first, and finally, building community and networks strength, and having sincerity sharing<br />fact and information for exchange. The results for effective administration found that should give opportunity to private sector to participate, encourage community to participate, focus on the professional administration for the people benefit as core, should have transparency working system and auditable, have data base in working support, have back information system as learning experience eligible for the improvement, bring technology and innovation to help in work administration and services, reduce operation procedure for the suitability, and should have suitable pays and benefits for personnel, government, and officers. The results for administration guideline found that administration, local administrative organizations have effective administration system, and be ready to operate for the people benefits, human resource administration and committee matters organization effectively administrate, the operation follow good governance, particularly, creating transparency in every forms of corruption suppression which focus on publishing information by follow principles reveal is core, conceal is an exception, follow local innovation which focus on the important in seeking new working guideline for the responding to local people&rsquo; needs including new creative ideas.<br />&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; Quantitative results found that 1) the driving from internal to external following guideline for Phuket Municipal administration following the Thailand 4.0 policy in overall is at highest level. When consider by factor found that rising-up innovation level is highest, followed by building spiritual-society of entrepreneurs and building strength for community and networks. 2) Phuket Municipal Effective Organization Administration conforming with the Thailand 4.0 Policy in overall was at highest when consider by each element found that skills was highest, followed by share value, system, and pattern as lowest mean respectively. The results for guideline of Phuket Municipal organization administration conforming with the Thailand 4.0 Policy in overall was at highest, when consider by each element found that administration is highest, followed by human resource administration and committee matters, and public service was the lowest mean respectively.<br />&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; The results from hypothesis tests found that (1) driving from internal to external which affects guideline of Phuket Municipal administration aligning with Thailand 4.0 Policy has 2 objects which were building spiritual-society for entrepreneurship and building strength for community and network at statically significant .05 level at 35.10 percent (R=35.10, R<sup>2</sup> =0.351) explainable (2) Effective organization administration which affect guideline Phuket Municipal aligning Thailand 4.0 Policy had 2 objects which were strategy and share value at statically significant level .05 explainable 56.20 percent (R=56.00, R<sup>2</sup>=0.560).</p> Copyright (c) https://ojs.lib.buu.ac.th/index.php/social/article/view/6991 ผลกระทบของการพัฒนาพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกต่อการผลิตครูของสถาบันการครุศึกษาในภาคตะวันออก 2020-09-16T15:46:30+00:00 ศุภัครจิรา พรหมสุวิชา society@buu.ac.th วรวุฒิ เพ็งพันธ์ society@buu.ac.th สุวิชัย โกศัยยะวัฒน์ society@buu.ac.th <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลกระทบของการพัฒนาพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกต่อการผลิตครูของสถาบันการครุศึกษาในภาคตะวันออก ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ ผู้ให้ข้อมูลในการวิจัยรวมทั้งสิ้น 30 คน เป็นอาจารย์ผู้สอนของสถาบันการครุศึกษาในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก 3 แห่ง เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึก ผลการวิจัยพบว่า ผลกระทบของการพัฒนาพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกต่อการผลิตครูของสถาบันการครุศึกษาในภาคตะวันออก ส่งผลกระทบในด้านการขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม การขับเคลื่อนด้วยการสร้างการมีส่วนร่วม การขับเคลื่อนที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม</p> <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;The objectives of this research were to study the impact of development in Eastern Economic Corridor on teacher production of the educational institutions. This study used qualitative research design. In-depth interview were used for data collection. The 30 key informants were selected based on a purposive sampling. The results showed that; the impact of development in Eastern Economic Corridor on teacher production of the educational institution on productivity growth, inclusive growth, and green growth.</p> Copyright (c) https://ojs.lib.buu.ac.th/index.php/social/article/view/6992 การกลั่นแกล้งทางอินเทอร์เน็ต : การวัด การจัดกลุ่ม และความแตกต่างระหว่างเพศของนิสิตระดับ ปริญญาตรี 2020-09-16T15:46:30+00:00 ศศิประภา เกษสุพรรณ์ society@buu.ac.th เสกสรรค์ ทองคำบรรจง society@buu.ac.th วรากร ทรัพย์วิระปกรณ์ society@buu.ac.th <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ตรวจสอบความเที่ยงตรงของโมเดลการวัดพฤติกรรมการกลั่นแกล้งทางอินเทอร์เน็ตในกลุ่มนิสิตระดับปริญญาตรี 2) วิเคราะห์จัดกลุ่มนิสิตตามประเภทของพฤติกรรมการกลั่นแกล้งทางอินเทอร์เน็ต 3) เปรียบเทียบพฤติกรรมการกลั่นแกล้งทางอินเทอร์เน็ตเมื่อจำแนกตามเพศของนิสิตระดับปริญญาตรี กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้เป็นนิสิตระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยบูรพาปีการศึกษา 2561 จำนวน 800 คน ได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถามพฤติกรรมการกลั่นแกล้งทางอินเทอร์เน็ต ทำการวิเคราะห์ข้อมูลเบื้องต้นโดยใช้สถิติพื้นฐาน การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันการวิเคราะห์จัดกลุ่ม และการวิเคราะห์ความแปรปรวนพหุคูณด้วยโปรแกรมทางคอมพิวเตอร์<br />&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; ผลการวิจัยพบว่า 1) โมเดลการวัดพฤติกรรมการกลั่นแกล้งทางอินเทอร์เน็ตและโมเดลการวัดความรู้สึกของผู้ถูกกระทำการกลั่นแกล้งทางอินเทอร์เน็ตของนิสิตระดับปริญญาตรี มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ (<strong>X</strong><sup>2</sup>= 9.12, <strong>X</strong><sup>2</sup>/ df= 2.28, SRMR= 0.01, RMSEA= 0.04, GFI= 1.00, AGFI= 0.98, CFI= 1.00 และ <strong>X</strong><sup>2</sup>= 2.67, <strong>X</strong><sup>2</sup>/df= 1.33, SRMR= 0.00, RMSEA= 0.02 , GFI= 1.00, AGFI= 0.99, CFI= 1.00 ตามลำดับ) 2) กลุ่มนิสิตที่มีพฤติกรรมการกลั่นแกล้งทางอินเทอร์เน็ตสามารถจัดได้เป็น 3 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ 1 คนชอบแกล้ง กลุ่มที่ 2 คนไม่ชอบแกล้ง กลุ่มที่ 3 คนชอบแกล้งแต่ไม่ชอบบล็อก และในส่วนของกลุ่มนิสิตที่ถูกกระทำการกลั่นแกล้งทางอินเทอร์เน็ตสามารถจัดกลุ่มได้เป็น 3 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ 1 คนไม่ถูกแกล้ง กลุ่มที่ 2 คนถูกแกล้ง กลุ่มที่ 3 คนถูกแกล้งแต่ไม่ถูกบล็อก 3) พฤติกรรมการกลั่นแกล้งทางอินเทอร์เน็ตมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 เมื่อจำแนกตามเพศ และในส่วนของผู้ถูกกระทำการกลั่นแกล้งทางอินเทอร์เน็ตก็มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01</p> <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;The purposes of this research were; 1) to validate the measurement model of Cyberbullying Behavior among undergraduate students. 2) to cluster analysis categories of Cyberbullying Behavior from undergraduate Students 3) to compare of Cyber Bullying Behavior when classify by gender. The samples were eight hundred undergraduate students of Burapha university in 2018. They were recruited by Multi-Stage sampling technique. The tools used in the research were the Cyberbullying questionnaire. The data were analyzed by basic statistics, Exploratory Factor Analysis (EFA), Cluster Analysis, One-way MANOVA using SPSS for Window and the Confirmatory factor analysis (CFA) were analyzed through LISREL version 8.72 Program. The results of the research were found as follows:<br />&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;1. Cyberbullying Behavior Measurement Model and Cyberbullying of victims Measurement Model among undergraduate Students was fitted with the empirical data (<strong>X</strong><sup>2</sup>= 9.12, <strong>X</strong><sup>2</sup>/ df= 2.28, SRMR= 0.01, RMSEA= 0.04, GFI= 1.00, AGFI= 0.98, CFI= 1.00 และ <strong>X</strong><sup>2</sup>= 2.67, <strong>X</strong><sup>2</sup>/ df= 1.33, SRMR= 0.00, RMSEA= 0.02, GFI= 1.00, AGFI= 0.99, CFI= 1.00)<br />&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; 2. It was found that the undergraduate Students who had Cyberbullying Behavior be grouped into 3 clusters. Cluster 1 was People like bullying. Cluster 2 was people not bullying. Cluster<br />&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;3. was people like bullying who disliked block. In part of undergraduate Students who had Victims Bullying be grouped into 3 clusters. Cluster 1 was people are not bullied. Cluster 2 was people who were bullied. Cluster 3 was people who were bullied but not block.</p> Copyright (c) https://ojs.lib.buu.ac.th/index.php/social/article/view/6993 แนวทางการจัดการศึกษาเพื่อการพัฒนาความฉลาดทางดิจิทัลบนฐานความคิดหลักเศรษฐกิจพอเพียง 2020-09-16T15:46:30+00:00 นุชจรี ลอยหา society@buu.ac.th พักตร์วิภา โพธิ์ศรี society@buu.ac.th อุทิศ บำรุงชีพ society@buu.ac.th <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอแนวทางการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาความฉลาดทางดิจิทัลบนฐานคิดหลักเศรษฐกิจพอเพียง มีรูปแบบการวิจัยแบบผสานวิธี (Mixed Method Research) โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูลจากการวิจัยเชิงสำรวจ คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ปีการศึกษา 2561 โรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 2 จำนวน 368 คน และกลุ่มตัวอย่างสำหรับการสัมภาษณ์เชิงลึกคือ ผู้ให้ข้อมูลหลัก จำนวน 15 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ และแบบสัมภาษณ์เชิงลึก วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า แนวทางการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาความฉลาดทางดิจิทัลบนฐานคิดหลักเศรษฐกิจพอเพียง ประกอบด้วย 4 มิติ หรือ NUCH Dimensions ได้แก่ 1) N - Network for learning (การสร้างเครือข่ายการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างภูมิคุ้มกันที่ดี 2) U - Ubiquitous learning (การจัดสภาพแวดล้อมให้เกิดการเรียนรู้ได้ทุกหนทุกแห่ง เพื่อพัฒนาให้มีความรู้คู่คุณธรรม) 3) C - Critical thinking (การพัฒนาทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณเพื่อเสริมสร้างความมีเหตุมีผล) 4) H - HyFlex sharing (การแบ่งปันการเรียนรู้โดยมีความยืดหยุ่นและเหมาะสมกับบริบทสังคมตามหลักความพอประมาณ)</p> <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; The objectives of this study were to propose educational management guidelines for digital intelligence development based on sufficiency economy for secondary students in the school under Pathum Thani primary educational service area office 2. The mixed- methods research design was adopted for this study. The sample survey were 368 the secondary students and 15 key informants for in- depth interview. The research instruments consisted of questionnaire, which contained five levels of ratting scales and in- depth interview questions. The data were a analyzed by using mean, standard deviation, and content analysis. Findings of the study were as follows:<br />&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; The educational management guidelines for digital intelligence development based on sufficiency economy consisted of 4 dimensions (NUCH Dimensions): 1) N - Network for learning (network for learning to enhance good immunity) 2) U - Ubiquitous learning (ubiquitous learning for the development of knowledge and morality) 3) C - Critical thinking (the development of critical thinking skill to enhance reasonable) 4) H - HyFlex sharing (HyFlex sharing based on moderate and social context).</p> Copyright (c) https://ojs.lib.buu.ac.th/index.php/social/article/view/6994 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสุขศึกษา ความสามารถในการป้องกันตนเอง และความสามารถในการทำโครงงานของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ด้วยการจัดการเรียนรู้ด้วยบทบาทสมมติ สถานการณ์จำลอง และการเรียนรู้ด้วยโครงงาน 2020-09-16T15:46:30+00:00 ณัฐวัฒน์ ภิญโญจิตร society@buu.ac.th รุ่งฟ้า กิติญาณุสันต์ society@buu.ac.th มณเทียร ชมดอกไม้ society@buu.ac.th <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสุขศึกษาก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ด้วยการจัดการเรียนรู้ด้วยบทบาทสมมติ สถานการณ์จำลอง และการเรียนรู้ด้วยโครงงาน 2. เพื่อศึกษาความสามารถในการป้องกันตนเองและความสามารถในการทำโครงงาน ด้วยการจัดการเรียนรู้ด้วยบทบาทสมมติ สถานการณ์จำลอง และการเรียนรู้ด้วยโครงงานกับเกณฑ์ที่กำหนด กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6/5 ปีการศึกษา 2560 โรงเรียนดาราสมุทร อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี จำนวน 1 ห้องเรียน จำนวนนักเรียน 50 คน โดยใช้การสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ประกอบด้วย แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้บทบาทสมมติ แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้สถานการณ์จำลอง แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้การจัดการเรียนแบบโครงงานแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสุขศึกษา เรื่อง โรคติดต่อและภัยธรรมชาติ แบบสังเกตความสามารถในการป้องกันตนเอง และแบบประเมินความสามารถในการทำโครงงาน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ t-test &ndash;Dependent<br />&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; ผลการวิจัยพบว่า<br />&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; 1. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสุขศึกษาของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ด้วยการจัดการเรียนรู้ด้วยบทบาทสมมติ สถานการณ์จำลอง และโครงงาน หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05<br />&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; 2. ผลการประเมินความสามารถในการป้องกันตนเอง และความสามารถในการทำโครงงานของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ด้วยการจัดการเรียนรู้ด้วยบทบาทสมมติ สถานการณ์จำลอง และโครงงานเรื่องโรคติดต่อและภัยธรรมชาติ หลังเรียนสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 อยู่ในระดับผ่านเกณฑ์</p> <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; The purposes of this study were 1) to compare health education learning achievement of Prathomsuksa 6 students before and after learning through a role playing learning technique, a simulation learning technique and a project based learning technique, and 2) to study self- ability of Prathomsuksa 6 students after learning through role playing learning techniques, simulation learning technique and project based learning techniques with a set of learning achievement criteria. The sample in this study was 50 Prathomsuksa 6 students studying in room 6/ 5. The students were studying in their first semester 1 in 2018 at Darasamutr School Sriracha Chon Buri. The sample was identified through the means of Stratified Random Sampling technique. Data collection instruments were 1) a teaching and learning plan applying role playing technique, 2) a teaching and learning plan applying simulation learning technique, 3) a teaching and learning plan applying project based learning techniques, 4) a learning achievement test assessing knowledge about infective diseases and natural disasters, 5) a self-preventive observation form, and 6) a project based performance evaluation form. Statistics used for data analysis were percentage, Mean (x), Standard Deviation (SD), t-test Dependent.<br />&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; This study report the following findings.<br />&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; 1. The average learning achievement scores of learning achievement in Health education of Prathomsuksa VI students after learning through the role playing learning technique, the simulation learning technique and the project based learning techniques was 0.05 level of statistically significantly higher than the pre-test one.<br />&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; 2. The average learning achievement score of students&rsquo; self-prevention after learning about infective diseases and natural disasters was 70 percent greater than the set criteria.<br />&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; 3. Students&rsquo; performance in conducting their projects about infective diseases and natural disasters after learning through the role playing learning technique, the simulation learning technique and the project based learning technique was 70 percent greater than the set criteria.</p> 2021-03-16T00:00:00+00:00 Copyright (c) 2021 วารสารการศึกษาและการพัฒนาสังคม มหาวิทยาลัยบูรพา