อนุรักษ์กีฬาแห่งชาติ คงแนวคิดเดิม-ปรับวิธีการใหม่

Authors

  • ประทุม ม่วงมี

Keywords:

กีฬาแห่งชาติ, กีฬาเขต

Abstract

ความปรารถนาที่จะมีความสำเร็จทางกีฬาระดับแข่งขันนั้น อาจเรียกได้ว่าเป็นธรรมชาติของคนทั่วไป เพราะชัยชนะนำมาซึ่งสิ่งดี ๆ หลายอย่างตั้งแต่ความรู้สึกในส่วนลึกในใจของนักกีฬาเองว่าตนเองเป็นผู้มีความสามารถจนถึงฐานะทางสังคม เศรษฐกิจ การเมืองของนักกีฬาและผู้เกี่ยวข้องและสุดท้ายคือ “ความเป็นหน้าเป็นตา” ของสถาบัน สโมสร หน่วยงาน และประเทศชาติ ความสามัคคี ความต่อเนื่องในการสนับสนุน บรรยากาศที่ดี เป็นต้น ในทางตรงข้ามความพ่ายแพ ความล้มเหลวต่าง ๆ หากผู้เกี่ยวข้อง “ทำใจ-หรือยอมรับ” ไม่ได้ (ซึ่งอาจมีสาเหตุมาจากการตั้งความหวังไว้สูงเกินไป และอย่างไม่มองถึงศักยภาพและความเป็นจริง การขาดสิ่งที่ขอเรียก ว่า “วุฒิภาวะทางจิตใจในกีฬา” การขาดระบบการจัดการที่เหมาะสมกับสภาพปัจจุบัน รวมทั้งทรัพยากรบุคคลที่ไม่เหมาะสมกับงาน ยิ่งรวมถึงปัญหาการพนันและการติดสินบนเข้ามาด้วยแล้วยิ่งมีปัญหามาก) ความพ่ายแพ้ก็อาจเป็นที่มาของความแตกแยก การขาด “บรรยากาศ” ที่ดี ความย่อท้อ ความผิดหวัง การขาดระเบียบวินัย (วินัยเป็นสิ่งที่สร้างยากท่ามกลางความยุ่งเหยิง ความพ่ายแพ้) อย่างไรก็ดีกีฬาก็จะยังคงเป็น “กิจกรรมเอก” ของสังคมในอันที่จะพัฒนาร่างกายให้กลายเป็นบ้านที่มั่นคงของจิตใจ เป็นสิ่งที่มีอำนาจรวมพลังจิต พลังใจของคนเป็นจำนวนมากในสังคม มีหลายครั้งใช่หรือไม่ที่เรามีความรู้สึกที่ดีมาก หรือกล่าวถึงด้วยความระทึกใจ เราไชโยโห่ร้องพร้อม ๆ กันในความสำเร็จของนักกีฬาไทย และก็มีอีกบางครั้งที่เราคนไทยมีพฤติกรรมที่ “ซึมเศร้ากันทั่วหน้า” รู้จักเสียใจ เสียเกียรติ ผิดหวังเมื่อนักกีฬาของเราแพ้จะด้วยเหตุใดก็ตาม คงไม่มีกิจกรรมอื่นใดมากนักในสังคมที่มีอํานาจต่อพลังจิต พลังใจได้มากเท่ากับกีฬา และ “กีฬา” นี่เอง ถ้าถูกนำมา “ปฏิบัติ” หรือนำมา “ประกอบการ” ให้ถูกก็จะช่วยให้สังคมอยู่กันอย่างเป็นสุข

Downloads

Published

2022-06-02