การประเมินผลการจัดการแข่งขันกีฬามหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 33

Management Evaluation on 33rd Thailand University Games

Authors

  • ประเสริฐไชย สุขสอาด
  • ประเสริฐไชย สุขสอาด
  • พรรณิภา ทีรฆฐิติ
  • วศิน ปลื้มเจริญ
  • วีร์ ระวัง
  • วิธูร ยุตตานนท์

Keywords:

กีฬามหาวิทยาลัย, การแข่งขันกีฬา, การประเมินผล, การแข่งขันกีฬามหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย

Abstract

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินผลการจัดการแข่งขันกีฬามหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 33 และศึกษาปัญหา อุปสรรค ในการจัดการแข่งขันกีฬามหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 33 กรอบแนวคิดมาจากทฤษฎีระบบ และรูปแบบการประเมินซิปป อันได้แก่ บริบท ปัจจัยนำเข้า กระบวนการ และผลลัพธ์ โดยใช้แบบสัมภาษณ์และแบบสอบถามในการเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างที่เป็นผู้บริหาร จำนวน 1 คน คณะกรรมการดำเนินการ จำนวน 20 คน ผู้ฝึกสอน/ผู้จัดการทีมและนักกีฬา จำนวน 582 คน กลุ่มเตรียมทีมนักกีฬา จำนวน 524 สื่อมวลชน จำนวน 74 คน ผู้ชมจำนวน 364 คน และพ่อค้าแม่ค้าและผู้มาเที่ยวงาน จำนวน 200 คน  จากผลการศึกษาสภาวะแวดล้อม พบว่า มหาวิทยาลัยมหิดลได้จัดองค์กรในลักษณะการกระจายความรับผิดชอบให้กับหน่วยต่างๆ ในมหาวิทยาลัย โดยมีหน่วยงานกลางของ มหาวิทยาลัยจะมีหน้าที่ประสานงานกับทุกคณะ มีการประชุมปรึกษาหารือในฝายอย่างต่อเนื่อง และบุคลากรแต่ละฝ่ายมีความตั้งใจทพงาน มีความภาคภูมิใจต่อการเป็นเจ้าภาพการจัดการแข่งขัน ทําให้การเตรียมความพร้อมในทุกๆ ด้านเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล  ผลการศึกษาปัจจัยนพเข้าและกระบวนการ พบว่า มหาวิทยาลัยมหิดล มีการเตรียมด้านบุคลากร การเงิน สถานที่และวัสดุอุปกรณ์และสิ่งอำนวยความสะดวก และการจัดการได้อย่างเพียงพอและเหมาะสม สำหรับในเรื่องปัญหาและอุปสรรค พบว่า มีปัญหาในเรื่องการจัดสรรเวลาเนื่องจากบุคลากรต้องทำงานประจำและมีหน้าที่หลายฝ่าย การจัดการแข่งขันครั้งนี้มีงบประมาณมีความล่าช้า และการจัดซื้อวัสดุโดยส่วนกลางทำให้การทำงานไม่คล่องตัว  ผลการศึกษาผลลัพธ์/ผลสัมฤทธิ์ และผลกระทบ พบว่า  1. นักกีฬา ผู้ฝึกสอนผู้จัดการทีม มีความพึงพอใจต่อการจัดการแข่งขันกีฬามหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 33 โดยรวมอยู่ในระดับมาก (= 3.63 , S.D. = 0.44)  2. ผู้ชมมีความพึงพอใจต่อการจัดการแข่งขันกีฬามหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 33 โดยสรุปภาพรวมอยู่ในระดับมาก (= 3.80 SD = 0.70)  3. นักกีฬา ผู้ฝึกสอน ผู้จัดการทีม ประชาชน และพ่อค้าแม่ค้า มีความพึงพอใจพิธีเปิดปิดมหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 33 โดยรวมอยู่ในระดับมาก (= 3.66 , SD = 0.76)  4. สื่อมวลชนมีความพึงพอใจต่อการจัดแข่งขันกีฬาหมาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 33 โดยสรุปภาพรวมอยู่ในระดับมาก (=3.92 S.D. =0.72)  5. พ่อค้า แม่ค้า มีความพึงพอใจต่อการจัดแข่งขันกีฬามหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 33 โดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง ( = 3.11 S.D. = 0.72)  6 นักกีฬา ผู้ฝึกสอนผู้จัดการทีม มีความพึงพอใจในการเตรียมทีมของนักกีฬาต่อการ 4 จัดการแข่งขันกีฬามหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 33 โดยรวมอยู่ในระดับมาก (= 3.54 S.D. = 0.52)  ส่วนทางด้านผลกระทบ พบว่า นักกีฬา และผู้ฝึกสอน/ผู้จัดการทีม และประชาชน เห็นด้วยว่ามีผลกระทบด้านสังคม ด้านการพัฒนากีฬา ด้านนักกีฬา ด้านการจัดการแข่งขัน และด้านเศรษฐกิจ  The research objectives were to evaluate management and problems on 33rd Thailand university sport competition. The research concept was based on System Theory and CIPP Model: context, input, process and output/outcome/ impacts. The informants were 1 administration, 20 committee. 584 coaches/team managers/ athletics, 524 athletic providers, 74 news reporters, 364 sport watcher and 200 merchants and visitors. Thus, the data collection was made by interview forms and questionnaires.  The research findings on context analysis presented that authorized responsibilities on sport competition management were decentralized to each faculty of Mahidol University under the coordination of the central unit. They made continuously and numerously the meeting, high intention of working, and high pleasure to be the host of university sport competition These were the major factors to drive them providing and works with high efficiency and effectiveness.  The research findings on input and process presented that Mahidol University provided and managed appropriately on personnel, finance, places and all facilitations for the sport competition.  The research findings on output and outcome related to the satisfaction on the 33rd Thailand university sport competition were located at high and moderate levels. The target groups paying high satisfaction were coaches/team managers 2 athletics ( = 3.63, S.D. = 0.44), watches ( = 3.80, S.D. = 0.70), visitors ( = 3.66, S.D. = 0.76) and news reporters (  = 3.92, S.D. = 0.72) while the target group paying moderate satisfaction was merchants (  = 3.11, S.D. = 0.72)  The research findings on impacts were most athletics, coaches, team managers and people agreed that the presented that 33rd Thailand university sport competition made various impacts, not only social and economic parts but also sport development, athletics and sport competition management.  However, there were some problems mentioned as most staff having their own ordinary responsibility; this made them having not so much time to serve the sport competition management, the budget approvement sometimes getting delay and uncomfortable condition of materials and equipment provided by the central management unit.

Downloads

Published

2022-06-02