แนวทางการออกแบบลักษณะพื้นที่ทางกายภาพที่ส่งเสริมสังคมและนันทนาการ สำหรับผู้สูงอายุในพื้นที่เขตทุ่งครุ จังหวัดกรุงเทพมหานคร

Authors

  • ศจี วิสารทศจี

Keywords:

ผู้สูงอายุ, การพัฒนาคุณภาพชีวิต, สังคมและนันทนาการ, สถาปัตยกรรมเพื่อผู้สูงอายุ, Elderly, Quality of life development, Social and recreation, Architecture for elderly

Abstract

          อัตราการเพิ่มจำนวนประชากรผู้สูงอายุเป็นไปอย่างต่อเนื่อง ทำให้ประเทศไทยเข้าก้าวสู่สังคมผู้สูงอายุ การส่งเสริมให้ผู้สูงอายุมีการร่วมกิจกรรมกับสังคมและให้มีการทำกิจกรรมอย่างสม่ำเสมอ มีส่วนช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดีแก่ผู้สูงอายุได้ ซึ่งกระบวนการดังกล่าวจะเกิดขึ้นได้อย่างสมบูรณ์ต้องประกอบไปด้วยรูปแบบกิจกรรม และบุคลากรที่มีความเหมาะสมรวมไปถึงลักษณะพื้นที่ทางกายภาพที่เออำนวย ปัจจุบันงานสถาปัตยกรรมให้การคำนึงถึงผู้ใช้ในกลุ่มนี้ ในแนวทางเพื่ออำนวยความสะดวกหรือเพื่อความปลอดภัยในการใช้สอยเป็นสำคัญแต่การออกแบบเพื่อกิจกรรมเฉพาะด้านที่เหมาะสมกับลักษณะของผู้สูงอายุยังมีจำนวนน้อย ดังนั้นการศึกษาพฤติกรรมและความต้องการของผู้สูงอายุ เพื่อนำไปสู่การออกแบบลักษณะทางกายภาพที่ส่งเสริมสังคมและนันทนาการจึงมีความสำคัญ โดยการวิจัยนี้มุ่งเน้นการศึกษาพฤติกรรมและความต้องการด้านสังคมและนันทนาการ จากกลุ่มตัวอย่างผู้สูงอายุในเขตเมืองจำนวน 100 คน ที่อาศัยอยู่ในพื้นที่เขตทุ่งครุ จังหวัดกรุงเทพมหานคร และเชื่อมโยงกับทฤษฎีการออกแบบทางสถาปัตยกรรมเพื่อผู้สูงอายุ เพื่อสรุปผลเป็นแนวทางในการออกแบบลักษณะพื้นที่ทางกายภาพที่เหมาะสมต่อผู้สูงอายุ ผลการวิจัยนี้จะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาองค์ความรู้ทางสถาปัตยกรรม รวมถึงการจัดทำโครงการเพื่อส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดีแก่ผู้สูงอายุต่อไป           An increasing of elderly people causes Thailand becoming an aging society. The support of social interactions and recreation activities can be useful for their quality of life development. This process can be done with specific activities, appropriate personnel and also responsive spaces. Nowadays, architectures have been used with greater concerns about the elderly by providing convenient functions and responsive spaces. However, there are only a few projects concerning improving specific activity space for elderly people. Therefore the study of elderly’s behaviors and needs is essential for designing social interaction and recreation spaces. This paper concentrates in studying behaviors and needs related to social and recreation activities. Data were collected from 100 elderly people who have been living in Thungkru Town, Bangkok, the concept of architectural design is used to examine the design and guidelines for an appropriate space for elderly. The research result has significant effects in architectural knowledge and design projects for developing elderly quality of lie.

Downloads