อิทธิพลของการรับรู้ประโยชน์ อุปสรรค ความสามารถแห่งตน ต่อความร่วมมือในการ ฟื้นฟูสภาพ และความสามารถทางกายภาพ ของนักกีฬายาดเจ็บระดับความรุนแรงปานกลาง
Keywords:
การรับประโยชน์, การรับรู้อุปสรรค, การรับรู้ความสามารถแห่งตน, ความร่วมมือต่อการฟื้นฟู, นักกีฬาบาดเจ็บ, Perceived benefits, Perceived barriers, Perceived self-efficacy, Rehabilitation adherence, Injured athleteAbstract
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสมพันธ์ระหว่างการรับรู้ประโยชน์ อุปสรรคความสามารถแห่งตนในการฟื้นฟู กับความร่วมมือในการฟื้นฟูสภาพและความสามารถทางกายภาพของนักกีฬาที่มีอาการบาดเจ็บระดับความรุนแรงปานกลาง ระหว่างระยะก่อนกับหลังการฟืนฟูสภาพ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นนักกีฬาที่มีอาการข้อเท้าแพลงระดับ 2 กำลังอยู่ในระยะการฟื้นฟูสภาพจำนวน 31 ราย อายุ 18-25 ปี (ค่าเฉลี่ย = 21.45, SD = 2.2) กลุ่มตัวอย่างตอบแบบสอบถามการรับรู้ประโยชน์ อุปสรรค ความสามรถแห่งตนในการฟื้นฟู และความร่วมมือในการฟื้นฟูสภาพที่บ้าน และนักกายภาพบำบัดทดสอบการทำงานของขาข้างที่บาดเจ็บและประเมินความร่วมมือในการฟื้นฟูสภาพที่คลินิก ผลการวิจัยชี้ให้เห็นว่าการฟื้นฟูสภาพทำให้การรับรู้ประโยชน์ ความสามารถแห่งตนในการฟื้นฟู และความสามารถทางกายภาพเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .01) ความร่วมมือในการฟื้นฟูสภาพที่คลินิกมีความสัมพันธ์เชิงลบกับการรับรู้อุปสรรคอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r = -.39, p = .02) ความร่วมมือในการฟื้นฟูสภาพที่บ้านมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับกรรับรู้ประโยชน์ (r = .40, p = .02) และความสามารถแห่งตน (r = .46, p = .01) แต่ไม่พบความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ทั้ง 3 ด้านกับความสามารถทางกาย (r = -.15 ถึง .24, p > .05) นอกจากนี้ยังพบว่าความร่วมมือในการฟื้นฟูที่คลินิกมีความสัมพันธ์กับความสามารถทางกายอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r = .37, p = .04) และปัจจัยการรับรู้ความสามารถแห่งตนก่อนการฟื้นฟูสภาพ สามารถทำนายความร่วมมือในการฟื้นฟูสภาพที่บ้านร้อยละ 20.7 ผลการศึกษานี้แสดงให้เห็นว่าปัจจัยทางจิตวิทยา การรับรู้ประโยชน์ อุปสรรค และความสามารถแห่งตนในการฟื้นฟู มีผลต่อความร่วมมือในการฟื้นฟูสภาพ The aim of the study was to investigate the relationship between the perceptions of benefits, barriers and self-efficacy with rehabilitation adherence and physical performance of second degree injured athletes during pre and post rehabilitation periods. The participants consisted of 31 athletes age between 18-25 years old (mean = 21.45, SD = 2.2) with second degree of sprained ankle and received rehabilitation program. Athletes were asked to evaluate their perceptions of benefits, barriers, self-efficacy and home rehabilitation adherence with questionnaires, then physical therapists assessed the performance of affected leg and evaluated increase to perceive benefits, self-efficacy and physical performance of participants significantly (p < .01). The home rehabilitation adherence showed positive relationship with the perception of benefits (r = .40, p = .02) and self-efficacy (r = .46, p = .01) while the clinic rehabilitation adherence showed negative relationship with the perception of barriers (r = -.39, p = .02). The perceptions did not show relationship with physical performance (r = -.15 ถึง .24, p > .05). The results also showed with rehabilitation adherence related with rehabilitation could predict rehabilitation adherence at 20.7 percent. The data showed that the psychology factors; the perception of benefits, barriers and self-efficacy influenced rehabilitation adherenceDownloads
Issue
Section
Articles