ความสัมพันธ์เชิงโครงสร้างของปัจจัยความเข้มแข็งทางด้านจิตใจในนักกีฬาไทยชายและหญิง

Authors

  • ชัยรัตน์ ชูสกุล
  • ธนิดา จุลวนิชย์พงษ์

Keywords:

ความเข้มแข็ง, ด้านจิตใจ, ความสัมพันธ์เชิงโครงสร้าง, นักกีฬา

Abstract

          ความเข้มแข็งทางด้านจิตใจ (Mental Toughness) เป็นความสามารถในการควบคุมและตอบสนองของอารมณ์ สมาธิ ความมุ่งมั่น และตั้งใจในสถานการณ์ต่าง ๆ ได้อย่างเหมาะสมองค์ความรู้ดังกล่าวนี้ได้มีการศึกษาที่ต่อเนื่องและเป็นลำดับโดยเริ่มต้มจากแนวคิดในต่างประเทศเพื่อให้เข้าใจ ถึงปัจจัยโครงสร้างที่เหมาะสมในการอธิบายความเข้มแข็งทางด้านจิตใจของนักกีฬาและความสำเร็จทางการกีฬา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกีฬาระดับอาชีพหรือแชมป์เปี้ยน การขยายองค์ความรู้ให้มีความลึกซึ้งและเฉพาะเหมาะสมกับกลุ่มนักกีฬาไทยจึงมีความสำคัญและจำเป็นการวิจัยครั้งนี้วัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาความเที่ยงตรงตามสภาพการณ์ (Concurrent criterion-related validity) ของแบบวัดความเข้มแข็งทางจิตใจในนักกีฬาไทย (2) ศึกษาความสัมพันธ์เชิงโครงสร้างของความเข้มแข็งทางจิตใจในนักกีฬาไทย (3) ศึกษาความไม่แปรเปลี่ยน (Invariance) ของโครงสร้างความเข้มแข็งทางจิตใจและความสัมพันธ์ที่มีต่อความสำเร็จทางการกีฬาระหว่างนักกีฬาไทยชายและหญิง และ (4) วิเคราะห์คะแนนเกณฑ์ปกติ (Norm Scores) ความเข้มแข็งทางจิตใจของทั้งนักกีฬาไทยชายและหญิง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นนักกีฬาไทยที่เข้าร่วมแข่งขันกีฬาระดับชาติและนักกีฬาทีมชาติ จำนวนทั้งหมด 2,030 คน เป็นนักกีฬาชาย 1,051 คน (ร้อยละ 51.8) และนักกีฬาหญิง 979 คน (ร้อยละ 48.2) ได้มาจากการสุ่มอย่างง่าย (Simple random sampling) กำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่าง (Sample size) โดยคำนึงถึงเงื่อนไขขั้นต่ำของการทดสอบความสัมพันธ์เชิงโครงสร้างและความไม่แปรเปลี่ยนของความเข้มแข็งทางจิตใจ คือ ขนาดจำนวน 20 เท่าของจำนวนข้อคำถามในแบบวัด (Tabachinck & Fidell, 1996) เครื่องมือการวิจัยเป็นแบบวัดความเข้มแข็งทางจิตใจ (Mental Toughness Inventory; Middleton, 2005a) และแบบวัดความสำเร็จทางกีฬา โดยได้ผ่านการทดสอบและรายงานคุณภาพเครื่องมือทั้งความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหาความเที่ยงตรงเชิงโครงสร้าง และความเชื่อมั่น ข้อมูลที่ได้จากการสำรวจ ได้นำไปวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ (1) สถิติพื้นฐาน เช่น ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ร้อยละ และสถิติทดสอบความเหมาะสมของข้อมูล คือ Barlett’s test of Sphericity และ Kaiser-Meyer-Olkin (KMO) (2) สถิติทดสอบเที่ยงตรงเชิงโครงสร้าง โดยใช้การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจและเชิงยืนยันอันดับสอง (Exploratory and 2nd Confirmatory factor analysis (3) ทดสอบความไม่แปรเปลี่ยน (Invariance) ของปัจจัยความเข้มแข็งทางจิตใจและความสัมพันธ์กับความสำเร็จทางกีฬาในระหว่างเพศชายและหญิง โดยใช้การวิเคราะห์พร้อมกันทีเดียวหลายกลุ่ม (Multi-Group Analysis) ประเมินความเหมาะสมของข้อมูลโดยใช้ดัชนีความกลมกลืน (Fit indices) ได้แก่ ค่า X2 CFI TLI RMSEA path coefficient df df diff และ X2 diff และ (4) ทดสอบหาเกณฑ์ปกติความเข้มแข็งทางจิตใจของนักกีฬาไทยชายและหญิง โดยการคำนวณช่วงคะแนนเปอร์เซ็นต์ไทล์ และคะแนนที (T-score) ผลการวิจัย พบว่า (1) แบบวัดความเข้มแข็งทางจิตใจมีความเที่ยงตรงตามสภาพการณ์ (Concurrent criterion-related validity) ในการทำนายความสำรวจทางการกีฬาของนักกีฬาไทย โดยมีค่าดัชนีความกลมกลืนของข้อมูลอยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม (= 561.22 (df = 78, p = .00) RMSEA = .056, CFI = .99, TLI = .99) และมีค่าสัมประสิทธิ์อิทธิพลมาตรฐานที่ตัวแปรความเข้มแข็งทางจิตใจมีต่อความสำเร็จทางการกีฬา เท่ากับ .77 (2) ปัจจัยความเข้มแข็งทางจิตใจมีความเที่ยงตรงเชิงโครงสร้างของความเข้มแข็งทางจิตใจ ในนักกีฬาไทยเพศชายและหญิง พบว่า มีค่าดัชนีความกลมกลืนของข้อมูล (X2 = 4,347.60, df = 548, p= .00 CFI = .98 TLI = .98 และ RMSEA = .069) (3) โครงสร้างความเข้มแข็งทางจิตใจของนักกีฬา มีความไม่เปลี่ยนแปลง (Invariance) ในเพศชายและหญิง (X2 = 561.22, df = 78, p > .05 CFI = .99 TLI = .99 และ RMSEA = .056 และ (4) ได้คะแนนเกณฑ์ปกติ (Norm Scores) ความเข้มแข็งทางจิตใจของทั้งนักกีฬาไทยชายและหญิงโดยแบ่งเป็นเกณฑ์ปกติทั้งโดยรวมและแยกตามกลุ่มนักกีฬาชายและหญิง และองค์ประกอบของความเข้มแข็งทางจิตใจโดยสรุปผลการศึกษาครั้งนี้ยืนยันถึงแบบวัดความเข้มแข็งทางด้านจิตใจที่มีคุณภาพทั้งทางด้านความเชื่อมั่น ความเที่ยงตรงเชิงโครงสร้างและความเที่ยงตรงตามสภาพการณ์ในการทำนายความสำเร็จทางการกีฬาของนักกีฬาได้ รวมถึงความสามารถ ในการวัดและประเมินความเข้มแข็งได้อย่างเหมาะสมและเฉพาะเจาะจง กับนักกีฬาทั้งเพศชายและหญิง อันจะนำไปใช้ให้เกิด ในการหาแนวทางพัฒนาและเสริมสร้างความเข้มแข็งทางจิตใจของนักกีฬาไทยต่อไป           Mental toughness is an ability in controlling and responding to mind properly of moodes, concentration, commitment and attention in various situation. Originally, foreign countries have studied it continually and sequence for understanding of their appropriate structures explaining of athlete mental toughness and a success in sport, especially in the professional of champion’s level of sport. For Thai athletes, an extending of this knowledgeable to deeply and specify is undoubtedly important as well. This study aimed to 1). Study the concurrent criterion-related validity of mental toughness inventory for Thai athletes, 2). Study the mental toughness structural relationships for Thai athletes, 3). Study the invariance of structural relationships and mental toughness affecting Thai Male and female athletes’ success, and 4) analyze norm scores of both Thai male and female athletes’ mental toughness. The samples used in the study were 2,030 Thai athletes who were participated in the National Games and were Thai athlete’s representative. There were 1,051 males (51.8%), and 979 females (48.2%). They were chosen through random sampling. The sample size was specified by considering at the lowest test’s criteria of structural relationships and invariance of mental toughness, 20 times more items than those in the inventory, (Tabachnick & Fidell, 1996). The tools used in this study were mental toughness inventory (MTI) (Middleton, 2005a) and Athlete Success Inventory that had been proved as good content and construction validities and reliabilities. The data was analyzed by 1). Basic statistics including mean, standard deviation, percentage and the Bartlett’s Test of Sphericity and Kaiser-Meyer-Olkin (KMO) for appropriate data analysis. 2). Exploratory and 2nd Confirmatory factor analysis for constructional validity measurement. 3). Multi-Group Analysis for the measurement of invariance of male and female athletes’ mental toughness and relation of the success in sport and fit Indices-X2, CFI, TLI, RMSEA, path coefficient, df, df diff and X diff for appropriate and coherent data analysis, and 4). T-score and percentile for inspecting Thai male and female athletes’ norms mental toughness ability. The research results found that: 1). The MTI shown it concurrent criterion-related validity and could predict the athletes’ mental toughness for Thai athletes by the model fit to the data well (X2 = 561.22 (df = 78, p = .00) RMSEA = .056, CFI = .99, TLI = .99) and the standard coefficient of sport players’ mental toughness affecting a success was at .77, 2). The MTI had a construct validity of for Thai athletes which also showed the well model fit indices (X2 = 4,347.60, df = 548, p = .00 CFI = .98, TLI = .98, RMSEA = .069 and RMSEA = .069, 3) The structural relationships of athletes’ mental toughness between males and females was invariance (X2 = 561.22, df = 78, p > .05 CFI = .99 TLI = .99 TLI - .99 and RMSEA = .056, and 4) Norm scores of the Thai athletes’ mental toughness for both male and female was found in both of the whole and separated group of athlete’s gender, and the factors of mental toughness. In conclusion, the MTI was effective. In terms of reliability, construct validity, concurrent validity could predict and measure the success and the mental toughness of both male and female athletes which was very important to develop Thai athletes’ mental ability to a success in the future.

Downloads