ศึกษาผลของการออกกำลังกายด้วยโยคะต่อการทรงตัว ช่วงการเคลื่อนไหวของรยางค์ส่วนล่าง และประสิทธิภาพการทำงานของกล้ามเนื้อมัดใหญ่ในเด็กสมองพิการ: การศึกษานำร่อง
The effect of yoga on balance, range of motion and gross motor function in children with cerebral palsy: A pilot study
Keywords:
โยคะ, ภาวะสมองพิการ, การทรงตัว, ช่วงการเคลื่อนไหว, การทำงานของกล้ามเนื้อมัดใหญ่, Yoga, Cerebral palsy, Balance, Range of motion, Gross motor functionAbstract
บริบท โยคะเป็นทางเลือกหนึ่งในการรักษาเพื่อฟื้นฟูเด็กสมองพิการที่มีความบกพร่องในการเคลื่อนไหว เพิ่มประสิทธิภาพการทรงตัว เพิ่มช่วงการเคลื่อนไหว เพิ่มความยืดหยุ่นของกล้ามเนื้อ เพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของกล้ามเนื้อมัดใหญ่ และช่วยส่งเสริมการเคลื่อนไหวที่ดีขึ้น วัตถุประสงค์ ศึกษาประสิทธิภาพของการออกกำลังกายด้วยโยคะในเด็กสมองพิการที่มีระดับความ สามารถด้านการเคลื่อนไหว ระดับ I และ II ต่อการทรงตัว ช่วงการเคลื่อนไหวและประสิทธิภาพการทำงานของกล้ามเนื้อมัดใหญ่ วิธีการศึกษา เด็กสมองพิการ จำนวน 4 คน อายุระหว่าง 4-12 ปี ระดับความสามารถด้านการเคลื่อนไหวระดับ I และ II ได้รับการออกกำลังกายด้วยโยคะ สัปดาห์ละ 1 ครั้ง เป็นระยะเวลา 6 สัปดาห์ เปรียบเทียบผลของการทรงตัว ช่วงการเคลื่อนไหว และประสิทธิภาพการทำงานของกล้ามเนื้อมัดใหญ่ ก่อนและหลังการออกกำลังกายด้วยโยคะ โดยใช้สถิติ dependent t-test ในการวิเคราะห์ข้อมูล ผลการศึกษา พบว่าหลังการออกกำลังกายด้วยโยคะ การทรงตัวมีการเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p = 0.038) เมื่อเทียบกับก่อนออกกำลังกาย สำหรับช่วงการเคลื่อนไหว และประสิทธิภาพการทำงานของกล้ามเนื้อมัดใหญ่ พบว่า ไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ สรุป การออกกำลังกายด้วยโยคะ ช่วยเพิ่มความสามารถด้านการทรงตัวในเด็กสมองพิการได้ Introduction: Yoga is an alternative treatment used to rehabilitate children with impaired mobility due to cerebral palsy (CP). Yoga effectively improves movement in cerebral palsy patients in terms of balance, range of motion (ROM), flexibility and gross motor function. Objectives: To evaluate the effect of yoga training in children with CP (with GMFCS levels I and II), on balance, range of motion and gross motor function. Methods: Four CP patients with athetosis, aged between 4 and 12 years, participated in a once a week, 6-week yoga training program. The subjects were evaluated before and after the intervention with the pediatric balance scale, whereby range of motion, standing and walking and the running and jumping dimensions of gross motor function were measured. The statistics used a dependent t-test. Results: Balance was found to have significantly improved in the patients (p = 0.038), as compared with pre-training. However, the range of motion and gross motor function were not statistically significant. Conclusions: The yoga training program effectively improved balance in children with cerebral palsy.References
พรรณี ปึงสุวรรณ. กายภาพบำบัดในเด็กสมอง พิการ. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2556.
นิชรา เรืองดารกานนท์. ตำราพัฒนาการและพฤติกรรมเด็ก. กรุงเทพฯ: โฮลิ สติก พับลิชชิ่ง; 2551.
Pegrum J. Yoga fun. London: Cisco; 2010.
Bugajski S, Christian A, O’Shea RK, Vendrely AM. Exploring Yoga’s Effects on Impairments and Functional Limitations for a Nine-Year-Old Female with Cerebral Palsy: A Case Report. J Yoga Phys Ther. 2013; 3: 140.
ชนันท์วัลย์ วุฒิธนโภคิน, ปาริชาติ อันองอาจ, ภาวิณี บำเพ็ญ, ฐิติกร จันทาทร, ชลิตา หลิมวานิช, วุฒิพงษ์ แก้วมณี. ผลการรักษาด้วยเทคนิค Prolonged passive stretching ตามด้วยเทคนิค Repeated Contractions ต่อการใช้พลังงานในการเดินในเด็กสมองพิการประเภท Spastic diplegia ที่มีรูปแบบการเดิน Crouch gait ร่วมกับ Apparent equinus. วารสารมหาวิทยาลัยคริสเตียน. 2562; 25: 1-14.
ชนันท์วัลย์ วุฒิธนโภคิน และนงนุช ล่วงพ้น. การจัดการทางกายภาพบำบัดในภาวะกล้ามเนื้อเกร็ง. วารสารมหาวิทยาลัยคริสเตียน. 2564; 27: 120-31.
Kaur M, Bhat A. Creative Yoga Intervention Improves Motor and Imitation Skills of Children with Autism Spectrum Disorder. Phys Ther. 2019; 99: 1520-34.
Eek MN, Beckung E. Walking ability is related to muscle strength in children with cerebral palsy. Gait Posture. 2008; 28: 366-71.
ปัทมาวดี พาราศิลป์, วัณทนา ศิริธราธิวัตร, จิตลดา ประเสริฐนู, พรรณี ปึงสุวรรณ. ประสิทธิผลของการผสมผสานการฝึกออกกำลังกายแบบความทนทานและแข็งแรง ต่อการทำหน้าที่เคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อมัดใหญ่และขึ้น-ลงบันไดในเด็กสมองพิการ. วารสารเทคนิคการแพทย์และกายภาพบำบัด. 2554; 23: 304-15.
Calhoun Y, Calhoun MR. Create a yoga practice for kids. Mexico: Sunstone Press; 2006.