ประสิทธิผลของอุปกรณ์วงล้อบริหารข้อไหล่ร่วมกับรอกคู่เหนือศีรษะในผู้ป่วยข้อไหล่ติด : การศึกษานำร่อง

Effectiveness of a shoulder wheel when combined with an overhead pulley for Frozen shoulder condition: a Pilot Study

Authors

  • ชนันท์วัลย์ วุฒิธนโภคิน
  • นงนุช ล่วงพ้น
  • ธัญญรัตน์ ศิริสวัสดิ์
  • อาภาพร มุระญาติ
  • บัวสด จิตเพ็ง
  • วราธเนศ หน่อแก้ว

Keywords:

ข้อไหล่ติด, วงล้อบริหารข้อไหล่, รอกคู่เหนือศีรษะ, Frozen shoulder, Shoulder wheel, Overhead pulley

Abstract

บริบท ภาวะข้อไหล่ติดแข็ง เกิดจากมีการอักเสบและหนาตัวของเยื่อหุ้มข้อ ส่งผลทำให้เกิดการอักเสบ ปวด และองศาการเคลื่อนไหวของข้อไหล่ลดลง วัตถุประสงค์ ศึกษาประสิทธิผลของอุปกรณ์วงล้อบริหารข้อไหล่ร่วมกับรอกคู่เหนือศีรษะ วิธีการศึกษา อาสาสมัคร ที่มีปัญหาข้อไหล่ติด จำนวน 2 คน ถูกแบ่งออกเป็นอาสาสมัคร คนที่ 1 ได้รับบริหารข้อไหล่ด้วยอุปกรณ์วงล้อบริหารข้อไหล่ร่วมกับรอกคู่เหนือศีรษะที่ประดิษฐ์ขึ้นใหม่ และอาสาสมัคร คนที่ 2 ได้รับบริหารข้อไหล่ด้วยอุปกรณ์วงล้อบริหารข้อไหล่ร่วมกับรอกคู่เหนือศีรษะที่มีอยู่ในแผนกกายภาพบำบัด อาสาสมัครทั้ง 2 คน ได้รับบริหารข้อไหล่ 30 นาทีต่อครั้ง แบ่งเป็นวงล้อบริหารข้อไหล่ 15 นาที ตามด้วยรอกคู่เหนือศีรษะ 15 นาที ความถี่ 3 ครั้งต่อสัปดาห์ รวมระยะเวลาทั้งหมด 5 สัปดาห์ ตัวแปรที่ศึกษาได้แก่ องศาการเคลื่อนไหวของข้อไหล่ และความยืดหยุ่นกล้ามเนื้อรอบข้อไหล่ โดยนำตัวแปรต่างๆ มาเปรียบเทียบในแต่ละกลุ่มระหว่างก่อนกับหลังบริหารข้อไหล่ และเปรียบเทียบระหว่างอาสาสมัครคนที่ 1 และอาสาสมัครคนที่ 2 ผลการศึกษา หลังบริหารข้อไหล่ องศาการเคลื่อนไหวของข้อไหล่ในท่ายกแขน กางแขน และหมุนข้อไหล่ออกด้านนอก มีการเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติในทั้งอาสาสมัครคนที่ 1 และอาสาสมัครคนที่ 2 และเมื่อเปรียบเทียบผลหลังการบริหารข้อไหล่ระหว่าง อาสาสมัครคนที่ 1 กับอาสาสมัครคนที่ 2 พบว่าอาสาสมัครคนที่ 1 มีมุมองศาการเคลื่อนไหวในท่ายกแขน กางแขน และความยืดหยุ่นของกล้ามเนื้อเพิ่มขึ้นมากกว่าอาสาสมัครคนที่ 2 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p = 0.00, p = 0.00 และ p = 0.00 ตามลำดับ) สรุป อุปกรณ์วงล้อบริหารข้อไหล่ร่วมกับรอกคู่เหนือศีรษะที่ประดิษฐ์ขึ้นใหม่ สามารถใช้ทดแทนวงล้อบริหารข้อไหล่และรอกคู่เหนือศีรษะที่มีอยู่ในแผนกกายภาพบำบัดได้ ประดิษฐ์ง่าย สามารถใช้วัสดุที่มีในชุมชนประดิษฐ์ได้ ช่วยลดค่าใช้จ่ายในการเดินทางมารักษา ช่วยส่งเสริมสุขภาพ ลดปัญหาข้อไหล่ติดเรื้อรัง และช่วยเพิ่มคุณภาพชีวิตให้กับผู้ที่มีปัญหาข้อไหล่ติด  Context: Frozen shoulderis a condition caused by the inflammation and thickening of the joint membrane. This results in inflammation, pain and a decrease in the range of motion of the shoulder joint. Objectives: To study the effectiveness of a shoulder wheel when combined with an overhead pulley. Materials and Methods: Two participants with frozen shoulders were randomly divided into participant 1 and participant 2. Participant 1 exercised with a shoulder wheel combined with an overhead pulley, and participant 2 exercised with a shoulder wheel and independent overhead pulley within our physical therapy department. Both participants were scheduled as follows: 30 minutes per trial, 3 times per week for 5 weeks (a trial had 2 sessions: exercise with a shoulder wheel for 15 minutes, followed by overhead pulley exercises for 15 minutes). All variables, e.g., the range of motion and flexibility of the shoulder joint, were compared for each participant before and after their exercises. Variables were also compared between participant 1 and participant 2. Results: After exercise results in both participants were statistically significant – an increased range of motion of the shoulder flexions, abduction and external rotation. When all variables were compared after exercise by both participants, it was found that participant 1 had a significantly higher range of motion of the shoulder flexions, abduction and flexibility than participant 2 (p = 0.00, p = 0.00 and p = 0.00, respectively) Conclusions: Shoulder exercise with a shoulder wheel combined with an overhead pulley can substitute the shoulder wheel and overhead pulley at the physical therapy department.  It is easy to craft from simple materials, and reduces the cost of traveling for treatment. This model can reduce chronic shoulder problems and improves the quality of life for people with frozen shoulder.

References

ก่อกู้ เชียงทอง, ปรีชา ชลิดาพงศ์. การตรวจร่างกาย ทางออร์โธปิดิคส์. พิมพ์ครั้งที่ 2. เชียงใหม่: พี.บี. ฟอเรนบุ๊คส์ เซ็นเตอร์; 2536.

กานดา ใจภักดี. วิทยาศาสตร์การเคลื่อนไหว. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพมหานคร: ดวงกมล; 2540.

มัณฑนา วงศ์ศิรินวรัตน์. Management of Shoulder Conditions. สงขลา: ม.ป.ท.; 2554.

มัณฑนา วงศ์ศิรินวรัตน์, วิทยา เมธิยาคม. กายภาพบําบัดในภาวะข้อไหล่: การจัดการโดยอิงหลักฐาน. กรุงเทพมหานคร: ม.ป.ท.; 2562.

Calis HT, Berberoglu N, Calis M. Are Ultrasound, Laser and exercise superior to each other in the treatment of subacromial impingement syndrome? A randomized clinical trial. Physical and Rehabilitation Medicine. Eur J Phys Rehabil Med. 2011; 47: 375-80.

Kivimaki J, Pohiolainen T, Malmivaara A, Kannisto M, Guillaume J, Seitsalo S, et al. Manipulation under anesthesia with home exercise versus home exercise alone in the treatment of frozen shoulder: A randomized, controlled trial with 125 patients. J Shoulder Elbow Surg. 2007; 16: 722-6.

Ludewig PM, Borstad JD. Effects of a home exercise program on shoulder pain and functional status in Construction workers. Occup Environ Med. 2002; 60: 841-9.

Kelley MJ, Mcclure PW, Leggin BG. Frozen Shoulder: Evidence and a Proposed Model Guiding Rehabilitation. J Orthop Sports Phys Ther. 2009; 39: 135-48.

ณัชกานต์ อินต๊ะรินทร์, สาโรจน์ ประพรมมา. ประสิทธิผลการรักษาทางกายภาพบำบัดร่วมกับการออกกำลังกาย โดยใช้ Shoulder Wheel ในผู้ป่วยที่มีภาวะไหล่ติด. วารสารวิทยาศาสตร์สุขภาพและการสาธารณสุขชุมชน. 2561; 1: 1-14.

บัวรอง ลิ่วเฉลิมวงศ์, บรรณาธิการ. สรีรวิทยา. กรุงเทพมหานคร: เท็กซ์ แอนด์ เจอร์นัล พับลิเคชั่น; 2557.

พรนิตย์ วรรธนพิสิฐกุล. การยืดกล้ามเนื้อ. ใน: วิภาวรรณ ลีลาสำราญ, วุฒิชัย เพิ่มศิริวาณิชย์, บรรณาธิการ. การออกกำลังกายเพื่อสุขภาพและในโรคต่าง ๆ. สงขลา: ชาญเมืองการพิมพ์; 2547. หน้า. 47-67.

พรรัชนี วีระพงศ์. หลักพื้นฐานการออกกำลังกายเพื่อการบำบัด. สมุทรปราการ: แผนกเอกสารและการพิมพ์ ศูนย์เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ; 2554.

Celik D. Comparison of the outcomes of two different exercise programs on frozen shoulder. Acta Orthop Traumatol Turc. 2010; 44: 285-92.

Kisner C. Colby LA, Borstad J. Therapeutic Exercise: Foundations and Techniques. 7thed. Pennsylvania, United States; F.A. Davis; 2017.

สุภาพร วรรณมณี, อรวรรณ ประศาสน์วุฒ. ประสิทธิผลของการออกกำลังกายเสริมความมั่นคงของข้อไหล่ในผู้ป่วยถุงหุ้มข้อไหล่ยึดติด. วารสารกายภาพบำบัด. 2562; 41: 112-28.

รุ้งทิพย์ พันธุเมธากุล, สุภาภรณ์ ผดุงกิจ, สาวิตรี วันเพ็ญ, จตุรัตน์ กันต์พิทยา, ธงชัย ประฏิภาณวัตร, มณเฑียร พันธุเมธากุล. ผลระยะสั้นของการออกกำลังกายแบบชักรอกต่อภาวะข้อไหล่ติดในผู้ป่วยเบาหวาน. วารสารกายภาพบำบัด. 2554; 33: 126-34.

Downloads

Published

2022-10-26