ประสิทธิผลของยาพอกสมุนไพรต่ออาการเจ็บปวดนิ้วหัวแม่มือของหมอนวดไทย คลินิกแพทย์แผนไทยสุโขทัยธรรมาธิราช อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี
The effectiveness of herbal poultices in reducing the pain in the tendons, wrists and fingers of Thai masseuses at the Sukhothai Thammathirat Thai Traditional Medical clinic in the Pak Kret district of Nonthaburi province
Keywords:
ปวดนิ้วมือ, ยาพอกสมุนไพร , Finger pain, Herbal poulticeAbstract
บริบท การพอกยาสมุนไพร เป็นวิธีหนึ่งในหัตถการตามศาสตร์การแพทย์แผนไทย เพื่อบรรเทาอาการปวด กล้ามเนื้อและข้อต่าง ๆ วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาประสิทธิผลของยาพอกสมุนไพรต่ออาการเจ็บปวดนิ้วหัวแม่มือของหมอนวดไทย ในคลินิกแพทย์แผนไทยสุโขทัยธรรมาธิราช อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี วิธีการศึกษา ศึกษาในหมอนวดไทย คลินิกแพทย์แผนไทยสุโขทัยธรรมาธิราช ที่มีอาการเจ็บปวดนิ้วหัวแม่มือ จำนวน 32 คน ได้รับการพอกยาสมุนไพรบริเวณนิ้วหัวแม่มือที่ปวด พอกช่วงเวลาเช้า ครั้งละ 15 กรัม พอกไว้เป็นเวลา 15 นาที วันเว้นวัน จำนวน 3 ครั้ง ภายใน 1 สัปดาห์ประเมินความรุนแรงของอาการและความสามารถในการใช้มือและแบบประเมินอาการเจ็บปวดที่นิ้วหัวแม่มือ ก่อนและหลังการพอกยาสมุนไพร โดยใช้สถิติ Paired t – test ผลการศึกษา พบว่า หลังการพอกยาสมุนไพร ระดับความรุนแรงของอาการ (mean±S.D. = 0.83±0.54) ความยากลำบากในการใช้มือทำกิจกรรมต่าง ๆ (mean±S.D. = 1.19±1.61) และความเจ็บปวดที่นิ้วหัวแม่มือ (mean±S.D. = 2.69±1.45) ลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ p < 0.001 สรุป การพอกสมุนไพร ช่วยบรรเทาอาการเจ็บปวดนิ้วหัวแม่มือของหมอนวดไทยได้ Context: An herbal poultice is the application of herbal medicines to treat an affected area. Objective: To study the effect of herbal poultices to reduce thumb pain of Thai masseuses. Materials and Methods: This research design was quasi-experimental. 32 Thai masseuse volunteers with pain in their thumbs offered samples. The herbal poultice was applied every other day, 3 times a week. Samples were collected along with the volunteer’s data through interviews. The Thai version of the Boston questionnaire (by Sittipong Upatham and Wiphu Kamnuddee from 2008) was used to assess the severity of symptoms and hand ability, as well as a thumb pain assessment scale (Visual Rating Scales: VRS). The research was conducted through the human research ethics committee of Suan Sunandha Rajabhat University, in accordance with ethical considerations. Results: The results indicated that the severity of the symptoms, difficulty in using hands to do activities and pain in the thumb was reduced with statistical significance, p < 0.001. Conclusions: The results of this research can be used and expanded on as a practical guideline for the treatment of pain in the musculoskeletal system, tendons, wrists and fingers as well.References
ณัฏฐพร ประดิษพจน์, สันทณี เครือขอน, กาญจนา ควรพึ่ง, นรัฐ ปัญญาศักดิ์ และสุชาติ ทองอาจ. ความชุกและปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดการบาดเจ็บ ทางระบบกระดูกและกล้ามเนื้อที่เกี่ยวข้องกับการทำงานของพนักงานขายผลไม้ จังหวัดปทุมธานี. ธรรมศาสตร์เวชสาร. 2560; 17: 60-9.
คุณาวุฒิ วรรณจักร และพิมลพรรณ ทวีการ วรรณจักร. อาการปวดต้นคอจากการใช้สมาร์ทโฟน. บูรพาเวชสาร. 2564; 8: 112-8.
สุรเกียรติ อาชานุภาพ. ตำราการตรวจรักษาโรคทั่วไป 2 350 โรคกับการดูแลรักษาและการป้องกัน ฉบับปรับปรุง. กรุงเทพฯ: บริษัทโฮลิสติก พับลิชชิ่ง จำกัด; 2551.
กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือกกระทรวงสาธารณสุข. การดูแลสุขภาพตามวัยด้วยการแพทย์แผนไทยสำหรับประชาชน. พิมพ์ครั้งที่ 1. นนทบุรี: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์ การเกษตรแห่งประเทศไทย; 2559.
กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก. แบบรายงานข้อมูลบุคลากรด้านการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือกปีงบประมาณ 2562. [อินเทอร์เนต]. P.2562 [เข้าถึงเมื่อวันที่ 10 มีนาคม 2564]. เข้าถึงได้จาก https://bps.moph.go.th/new_bps/sites/default/files/ HR_report2562.pdf
ธีระ ผิวเงิน และขนิษฐา ทุมา. 2563 การ เปรียบเทียบผลของการใช้ลูกประคบไพลและ ลูกประคบเถาวัลย์ เปรียงต่ออาการปวดในผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อม. วารสารการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก. 2563; 18: 76-84.
สิทธิพงษ์ อุปถัมภ์ และวิภู กําเหนิดดี. ความน่าเชื่อถือของแบบสอบถามบอสตัน ฉบับภาษาไทย [อินเทอร์เนต]. 2551 [เข้าถึงเมื่อวันที่ 10 มิถุนายน 2564]. เข้าถึงได้จาก https://www.thaiscience.info/Journals/Article/ JMAT/104 02614.pdf
ไข่มุก นิลเพ็ชร์, วีระชาติ อำนาจวรรณพร, สโรชา พฤกษวัน และพุทศรี จุลจรูญ. ประสิทธิผลของ สมุนไพรพอกเข่าต่อระดับความปวดเข่าในผู้สูงอายุ ข้อเข่าเสื่อม โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล บ้านฟ้าห่วน ตำบลไร่ขี อำเภอลืออำนาจ จังหวัด อำนาจเจริญ [อินเทอร์เนต]. 2562 [เข้าถึงเมื่อวันที่ 18 มิถุนายน 2564]. เข้าถึงได้จาก http://www.amno.moph.go.th/amno_new/files/3p15. Pdf
กนกอร บุญพิทักษ์. นิ้วล็อกกับโรคของกระดูกและเอ็น. กรุงเทพฯ: บริษัทฐานบัณฑิตจำกัด; 2555.
ปิยะพล พูลสุข, สุชาดา ทรงผาสุข, เมริษา จันทา, เนตรยา นิ่มพิทักษ์พงศ์ และกิตรวี จิรรัตน์สถิต. ประสิทธิผลของการพอกยาสมุนไพรเพื่อ บรรเทาอาการปวดเข่าในผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อม. ธรรมศาสตร์เวชสาร. 2561; 18: 104-11.
สุพัตราพร คุ้มทรัพย์, ยงยุทธ วัชรดุล และ ศุภะลักษณ์ ฟักคำ. การศึกษาผลของการพอกยา สมุนไพรต่อการรักษาอาการปวดในโรคข้อเข่าเสื่อมของผู้สูงอายุ ในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลวังหว้า อำเภอศรีประจันต์ จังหวัดสุพรรณบุรี. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยการจัดการและเทคโนโลยีอีสเทิร์น. 2563; 17: 275-84.
ปรารถนา เกตุนุต. การนวดราชสำนักร่วมกับน้ำมันนวดขิงเพื่อบรรเทาอาการปวดกล้ามเนื้อ เรื้อรังนนทบุรี: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัย สุโขทัยธรรมาธิราช; 2561.
เกียรติสุดา เชื้อสุพรรณ, วิชัย โชควิวัฒน, ศุภะลักษณ์ ฟักคำ และธวัชชัย กมลธรรม. ประสิทธิผลของการพอกยาสมุนไพรต่ออาการปวดเข่าในผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อม โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านภูมิ อำเภอดอนตูม จังหวัดนครปฐม. วารสารวิชาการสาธารณสุขชุมชน. 2563; 6: 155-67.