รูปทรงสันนิษฐานจากซากโบราณสถานเพื่อสร้างศิลปกรรมแนวทางใหม่ : วัดสองพี่น้อง จังหวัดชัยนาท

Authors

  • สันติ เล็กสุขุม

Keywords:

วัดสองพี่น้อง, ชัยนาท, โบราณคดีกับศิลปกรรม, ศิลปกรรม, โบราณสถาน, วิหาร, โบสถ์

Abstract

กล่าวนำ          ส่วนใหญ่ง่านช่างโบราณที่ย้อนอดีตไปราวหนึ่งศตวรรษ ขาดข้อมูลแวดล้อมทางประวัติศาสตร์โบราณคดี อันเป็นหลักสำคัญสำหรับการค้นคว้าเพิ่มเติมความเข้าใจ ครั้นผ่านอดีตไปถึงสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนต้น ในปลายพุทธศตวรรธที่ 20 คือราวหกร้อยปีก่อนปัจจุบัน จึงไม่ต้องกล่าวถึงความครบถ้วนของหลักฐานทั้งด้านงานช่าง และด้านเอกสารโบราณคดี เช่นวัดร้างที่ชาวบ้านเรียกชื่อ วัดสองพี่น้อง จังหวัดชัยนาท มีงานช่างสำคัญที่หลงเหลือคือซากเจดีย์ประธานทรงปรางค์อันมีลวดลายปูนปั้นระดับแบบสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนต้นเช่นกันและที่สำคัญจากภาพถ่ายเก่า พบว่าเคยมีพระพุทธรูปพระทับยืนแบบศิลปะสุโขทัย และแบบศิลปะอู่ทอง ประดิษฐานในจรนาซุ้มของเจดีย์ประธานทรงปรางค์ ซึ่งเป็นความนิยมในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนต้นด้วย หลักฐานสำคัญดังกล่าวคือ ที่มาของการสันนิษฐานรูปทรงที่ขาดหายของเจดีย์ประธานองค์นี้ โดยเกี่ยวเนื่องกับสิ่งก่อสร้างอื่นภายในบริเวณวัดร้างแห่งนี้ด้วย ซึ่งล้วนเหลือเพียงซากฐานอิฐจาการขุดแต่งของกรมศิลปากร งานวิจัยนี้ได้อาศัยเค้าเงื่อนศึกษาโดยเปรียบเทียบข้อมูลจากแหล่งโบราณสถานในแหล่งต่างๆที่เกี่ยวข้องกัน เพื่อวิเคราะห์วิจัยให้ชัดเจนเป็นประโยชน์ต่องานออกแบบรูปทรงสันนิษฐาน และจะใช้เป็นหลักฐานเพื่อสร้างศิลปกรรมแนวใหม่อันเป็นขั้นตอนสุดท้ายของงานวิจัยครั้งนี้  INTRODUCTION          Most of ancient handicrafts tracing back to the last century still lack contextual information of history and archaeology which is considered a significant basis for further research and understanding. When considering the time back to the early Ayutthaya period in the late twentieth Buddhist century or about six hundred years before, these is no need to mention about the completion of the evidence regarding the handicraft and the archaeological documents such as an abandoned temple locally called Wat Song-Phee-Nongm in Chainat province. In this temple, there is a significant price of handicraft, a ruin principle prang-styled stupa decorated with stucco designs in early Ayutthaya period. More importantly, seen from some old photographs, the stupa used to enshrine a standing Buddha image in Sukhothai style and the other one in U-thong style at its alcoves which was fashionable in early Ayutthaya period. This important evidence is the source for the assumption regarding the forms and the shapes of the disappearing parts of the stupa. This connects with other buildings in the temple which were also left only with their ruined parts restored by the Fine Arts Department. This research used studying evidence to compare the data from different relevant archaeological sites. Besides, it aims at conducting clearer analysis and research in order to yield great benefits for the work on forms and shapes, as well as to use its findings as a basis for creating new approaches of fine arts which will be the final part of this research.

Downloads