การเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมข้าวของชาวนาบริเวณลุ่มแม่น้ำสาขาที่ราบแม่น้ำบางปะกง

Authors

  • ศุภัทรา อำนวยสวัสดิ์

Keywords:

ข้าว, ข้าว - - คติชาวบ้าน, ข้าว - - พิธีกรรม, ชาวนา - - การดำเนินชีวิต

Abstract

การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา การเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมข้าวของชาวนาบริเวณลุ่มน้ำสาขาที่ราบแม่น้ำบางประกง โดยเลือกศึกษา 2 ชุมชน คือ ชุมชนสีเขียว กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้เป็นกลุ่มชาวนา 3 กลุ่ม ได้แก่ 1) ชาวนาที่มีที่ดินเป็นของตนเอง 2) ชาวนาที่มีดินเป็นของตนเองและเช่า และ 3) ชาวนาเช่าที่ดิน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยแบบสัมภาษณ์แบบเจาะลึกกับผู้ให้ข้อมูลที่สำคัญ จำนวน 25 คน คำถามมีหลักเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมข้าวที่มีมาแต่สมัยดั้งเดิมและการเปลี่ยนแปลงเข้าสู่สมัยใหม่ โดยศึกษาการเปลี่ยนจากลักษณะทางสัมคม วัฒนธรรม เศรษฐกิจ และองค์ประกอบแวคล้อมที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงที่ส่งผลต่อการดำเนินชีวิตของชาวนาที่ทำให้เกิดผลทางบวกและทางลบ ผลของการวิจัยปรากฏว่า การเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมข้าวของชาวนา ที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง จากสมัยดั้งเดิม คือก่อนปี พ.ศ. 2525 มาเป็นการเปลี่ยนแปลงแบบสัมยใหม่ ตั้งแต่ พ.ศ. 2525-ปัจจุบัน ส่งผลต่อการดำเนินชีวิตของชาวนาและส่งผลกระทบทั้งในทางบวกและทางลบอันประกอบไปด้วยลักษณะทางด้าน สังคม วัฒนธรรม ระบบเศรษฐกิจ และองค์ประกอบแวดล้อมทางด้านเทคโนโลยี ความทันสมัย การคมนาคม และระบบข้อมูลข่าวสาร จากสมัยดั้งเดิมของทั้งสองชุมชนที่มีวิถีการดำเนินชีวิตอย่างเรียบง่าย การติดต่อระหว่างชุมชนยังคงไม่มีความสะดวก มีการผลิตข้าวเพื่อบริโภคเป็นหลักอาศัยพันธุ์ข้าวพื้นเมือง และสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติเป็นตัวกำหนด เครื่องมือการผลิตไม่ทันสมัยใช้แรงงานจากคน และสัตว์ช่วยในการผลิต มีการช่วยเหลือแรงงานระหว่างเครือญาติ ขั้นตอนการผลิตอาศัยพิธีกรรม ความเชื่อ ประเพณี ค่านิยมโดยได้รับการถ่ายทอดจากบรรพบุรุษ และการรับรู้จากในชุมชน และเมื่อการเปลี่ยนแปลงเข้าสู่สมัยใหม่ ผู้วิจัยพบว่า มีการเปลี่ยนเป็นครอบครัวเดี่ยว ความสัมพันธ์ทางสังคมมีลักษณะซับซ้อน การติดต่อระหว่างกันในชุมชน และนอกชุมชนด้วยรถยนต์แทนการเดิน โดยเรือมีความสะดวกรวดเร็ว การผลิตเน้นการจำหน่าย และหาซื้อปัจจัยการผลิตจากพ่อค้า หรือคำแนะนำทั้งภายใน และภายนอกชุมชน การผลิตข้าวสมัยใหม่ขาดแรงงานการผลิตทำให้ชาวนาต้องจ้างแรงงานผลิตไม่มีการลงแขกช่วยเหลือ และเมื่อมีการนำเครื่องมือการผลิตที่อาศัยเทคโนโลยี ความทันสมัยเข้ามาใช้อาทิ เครื่องไถนา ยาฆ่าแมลง สารเคมีทำให้ได้ผลผลิตอย่างรวดเร็วส่งผลให้ชาวนายอมรับในการเปลี่ยนแปลงอย่างรู้ตัวและไม่รู้ตัวแต่ชาวนาได้เปลี่ยนพฤติกรรมในการดำเนินชีวิตไม่อาศัยพิธีกรรมความเชื่อ ประเพณี ค่านิยมในการผลิต ชาวนาเปลี่ยนวิธีการผลิตพึ่งพิงการจ้างทำนาเกือบทุกขั้นตอน บางรายการทำนาเหลือแต่รักษาแปลงนาไม่ให้มีหญ้าหรือเพลี้ย สัตว์มากินผลผลิต ชาวนารุ่นใหม่เปลี่ยนค่านิยมในการทำนาเข้าสู่โรงงานอุตสาหกรรม รับจ้าง รับเหมาก่อสร้าง หรือเปลี่ยนอาชีพในการผลิตข้าวไปเพราะพันธุ์กุ้ง เลี้ยงปลา ผลที่ได้รับจากการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมข้าวส่งผลทั้งในทางบวกและทางลบ ผลทางบวกชาวนามีความสะดวกได้ผลผลิตอย่างรวดเร็วยิ่งขึ้น การเปลี่ยนแปลงเครื่องมือการผลิตทำให้ชาวนามีโอกาสเข้าสู่ตลาดทางการค้าที่กว้างขวางมากกว่าในชุมชนหรือท้องถิ่น ส่งผลทางลบทำให้เกิดสารเคมีตกค้าง ดินเสื่อม ภาวะหนี้สิน การหลงใหลหรือชื่นชมวัฒนธรรมทำให้ชาวนาถูกบีบบคั้นด้วยการทำงานอย่างหนักมีการเปลี่ยนพฤติกรรมในทางสังคมมีการจ้างแรงงานมากกว่าการแลกเปลี่ยนแรงงาน ให้ความสำคัญในเรื่องทุน หรือเงินเป็นส่วนใหญ่ใครที่มีทุนมากถือว่าเป็นผู้ควบคุมปัจจัยการผลิต The objective of this research was to study the rice culture changed of the farmers in the tributary of Bangpakong River basin used two samples communities which were the green communities. Farmers in these communities were classified into 3 groups which were the farmers who had their own land for cultivation, farmers who both owned and rented the land and farmers who rented the land only. The data collected include indepth interview with 25 keys informants the changed evolving from traditional to modern period. The studied as a whole focuses on the  changed of social, cultural, and economic factors affected the farmers’ way of lives in both positive and negative aspects. The research results that the rice culture changed of farmer from the traditional (before 1982 B.E.) to modern period (1982-present) affected the farmers’  way of lives, in both positive and negative aspects, The changed factors both in positive and negative aspects were from the changed of culture, economy, technology, modernization, transportation, and information system. Traditionally, both communities, rice cultivation for their own consumptions within the communities, used of the local rice stalking, depended on nature, team working among their relatives, reliance on the ritual believes, tradition and values from their ancestors and traditional practiced for the stages of production. Once the communities were modernized, families became nuclear families. The research found that families became more single family, social relations became more complex, automobiles replaced paddled boats. Rice production was no longer for family consumption but for sale to made profit relying on hired labor instead of exchanged of labor from neighbors. Most of modernized farmers switched from rice farming to shrimp or fish farming because of better profit. The results from changing rice culture had both positive and negative aspects.The positive outcomes were the convenience, the speedy production of farm product resulting from used modern technologies, bigger and wider market.As regards the negative outcome, in their farmland had residues chemical, erosion soil, the famers got into debt, farmers lacked pride of their own traditional culture due to the dominance of the imported culture. This is the reason that forced the farmers to work harder and saw to the importance of money than any other things and the ones who own a lot of capital would control the means of production.

Downloads