การศึกษาและออกแบบผลิตภัณฑ์หัตถกรรมของที่ระลึกและบรรจุภัณฑ์สำหรับศูนย์การเรียนรู้ท้องถิ่น สมัยก่อนประวัติศาสตร์ แหล่งโบราณคดีบ้านโนนวัด

Authors

  • วิลาสินี ขำพรหมราช

Keywords:

การออกแบบผลิตภัณฑ์, หัตถกรรม, ของที่ระลึก - - การออกแบบ, บรรจุภัณฑ์ - - การออกแบบ

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. เพื่อศึกษาและรวบรวมข้อมูลแหล่งโบราณคดีบ้านโนนวัด 2. เพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชนบ้านโนนวัด ในการแสดงความคิดเห็นเพื่อพัฒนา องค์ความรู้ชุมชน 3. เพื่อออกแบบผลิตภัณฑ์หัตถกรรมของที่ระลึก และบรรจุภัณฑ์สำหรับศูนย์ การเรียนรู้ท้องถิ่นสมัยก่อนประวัติศาสตร์ แหล่งโบราณคดีบ้านโนนวัด กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ กลุ่มของนักวิชาการที่มีความรู้เกี่ยวกับแหล่งโบราณคดีบ้านโนนวัด จำนวน 3 ท่าน กลุ่มของเจ้าหน้าที่องค์การบริหารส่วนตำบล ตำบลพลสงคราม จำนวน 3 ท่าน กลุ่มของปราชญ์ชาวบ้าน จำนวน 3 ท่าน กลุ่มของนักเรียน นักศึกษา จำนวน 220 คน กลุ่มของนักท่องเที่ยว จำนวน 100 คน เครื่องมือที่ใช้การวิจัยเป็นแบบสัมภาษณ์ การสนทนากลุ่มแบบสอบถามด้านการออกแบบ แบบประเมินความพึงพอใจของกลุ่มผู้เชี่ยวชาญ ปละผู้สนใจผลิตภัณฑ์ และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยและ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน    ผลการวิจัยสรุปว่า กลุ่มผู้เชี่ยวชาญมีความพึงพอใจผลิตภัณฑ์หัตถกรรมของที่ระสึก และบรรจุภัณฑ์ที่ชาวบ้านมีส่วนร่วมแสดงความคิดเห็น ชนิดพวงกุญแจ อยู่ในระดับมากที่สุด (X̄= 4.51) และชนิด ชนิดที่ใส่ปากกา ดินสอ อยู่ในระดับมากที่สุด (X̄= 4.72) และชนิดกระเป๋า อยู่ในระดับมากที่สุด (X̄= 4.57) กลุ่มผู้สนใจผลิตภัณฑ์มีความพึงพอใจผลิตภัณฑ์หัตถกรรมของ ที่ละลึกและบรรจุภัณฑ์ที่ชาวบ้านมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็น เช่นพวงกุญแจ อยู่ในระดับมาก (X̄= 4.44) ชนิดที่ใส่ปากกา ดินสอ อยู่ในระดับมาก (X̄= 4.48) และชนิดกระเป๋า อยู่ในระดับ มาก (X̄= 4.47) ศูนย์การเรียนรู้ท้องถิ่นสมัยก่อนประวัติศาสตร์ / แหล่งโบราณคดีบ้านโนนวัด / การส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชนThe purposes of this research  were to 1) study and collect the information of Ban Non Wat archaeological site, 2) enhance the participation of Ban Non Wat Commuity for sharing opinions, 3) design the handicraft and souvenir products, as well as prehisioric community learning packages of Ban Non Wat archaeological site, 4)  and assess the satisfaction of experts and anyoneintersted in the handicraft and souvenir products, as well as prehistoric community learning of Ban Non Wat archaeological site. The sample groups that using the research were the academicians who are knowledgeable about The Archaeological Site of Ban Non Wat 3 academicians, the officers of Sub-District Administrative Phol Songkhram 3 Officers, 3 learned men, 220 students, 100 tourists the tools were used in the research were interview from, group discussion, the inquired forms of design, the evaluation of satisfaction of the expertise and the interested in products and analyzed the data by percentage, mean and standard deviation values  The research concluded that expertise group has satisfied the handicraft souvenirs and packing which the villagers participated some kind of comment of keychain in a most levels (X̄= 4.51) to pens and pencil case in a most levels (X̄= 4.72) and to bag in a most levels (X̄= 4.57). For the interested of products have satisfied the handicraft souvenirs and packaging which the villagers participated kind of comment of keychain in a much levels (X̄= 4.44) to the pen and pencil cases in a much levels (X̄= 4.48) and to bags in a mc. At a much levels (X̄= 4.47)

Downloads