การวิเคราะห์การสร้างงานนาฏศิลป์ไทยร่วมสมัย: กรณีศึกษา พิเชษฐ กลั่นชื่น

Authors

  • นพพล จำเริญทอง

Keywords:

พิเชษฐ กลั่นชื่น, นาฏศิลป์ไทย, การรำ - - ไทย

Abstract

งานวิจัยเรื่อง “การวิเคราะห์การสร้างงานนาฏศิลป์ไทยร่วมสมัย : กรณีศึกษาพิเชษฐกลั่นชื่น” เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์ในการศึกษา 2 ประการ ได้แก่ 1. ศึกษาแนวคิดและเจตคติที่มีต่อการสร้างสรรค์ผลงานนาฏศิลป์ไทยร่วมสมัยของนายพิเชษฐ กลั่นชื่น 2. ศึกษาหลักการสร้างสรรค์ผลงานนาฏศิลป์ไทยร่วมสมัยของนายพิเชษฐ กลั่นชื่น ทั้งนี้ได้กำหนดขอบเขตการศึกษาด้านข้อมูลจากการแสดงผลงานนาฏศิลป์ไทยร่วมสมัยของนายพิเชษฐ กลั่นชื่น 2 เรื่อง ได้แก่ “ฉุยฉาย” และ “I Am a Demon” การวิจัยครั้งนี้ใช้กรอบแนวคิดจากทฤษฎีนาฏศิลป์ไทยและนาฏศิลป์ร่วมสมัย                 ผลการศึกษาพบว่า ประสบการณ์การฝึกฝนนาฏศิลป์ไทยขนบจารีต ศิลปะการแสดงแบบตะวันตก และประสบการณ์การเสพงานของศิลปินระดับนานาชาติ มีอิทธิพลต่อการสร้างสรรค์นาฏศิลป์ไทยร่วมสมัยของนายพิเชษฐ กลั่นชื่น ทั้งในด้านแนวคิดและเจตคติ ผลงายของนายพิเชษฐ กลั่นชื่นเป็นการนำเสนอนาฏศิลป์ไทยแบบขนบจารีต ด้วยแนวคิดศิลปะการแสดงแบบตะวันตก สำหรับเจตคติที่มีผลต่อการสร้างสรรค์ เกิดจากเจตคติเรื่องนาฏศิลป์ไทยร่วมสมัย รวมทั้งคุณสมบัติของศิลปินนาฏศิลป์ไทยร่วมสมัย ที่ต้องมีพื้นฐานจากนาฏศิลป์ไทย สำหรับหลักการสร้างสรรค์ผลงานนาฏศิลป์ไทยร่วมสมัยนายพิเชษฐ กลั่นชื่น ให้ความสำคัญกับนาฏศิลป์ไทยขนบจารีตเป็นอย่างยิ่ง นายพิเชษฐ กลั่นชื่น เชื่อว่าความงามเชิงสุนทรียภาพแต่เพียงอย่างเดียวไม่สามารถดึงดูดความสนใจจากผู้ชมรุ่นใหม่ได้ จึงสร้างสรรค์รูปแบบนาฏศิลป์ไทยร่วมสมัยที่เน้นการสื่อสารความคิดแบบศิลปะการแสดงสากล โดยใช้รูปแบบการเล่าเรื่องตามลักษณะศิลปะการแสดงแบบตะวันตก ด้วยการสร้างความไม่คุ้นเคยให้กับสิ่งที่คุ้นเคย เพื่อกระตุ้นให้ผู้ชมเกิดการตั้งคำถามและกลับไปชมหรือศึกษานาฏศิลป์ไทยขนบจารีตอีกครั้ง This qualitative research aims 1) to study concept and attitude  towards Pichet Klunchuen’s creation of contemporary Thai dance and 2) to study Pichet Klunchuen’s creation principles of con contemporary Thai dance. This study is conducted based on theories of Thai dance and contemporary dance through 2 pieces of Pichet’s work including “ChuiChai” and “I Am a Demon”.             The findings show that experience in traditional thai dance, western style of performing art, and experience in in  interpreting works of world-class artistsplay important role in Pichet Klunchuen’s creation of contemporary Thai dance in terms of cincept and attitude. His works present tranditional Thai dance through western concept of performing art. Attitude of contemporary Thai dancer which must be skillful and relying mostly on the basic knowledge and skill if Thai dance. For the creation principle, Pichet Klunchuen emphasizes mostly on traditional Thai dance. He believes that aesthetic beauty purely is not enough for attracting audiences of new generation;the refore, he creates new stle of contemporary Thai dance highlighting the expression of universal performing art concept based on western style of defamiliarzation to arouse the audience to question the work and then returning to watch or to examine the traditional Thai dance.

Downloads