การศึกษาแนวทางการพัฒนาศิลปะการแสดงละครชาตรีในจังหวัดฉะเชิงเทรา

Authors

  • วิระสิทธิ์ สุขสมชิต

Keywords:

แนวทางการพัฒนา, ละครชาตรีในจังหวัดฉะเชิงเทรา

Abstract

งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเป็นมา สถานภาพที่ดำรงอยู่ รวมไปถึงวิเคราะห์ ปัญหาการจัดการโดยใช้ระบบแบบทฤษฎีการมีส่วนร่วม ทฤษฎีการอนุรักษ์ และทฤษฎีการพัฒนาศิลปะการแสดงพื้นบ้าน นำมาวิเคราะห์ ในประเด็นที่พบร่วมกันเพื่อหาแนวทางการพัฒนาศิลปะการแสดงละครชาตรี ในจังหวัดฉะเชิงเทราผลของการวิจัยพบว่า ความเป็นมาของศิลปะการแสดงละครชาตรี ในจังหวัดฉะเชิงเทราเกิดขึ้นภายหลังจากที่นำองค์พระพุทธโสธรขึ้นมาจากแม่น้ำบางปะกงไม่นานชาวบ้านเป็นผู้แสดงการรำเพื่อการสักการะบูชา ต่อมาจึงพัฒนาเป็นการรำเพื่อแก้สินบน เกิดอาชีพรำละครและเกิดคณะละครต่างๆ เพื่อรับงานแสดง สามารถจำแนกออกเป็น 3 ยุค คือ 1) ยุคละครตุ๊ก 2) ยุคละครชาตรี3) ยุคละครชาตรีร่วมสมัย มีการเปลี่ยนแปลงทางสังคม เกิดการปรับตัวของการละครแก้สินบน จนกระทั่งส่งผลกระทบด้านศิลปะการแสดงละครชาตรี โดยเฉพาะการแสดงละครชาตรีรูปแบบแสดงเป็นเรื่องต้องอาศัยนักแสดงที่มีทักษะความรู้และประสบการณ์ด้านการแสดงละครชาตรีอย่างแท้จริง ซึ่งปัจจุบันหลงเหลือศิลปินการละครชาตรีเพียงไม่กี่คน อีกทั้งการถ่ายทอดองค์ความรู้จะใช้วิธีการจำเพียงอย่างเดียวไม่มีเอกสารตำรา รวมถึงขาดผู้รับการสืบทอด จนเกิดช่วงห่างระหว่างวัยคือ ศิลปินอาวุโสและนักแสดงรุ่นใหม่ ส่วนหนุ่มสาวหันไปทำอาชีพที่มีรายได้ประจำกันหมดสภาพปัญหาที่เกิดขึ้น สามารถวิเคราะห์เพื่อหาแนวทางการพัฒนาละครชาตรี ในจังหวัดฉะเชิงเทรา ดังนี้ ด้านแนวทางการพัฒนาระดับภายในกลุ่มละครชาตรี คือ มีการถ่ายทอดองค์ความรู้ต่างๆ เช่นกระบวนท่ารำดนตรี การแต่งกายและอุปกรณ์ประกอบการแสดงระหว่างศิลปินรุ่นเก่ากับนักแสดงรุ่นใหม่ รวมถึงมีการฝึกซ้อมศิลปะการแสดงละครชาตรีอย่างสม่ำเสมอ ในส่วนของแนวทางการพัฒนาระดับภายนอกกลุ่มคณะละครชาตรี คือ การสนับสนุนจากภาครัฐเช่น มีการจัดหาให้มีการว่าจ้างให้ไปร่วมแสดงในกิจกรรมของจังหวัดที่จัดขึ้นเป็นประจำ เช่น งานประจำปีงานวันอนุรักษ์มรดกไทย ฯลฯ รวมถึงการร่วมมือกับสถานศึกษาจัดโครงการอบรมให้กับนักเรียนนักศึกษา และการจัดการองค์ความรู้ด้านศิลปะการแสดงละครชาตรีในรูปแบบเอกสารตำรา

Downloads