พิพิธภัณฑ์ในมหาวิทยาลัยกับการปรับตัวหลังเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน : ศึกษากรณี หอพระราชประวตัสิมเดจ็พระบรมราชชนก และหอเกยีรตยิศแหง่มหาวทิยาลยัมหดิล
Keywords:
Museum, ASEAN Economic Community, Museum Administration, พิพิธภัณฑ์, ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน, การบริหารจัดการพิพิธภัณฑ์Abstract
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการบริหารจัดการและอุปสรรคปัญหาของหอพระราชประวัติสมเด็จพระบรมราชชนก และหอเกียรติยศแห่งมหาวิทยาลัยมหิดล ภายใต้บริบท ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ ซึ่งอาศัยข้อมูลที่ได้จากการศึกษาเอกสารมีการสังเกตการณ์ภาคสนาม การสัมภาษณ์แบบเจาะลึก จากประชากรและกลุ่มตัวอย่างที่เป็น บุคลากรของงานพิพิธภัณฑ์และนิทรรศการ ฝ่ายจดหมายเหตุและพิพิธภัณฑ์ หอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดล จำนวน 4 คน โดยใช้วิธีเลือกแบบเฉพาะเจาะจง วิเคราะห์และอภิปรายผลการ วิจัยภายใต้แนวคิด “ต้นแบบพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้” ของสถาบันพิพิธภัณฑ์เพื่อการเรียนรู้แห่งชาติ ผลการวิจัยพบว่า หอพระราชประวัติสมเด็จพระบรมราชชนก และหอเกียรติยศแห่ง มหาวิทยาลัยมหิดล ได้ปรับตัวภายหลังเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ตามตัวแปรย่อยทั้ง 9 ด้าน คือ 1) “การวางแผนพิพิธภัณฑ์” จากยุทธศาสตร์และกลยุทธ์หอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดล (พ.ศ.2559-2562) โดยยุทธศาสตร์ที่ 3 การส่งเสริมความร่วมมือ กลยุทธ์ที่ 4 มุ่งเน้นพัฒนาความร่วมมือกับห้องสมุดเครือข่ายมหาวิทยาลัยอาเซียน 2) “การบริหารจัดการพิพิธภัณฑ์” มุ่งเน้น เรื่องการประชาสัมพันธ์ โดยส่งเสริมการเผยแพร่ข้อมูลเป็นภาษาอังกฤษซึ่งเป็นภาษากลางในการ สื่อสารของอาเซียน 3) “การจัดการข้อมูลวัตถุและพิพิธภัณฑ์” กับ 4) “การอนุรักษ์วัตถุพิพิธภัณฑ์” มุ่งพัฒนาฐานข้อมูลดิจิทัล เพื่อให้พลเมืองอาเซียนสะดวกต่อการสืบค้น 5) “การจัดแสดงนิทรรศการ” จัดแสดงนิทรรศการแบบออนไลน์เพื่อให้พลเมืองอาเซียนเข้าถึงเนื้อหาสาระได้ง่ายขึ้น 6) “โปรแกรม การเรียนรู้และกิจกรรมสร้างสรรค์” นักศึกษาที่เป็นยุวมัคคุเทศก์ผ่านการอบรมเพื่อรองรับการนำชม กลุ่มเป้าหมายที่เป็นพลเมืองอาเซียน 7) “การตลาด” มุ่งเน้นเรื่องงบประมาณสำหรับบริหารจัดการ พิพิธภัณฑ์ในระดับภูมิภาคอาเซียน 8) “การบริการผู้เข้าชมพิพิธภัณฑ์” ศึกษาวัฒนธรรมของประเทศสมาชิกอาเซียนเพื่อให้บริการบนพื้นฐานของการเคารพความแตกต่างทางวัฒนธรรม และ 9) “การบริหารจัดการพื้นที่และสิ่งอำนวยความสะดวกในพิพิธภัณฑ์” มีห้องละหมาดสำหรับรองรับ ผู้เข้าชมที่มาจากชาติมุสลิมในกลุ่มประเทศอาเซียน This qualitative research aims to study administration and the problems of His Royal Highness the Prince Father’s Biography Gallery and Mahidol University Hall of Fame after ASEAN Economic Community Integration. The data are collected from Documents, field observation and In-depth Interviews from there are 4 officers of Museum, and Exhibitions Division, Archives and Museums Department, Mahidol University Library and Knowledge Center, which are selected by Purposive Sampling. The analyses are based on Discovery Museum Knowledge Model: DMKM. The finding showed that His Royal Highness the Prince Father’s Biography Gallery and Mahidol University Hall of Fame has been adapted after ASEAN Economic Community Integration follow in 9 aspects: 1) Museum Planning, concerned on AUNILO (ASEAN University Network Inter-library Online) 2) Museum Administration, Disseminate information by English. 3) Museum Collections and 4) Museum Conservation, developed the digital database for easy to access. 5) Museum Exhibitions, developed online exhibition for information retrieval 6) Museum Programs, MU Guide who was trained for a guided museum tour 7) Museum Marketing, focus on financial management. 8) Museum Services, has a prayer room for Muslim in ASEAN and 9) Museum Facilities, all of staffs was learned ASEAN cultural for service among the differently.Downloads
Issue
Section
Articles