การจัดทำทะเบียนวัตถุและการสื่อความหมาย เพื่อออกแบบนิทรรศการ ณ พิพิธภัณฑ์พื้นบ้านวัดเทพราช อำเภอบ้านโพธิ์ จังหวัดฉะเชิงทรา
Keywords:
Exhibition Design, พิพิธภัณฑ์พื้นบ้าน, การสื่อความหมาย, การออกแบบAbstract
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Research and Development Practice) มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาภูมิสังคม วัฒนธรรมของชุมชนวัดเทพราชปวรารามและบริบทแวดล้อม เพื่อนำข้อมูลมาใช้กับการจัดพิพิธภัณฑ์ 2) ศึกษาสภาพวัตถุในพิพิธภัณฑ์พื้นบ้านวัดเทพราชเพื่อ จัดทำทะเบียนวัตถุทางวัฒนธรรมและ 3) ศึกษาและจัดทำกระบวนการสื่อความหมายเพื่อ ออกแบบนิทรรศการและกิจกรรม ณ พิพิธภัณฑ์พื้นบ้าน วัดเทพราช โดยมีระเบียบวิธีวิจัย คือ การ จัดการความรู้ หลักการจัดการมรดกทางวัฒนธรรม การจัดการระบบวัฒนธรรมอย่างมีคุณภาพ หลักการจัดการคุณลักษณะและคุณค่าทางวัฒนธรรม สภาการพิพิธภัณฑสถานระหว่างชาติ หลักการ สื่อสารและปฏิบัติการ การสื่อความหมาย วิธีการดึงดูดนักท่องเที่ยวและหลักการออกแบบ นิทรรศการ ผลการวิจัยพบว่า ภูมิสังคมวัฒนธรรมของเมืองแปดริ้วมีส่วนสัมพันธ์กับวัดซึ่งก่อตั้งเมื่อ พ.ศ.2424 ส่วนชุมชนเทพราช บ้านโพธิ์ ปรากฏมาตั้งแต่เมื่อ พ.ศ.2447 ต่อมารัชกาลที่ 5 ได้เสด็จ ประพาสต้นมาประทับที่วัดเทพราช เมื่อวันที่ 21 ธันวาคม พ.ศ.2451 ข้อมูลดังกล่าวนี้จะนำไปสู่ เนื้อหาในพิพิธภัณฑ์ ซึ่งประกอบด้วย เรือนพิพิธภัณฑ์พื้นบ้านมีลักษณะเป็นทรงไทยหมู่เก้า ก่อตั้ง เมื่อวันที่ 12 เมษายน พ.ศ.2556 มีวัตถุทางวัฒนธรรม จำนวน 26 ตู้ รวม 450 ชิ้น สภาพดีและสำคัญ คือ เครื่องสังเค็ด ซึ่งได้รับพระราชทานจากรัชกาลที่ 5 จากนั้นจึงนำวัตถุมาจัดทำทะเบียนหมวดหมู่ กำหนดรหัสวัตถุพร้อมกับบันทึกบัญชีเดินทุ่งและดำเนินการบันทึกข้อมูลลงในระบบโปรแกรมอัตโนมัติพร้อมใช้เผยแพร่ ซึ่งออกแบบสัญลักษณ์และระบบทั้งหมดขึ้นใหม่โดยผู้วิจัย การสื่อความหมาย คือ นำความรู้ภาคสนามและเอกสารมาสร้างสรรค์เป็นสื่อสิ่งพิมพ์ แผ่นพับ คู่มือ ป้าย ประชาสัมพันธ์ ตลอดจนการออกแบบนิทรรศการ เรื่อง เทพราชประพาสต้น ชุมชนเกษตรกรรม งามล้ำเจดีย์ สังเค็ดสักขี มีของดีพิพิธภัณฑ์ ชีวิตฉันพอเพียง พร้อมกิจกรรมทางเลือก This research and development practice aims to 1) study on Theppharat socio-cultural contexts, 2) study condition on cultural objects and its registration managing, and 3) to assess the proposed processing of interpretation and exhibition design. The criterion considered Framework in Cultural Heritage Management, Cultural System for Quality Management, Knowledge Management, Communication in Theory and Practice, International Councils of 5 Museums, Model of Interpretation and tourist Attraction and Exhibition Design. This research found that Padriew and Theppharat socio-cultural context were association through Theppharat temple which established since B.E 2424. Then, Rama V was privacy visited on 21 December B.E. 2451. The Theppharat vernacular museum was a 9 houses of Thai group style which comprised of 26 cabinets of cultural objects contained, including 450 important good conditions pieces for each classification registrar in new program system, which also designed by researcher for an easily approachable academic means. Interpretation created such outcomes as map, brochure in 5 languages, visitors explanation handbooks, site interpreter and excursion activities. Lastly, exhibition was a theme work designed and critical acceptation in which Theppharat’s identity topic, as “THEPPHARAT PRAPASTON - CHUMCHON KASETTAGAM - NGAM LUM JEDI – SANGKET SAKKE - MEDEE PIPITTAPAN - CHIVITCHAN PORPIENG. (RAMA V : PRIVACY VISITED ON THAPPHARAT, A LARGE AGRI-COMMUNITY, FINE JEDI-STUPA, BUDDHISTS EXTRA VISIBLE OFFERING, MOSTLY COHERENCES THINGS IN MUSEUM, SUFFICIENCY IDIOM IN WAYS OF LIFES.).”Downloads
Issue
Section
Articles