การจัดการมรดกภูมิปัญญาด้านวรรณกรรมพื้นบ้าน บทสวดสรภัญญะ บ้านค้อ ตำบลดอนเงิน อำเภอเชียงยืน จังหวัด มหาสารคาม

Authors

  • ศุภกร ไชยรงศรี
  • มนัส แก้วบูชา

Keywords:

การจัดการ, มรดกภูมิปัญญา, วรรณกรรมพื้นบ้าน, บทสวดสรภัญญะ

Abstract

           งานวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสำรวจคุณลักษณะทางวัฒนธรรมและบริบททาง สังคมของชุมชนชาวบ้านค้อ 2) สำรวจบันทึก วิเคราะห์ข้อมูลภูมิปัญญาด้านวรรณกรรมพื้นบ้าน บทสวดสรภัญญะบ้านค้อ 3) นำข้อมูลบทสวดสรภัญญะไปอนุรักษ์โดยเสนอชื่อเพื่อขึ้นทะเบียนเป็นมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ งานวิจัยใช้หลักของการจัดการมรดกทางวัฒนธรรมของ องค์กรวิชาชีพทางวัฒนธรรมอีโคโมสประเทศไทย การจัดการความรู้การเสนอชื่อเพื่อขึ้นทะเบียน มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม ด้านวรรณกรรมพื้นบ้าน กรมส่งเสริมวัฒนธรรม กรมส่งเสริม พระพุทธศาสนากระทรวงวัฒนธรรม วิถีชีวิตทางวัฒนธรรมของภาคอีสาน และหลักการวิเคราะห์ ดนตรีชาติพันธุ์ โดยเก็บข้อมูลจากผู้ขับร้องกลอนสรภัญญะ ผู้ประพันธ์ ครู พระภิกษุ และชาวบ้านใน พื้นที่ ผลการวิจัยพบว่า คุณลักษณะทางวัฒนธรรมบ้านค้อขึ้นอยู่กับปัจจัยทางการเมืองและ วัฒนธรรม มีวัดวิไลธรรมมารามเป็นที่พึ่ง บ้านค้อ มีภูมิปัญญาหลากหลายโดยเฉพาะการสวด สรภัญญะแบบดั้งเดิมได้รับการสืบทอดมายาวนานกว่า 153 ปี เนื้อหาทั่วไปของสรภัญญะบ้านค้อ คือ บทนำ บูชาพระรัตนตรัย บทสรรเสริญ บทหลัก บทธรรมะ  บทสรุปและบทกล่าวลา ฉันทลักษณ์ คือ กลอนหัวเดียวแบบดั้งเดิมที่มีอยู่แล้วและกาพย์ยานีแบบประยุกต์ที่ได้ประพันธ์ขึ้นมาใหม่ จาก การรวบรวมกลอนสรภัญญะบ้านค้อทั้งสิ้น 103 กลอน จำแนกตามหมวดหมู่วิเคราะห์ลักษณะทำนองได้ 1) กลอนสรภัญญะแบบดั้งเดิม 47 กลอน 2) กลอนสรภัญญะแบบประยุกต์ 56 กลอนเนื้อหาวรรณกรรมของกลอนดั้งเดิมส่วนใหญ่เกี่ยวกับหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาและพระเวสสันดรชาดก ลักษณะทำนองสรภัญญะมีความหลากหลาย ได้รับอิทธิพลมาจากทำนองลำ หรือทำนองอีสาน ส่วนกลอนสรภัญญะแบบประยุกต์ เป็นกลอนที่ได้รับการประพันธ์ขึ้นมาใหม่เนื้อหา วรรณกรรมส่วนใหญ่จะเกี่ยวกับสภาพสังคมปัจจุบัน อาทิ วิถีชีวิตประจำวัน และเหตุการณ์บ้านเมือง หรือกล่าวถึงตัวบุคคลมาประพันธ์ ลักษณะทำนองดัดแปลงมาจากทำนองดั้งเดิม ทำนองส่วนใหญ่มี ลักษณะคล้ายคลึงกัน ไม่หลากหลายเท่ากับทำนองดั้งเดิม แต่มีลักษณะเนื้อหาในด้านส่งเสริม คุณธรรมจริยธรรมเหมือนกัน แนวทางการอนุรักษ์ผู้วิจัยได้ดำเนินการตามระเบียบการขอขึ้นทะเบียนมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมที่ได้กำหนดไว้ในคู่มือของกรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม             This research aims 1) to study, discover and identify cultural characteristics and social contexts of Bankor community 2) to explore and keep intellectual folklore data; a Sorapanya rhyme 3) to preserve a Sorapanya rhyme as one of the national heritage. This research is using the method and the principle of the Thailand International Council on Monuments and Sites (ICOMOS), Knowledge management of national cultural heritage preservation, folk literation, Department of Cultural Promotion, Department of Buddhism, Ministry of Culture. This research also concerns about Northeastern ways of life and cultures and the principle analysis of ethnic music. The information for the research is a narrative by Sorapanya singer, Sorapanya writers, teachers, monks, and folks in the area.   The research found that the attribute of folk culture is depended on the administration of Mahasarakam Province. The community has Wilaidhammaram temple as a spiritual anchor. The community has a variety knowledge especially Sorapanya rhyme. The original Sorapanya has been inheriting for longer than 153 years. The folk literature which is the content of Northeastern Sorapanya is a preface, salutation to the Triple Gem, encomium, main content, Dhamma, and the conclusion. Prosody is an originally poem and the poem that consists 11 sylllables. The research found 103 Sorapanya poems which could be separated according to the rhythm. The poems are separated into 2 groups. First, the original Sorapanya has 47 poems. Socond, applied Sorapanya rhyme has 56 poems. The contents of the literature are mostly about Buddhism Dhamma principles, Jataka which are stories of the former incarnations of the Load Buddha. The Jakata that is being told is the story of Vessantara. The rhythms are diverse and have been influenced by Isan rhyme and rhythms. Meanwhile, the applied Sorapanya is the rhyme that has been lately composed and the stories are quite modern such as lifestyle, daily life routine, people, and also political situations. The rhythm of the applied Sorapanya is applied from the ancient ones. The rhythms are similar with others and not as diverse as the original ones. This research is operating the preservation of the national cultural heritage according to the regulations for the registration of the intangible cultural heritage which are assigned in the handout by Department of Cultural Promotion, Ministry of Culture.

Downloads