รูปแบบการวางผังกลุ่มอาคารในศาสนสถานของศาสนาเต๋า : กรณีศึกษาศาลเจ้าหน่าจาซาไท้จื้อ ตำบลอ่างศิลา อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี

Authors

  • Lan Changlong

Keywords:

รูปแบบการวางผังกลุ่มอาคาร ศาสนาเต๋า, ศาลเจ้าหน่าจาซาไท้จื้อ

Abstract

         การศึกษาวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน โดยมีวัตถุประสงค์ 2 ประการ คือ เพื่อศึกษารูปแบบ การวางผังกลุ่มอาคารและวิเคราะห์ลัทธิปรัชญาและศาสนาที่มีอิทธิพลต่อการวางผังกลุ่มอาคารในศาลเจ้าหน่าจาซาไท้จื้อ ตำบลอ่างศิลา อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี ในการศึกษาวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยได้เลือกใช้ระเบียบวิธีวิจัย เชิงคุณภาพ โดยศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้องสำรวจภาคสนามและสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลที่เกี่ยวข้อง          ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบการวางผังกลุ่มอาคารในศาลเจ้าหน่าจาซาไท้จื้อมี 3 รูปแบบ ได้แก่ การวาง ผังแบบสมมาตรการวางผังแบบอิสระและการวางผังตามภาพยันต์แปดทิศ (โป๊ยข่วย) ส่วนลัทธิปรัชญาและศาสนาที่มีอิทธิพลต่อการวางผังกลุ่มอาคารในศาลเจ้าหน่าจาซาไท้จื้อมีทั้งศาสนาเต๋า ลัทธิขงจื๊อ และพุทธ นิกายมหายาน           This research is a mixed method research that has two objectives: 1) to study building group layout model and 2) to study philosophical or religious thought that influence building group layout of Najasataichi Chinese shrine in Ang Sila community, Mueng district, Chon Buri province. The researchers will use qualitative research. The research methods are literature analysis, field research and interviews.          The results show that the layout of the buildings in Najasataichi Chinese shrine has three models: symmetrical layout, freestyle layout and the Eight Diagrams layout. Taoist thought, Confucianism and Buddhist thought has an influence on the layout of buildings.

Downloads