การเปรียบเทียบวัฒนธรรมชนเผ่าอาข่าของประเทศไทยและชนเผ่าฮาหนี ของสาธารณรัฐประชาชนจีน ในด้านความเชื่อและเครื่องแต่งกาย

Authors

  • Li Houjie
  • พัชรินทร์ บูรณะกร

Keywords:

วัฒนธรรม, ชนเผ่าอาข่า, ชนเผ่าฮาหนี, ความเชื่อ, เครื่องแต่งกาย

Abstract

         งานวิจัย การเปรียบเทียบวัฒนธรรมชนเผ่าอาข่าของประเทศไทยและชนเผ่าฮาหนี ของสาธารณรัฐประชาชนจีนในด้านความเชื่อและเครื่องแต่งกาย มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาวัฒนธรรมทางด้านความเชื่อและ เครื่องแต่งกายของชนเผ่าอาข่าของประเทศไทยและชนเผ่าฮาหนีของสาธารณรัฐประชาชนจีน และเพื่อวิเคราะห์เปรียบเทียบความเหมือนและความแตกต่างทางวัฒนธรรมของชนเผ่าอาข่าและชนเผ่าฮาหนี ขอบเขต พื้นที่ในการวิจัย คือ หมู่บ้านป่ากล้วยอำเภอแม่ฟ้าหลวงจังหวัดเชียงราย ประเทศไทยและหมู่บ้านเจี๋ยหยิน (甲寅Jiǎ yín) อำเภอหงเหอ เขตปกครองตนเองหงเหอ มณฑลยูนนาน สาธารณรัฐประชาชนจีน และประชากรกลุ่มตัวอย่าง คือประชากร ชนเผ่าอาข่า ในหมู่บ้านป่ากล้วย อำเภอแม่ฟ้าหลวง จังหวัดเชียงราย  ประเทศไทย จำนวน 20 คน และ ชนเผ่าฮาหนี ในหมู่บ้านเจี๋ยหยิน อำเภอหงเหอ มณฑลยูนนาน ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน จำนวน 20 คน         ผลจากการศึกษาวิจัยพบว่า วัฒนธรรมด้านการแต่งกายชนเผ่าฮาหนี ในประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน เสื้อผ้าที่นำมาสวมใส่ ได้จากการทอขึ้นใช้เอง และนำมาประดับด้วยเครื่องโลหะเงิน สีที่ใช้เน้นสีดำ ซึ่งมีความเชื่อว่าสีดำเป็นสีแห่งชีวิต เป็นสีมงคล ส่วนการแต่งกายชนเผ่าอาข่าของประเทศไทย แบ่งออกเป็น 3 แบบ ตามกลุ่มของอาข่า คือ แบบ “อู่โล้วอาข่า” แบบ “โลมีอาข่า” และ แบบ “ผาหมีอาข่า” ซึ่งการแต่งกายของชนเผ่าอาข่าทั้ง 3 แบบ ไม่มีความแตกต่างกันมากนัก เสื้อผ้าที่นำมาสวมใส่ ได้จากการทอขึ้นใช้เอง และนำมาประดับด้วยเครื่องโลหะ ซึ่งการแต่งกายของทั้งสองชนเผ่าจะมีลักษณะที่คล้ายคลึงกันมาก ความเชื่อในเรื่องการแต่งกาย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องสีของเสื้อผ้า หรือเครื่องประดับเครื่องแต่งกาย ก็มีลักษณะที่คล้ายคลึงกัน ซึ่งจากประวัติศาสตร์ของชนเผ่าอาข่าในประเทศไทย ก็คือชนเผ่าฮาหนีของจีนที่ได้อพยพเข้ามาอยู่ในประเทศไทย ดังนั้นวัฒนธรรมต่างๆ จึงเป็นวัฒนธรรมร่ามกัน อาจมีความแตกต่างกันเล็กน้อย ซึ่งเกิดจากลักษณะของภูมิประเทศที่ต่างกัน แหล่งวัตถุดิบในการนำมาใช้จึงมีความแตกต่างกัน          A Comparative Study of Ethnic Groups Culture: the Akha in Thailand and the Hani in the People's Republic of China in Terms of Beliefs and Costumes  LI HOUJIE          This research aimed to study the beliefs and clothing of Akha tribal in Thailand and the Hani tribal in China and to analyze the cultural similarities and differences between these two groups. The research sites were Pa Kluay Village, Mae Fah Luang District, Chiang Rai, Thailand and Jiayin (甲寅Jiǎ yín) , Honghe District, Hun He County, Yunnan, People's Republic of China. The key informants were 20 Akha people from Pa Kluay village,           Mae Fah Luang district, Chiang Rai Province, Thailand, and 20 Hani people in the village of Jia Yin, Honghe District, Yunnan Province, China.          The results of the study found that the Hani tribal clothing was woven and worn by Hani people and decorated with silver metal, black color painted. They belief that black is the color of life and auspicious. The Akha tribe of Thailand was divided into three types named “Uo Lao Akha”, “Lome Akha” and “Pamee Akha”, the clothe of these Akha people are not very different. Clothes were woven and worn by the groups and decorated with metal. The culture of dressing of these two tribes looked very similar both in terms of color and decorations. The Akha were historical classified as part of the Hani people who moved to Thailand. Therefor both groups have similar culture. However there may be a slightly difference because of the characteristics of different terrains which caused the different raw materials used.

Downloads