ภูมินิทัศน์วัฒนธรรมบางปลาสร้อย : ความหลากหลาย พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ฐานรากและภูมิหลัง จังหวัดชลบุรี

Authors

  • ภารดี มหาขันธ์
  • นันท์ชญา มหาขันธ์

Keywords:

นิเวศวัฒนธรรม, ภูมินิเวศ, ฐานราก, ภูมิพลัง, ภูมิวัฒนธรรม

Abstract

          งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) ศึกษาความหลากหลายทางภูมินิเวศ และวัฒนธรรม เมืองบางปลาสร้อย 2) ศึกษาพัฒนาการทางประวัติศาสตร์ 3) สังเคราะห์ปัจจัยที่เป็นฐานรากและภูมิพลังของจังหวัดชลบุรี โดยใช้วิธีการทางประวัติศาสตร์          ผลการวิจัยพบว่า เมืองบางปลาสร้อยเป็นเมืองท่าจอดพักสินค้าในสมัยกรุงศรีอยุธยา-รัตนโกสินทร์ตอนต้น มีภูมินิเวศที่หลากหลาย สมบูรณ์ด้วยทรัพยากรธรรมชาติ ทรัพยากรการท่องเที่ยว และทรัพยากรมนุษย์ นำมาซึ่งความหลากหลายทางด้านวัฒนธรรม ภูมิปัญญาในการดำรงชีวิต และการประกอบอาชีพพัฒนาการทางประวัติศาสตร์บางปลาสร้อย (ชลบุรี) สะท้อนให้เห็นนโยบายการปกครองที่สำคัญของผู้ปกครองราชอาณาจักรและรัฐไทยในแต่ละยุคสมัย ซึ่งมีส่วนอย่างสำคัญในการสร้างฐานรากและเป็นภูมิพลังให้แก่ชลบุรี เช่น นโยบายการเพิ่มกำลังคน นโยบายสร้างความสัมพันธ์กับชาวตะวันตก นโยบายผ่อนคลายความตึงเครียดทางการเมืองกับจักรวรรดินิยมตะวันตก นโยบายปฏิรูประเบียนบริหารราชการส่วนภูมิภาค นโยบายขยายการศึกษาระดับอุดมศึกษาออกสู่ภูมิภาค การเข้าร่วมเป็นสมาชิกองค์กรสนธิสัญญาร่วมป้องกันแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้นโยบายสร้างความมั่นคงด้านพลังงาน รวมทั้งนโยบายพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลภาคตะวันออก ที่กำหนดให้ชลบุรีเป็นศูนย์กลางของภูมิภาคด้านธุรกิจการค้า และการบริหารงานภาครัฐแหลมฉบังเป็นท่าเรือสมัยใหม่ของประเทศ พัทยาเป็นเมืองท่องเที่ยวควบคู่ไปกับศูนย์พาณิชย์ และธุรกิจการค้า นโยบายของรัฐแต่ละยุคสมัยล้วนช่วยเสริมฐานราก และเป็นภูมิพลังให้แก่ชลบุรีไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าความหลากหลายทางภูมินิเวศ และวัฒนธรรมภูมิปัญญา           This research, relied upon historical method, aimed 1) to examine the varieties of landscape ecology and culture of Bangplasoi, 2) to study the historical development, 3) to synthesize foundation and intelligence power of Chon Buri.          The findings revealed that Bangplasoi, in Ayutthaya period until the beginning of Rattanakosin period, was a port town with various types of landscape and abundant natural, tourism, and human resources. These resulted in varieties of culture and wisdom of living and occupation. The historical development of Bangplasoi reflected the significant governmental policies of the kingdom ruler and state of Thai in each period which played important role in the development of foundation and intelligence power of Chon Buri. The policies included policy on manpower increasing, policy on western affairs, policy on accommodation of the political tension from Western imperialism, policy on revolution of regional government regulation, policy on expansion of tertiary education to regions, becoming a member of The Southeast Asia Treaty Organization-SEATO, policy on energy security, and policy on eastern coastal area development which appointed Chon Buri to become trading center of the east and center of governmental administration. As a result, Laem Chabang Sea Port was established. Pattaya was increasingly promoted as a tourist city and commercial center. Policy of the government in each period entirely strengthened the foundation and the intelligence power of Chon Buri within various landscapes and culture of wisdom.

Downloads