สถาปัตยกรรมเรือนพื้นถิ่น : ภาพสะท้อนภูมิวัฒนธรรมและวิถีชุมชนลุ่มน้ำบางปลาสร้อย

Authors

  • ภูวษา เรืองชีวิน

Keywords:

เรือนพื้นถิ่น, ภูมิวัฒนธรรม, วิถีชุมชน, ชุมชนลุ่มน้ำบางปลาสร้อย

Abstract

          เรือนถือเป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญของการอยู่อาศัย รูปแบบของเรือน ในชุมชนจึงมีความแตกต่างตามพื้นที่ตั้งซึ่งมีเหตุปัจจัยมาจากลักษณะทางภูมิศาสตร์ และบริบททางสังคม งานวิจัยเรื่องสถาปัตยกรรมเรือนพื้นถิ่น : ภาพสะท้อนภูมิวัฒนธรรม และวิถีชุมชนลุ่มน้ำบางปลาสร้อย เป็นการศึกษารูปแบบสถาปัตยกรรมผ่านบริบทวิถีทางสังคมในชุมชนถึงลักษณะของเรือนอยู่อาศัย จากการเข้ามาตั้งถิ่นฐานของผู้คนในอดีตความสัมพันธ์และการปรับตัวของผู้คน และเสนอแนะแนวทางในการพื้นฟูอนุรักษ์เพื่อการดำรงอยู่ของรูปแบบสถาปัตยกรรมเรือนพื้นถิ่นในชุมชน          จากการใช้ประโยชน์ของเรือนที่สามารถตอบรับต่อวิถีชีวิตและการปรับตัวของชุมชน ในชุมชนลุ่มน้ำบางปลาสร้อย สามารถแบ่งรูปแบบของเรือนที่ปรากฏตามรูปแบบลักษณะ ได้แก่ เรือนไทย เรือนชาวจีน เรือนแถว และเรือนริมน้ำ โดยเรือนแต่ละแบบนี้มีลักษณะเฉพาะที่สัมพันธ์กับสภาพแวดล้อม และวัฒนธรรมท้องถิ่นชุมชนสังคม รวมไปถึงบริบทด้านทางการค้า โดยเฉพาะการคมนาคมส่งผลต่อความเปลี่ยนไปของชุมชน ทั้งวิถีชีวิตและการปรับเปลี่ยนของสภาพพื้นที่อยู่อาศัย โดยบ้านเรือนที่ปรากฏจากโครงสร้างของงานสถาปัตยกรรมนั้นมีการผสมผสาน ระหว่างแบบอย่างเรือนดั้งเดิมกับความทันสมัยจากการปรับประยุกต์การเลือกใช้วัสดุ ผสานกับภูมิปัญญาท้องถิ่น รวมทั้งการวางผังพื้นที่เพื่อประโยชน์ใช้สอยที่เปลี่ยนแปลงไป ซึ่งมาจากหลายปัจจัย อาทิ สภาพภูมิอากาศ เศรษฐกิจ การพัฒนาพื้นที่จากการปกครองของรัฐ การโยกย้ายถิ่นฐานของผู้คนที่อยู่อาศัย โดยเฉพาะการเข้ามาทำงานของคนต่างถิ่น ดังนั้นการให้ความสำคัญในเรื่องของการฟื้นฟูและสร้างจิตสำนึกความรู้หวงแหนรักษา รวมทั้งการถ่ายทอดความรู้ในบริบทท้องถิ่นแบบดั้งเดิมจึงเป็นแนวทางที่เสนอแนะเพื่อสร้างความเข้าใจร่วมกันให้กับชุมชน โดยเริ่มผู้นำที่มีบทบาทและการใช้ชุมชนเป็นศูนย์กลาง เพื่อสะท้อนภูมิวัฒนธรรมจากภายในสู่ภายนอก           Housing is one of the key factors of living. One of the factors that impacts to the house style is location of community, the factor of geography, different culture, lifestyle, trade routes and transport. Vernacular architecture: A reflections cultural landscape and local lifestyle of Bang-plasoi Community which is a study of the characteristic style of home and vernacular house, built in the past and still appear in the community area at present. The house can be classified by style and divided into categories as the following: Thai House, Chinese House, Row House, and Waterfront House. Each house has unique relationship with the environment, local culture and lifestyles which can reflect to a social structure, economic, career, religious, and beliefs of the residents in the community.          According to current social development, the context surrounding the community has been changed and adjusted following style of life and living including structure and characteristics of the architecture. Therefore, the structural form of houses is more integration and applied method; especially, the economic factor, the development of the area from the rule of the State, the migration, a change of people in the area, and the work of the native people become an important perspective of conservation which are caused by treating the traditional architectural styles as unimportant issues.          Therefore, this study aims to connect the architectural styles through their social context of the community to reflect the nature of residential housing, the relationship of local people including restorative treatment guidelines, the concept of conservation and the sustainability of the model in the vernacular architecture house which can remain and be able to respond the way of life of the community in the present.

Downloads