วิถีชีวิตลุ่มน้ำบางปะกง ที่ปรากฏในภาพประกอบตกแต่งศาสนสถานพื้นที่จังหวัดฉะเชิงเทรา

Authors

  • อาจิณโจนาธาน อาจิณกิจ
  • จุลเดช ธรรมวงศ์

Keywords:

ภาพประดับศาสนสถาน, วิถีชีวิต, แม่น้ำบางปะกง

Abstract

          งานวิจัยชิ้นนี้ศึกษาความเชื่อมโยงระหว่างผลงานศิลปะที่ประดับในศาสนสถาน กับวิถีชีวิตของผู้คนในลุ่มน้ำบางปะกง ในบริเวณจังหวัดฉะเชิงเทรา โดยศึกษาจากงานจิตรกรรมและงานประติมากรรมปูนปั้น ในวัดที่ตั้งอยู่บริเวณริมฝั่งแม่น้ำบางประกง ได้แก่ วัดโสธรวรารามวรวิหาร วัดสัมปทวน วัดสาวชะโงก และวัดเมืองกาย ครอบคลุมพื้นที่สามอำเภอ คืออำเภอเมืองฉะเชิงเทรา อำเภอบางคล้า และอำเภอพนมสารคาม โดยมีแม่น้ำบางปะกงเป็นแม่น้ำหลักที่ผู้คนในพื้นที่วิจัยได้ใช้ร่วมกัน          ผู้วิจัยสนในศึกษาเนื้อหา หน้าที่ และความเชื่อมโยงกับผู้คนที่อาศัยอยู่ในแถบลุ่มน้ำบางปะกง งานศิลปะในศาสนสถานไม่เพียงทำหน้าที่เป็นเพียงการประดับวัดวาอารามในแง่ของความศักดิ์สิทธิ์แต่เนื้อหายังแสดงถึงความเชื่อมโยงเชิงภูมิศาสตร์ และวิถีชีวิตของผู้คนในแถบลุ่มน้ำบางปะกง รวมทั้งสะท้อนถึงเรื่องเล่าและภูมิปัญญาพื้นถิ่น จากการลงพื้นที่ด้วยการสัมภาษณ์และสำรวจผลงานศิลปะในวัดจำนวน 4 แห่ง ที่ตั้งอยู่บริเวณลุ่มแม่น้ำบางปะกง ในจังหวัดฉะเชิงเทรา ศึกษาทั้งเนื้อหา และรูปแบบของผลงานเพื่อเปรียบเทียบกับข้อมูลทางประวัติศาสตร์          จากการศึกษาในเชิงเนื้อหา พบว่าภาพที่ปรากฏในผลงานศิลปะสะท้อนถึงวิถีชีวิตของผู้คนที่อาศัยอยู่ในบริเวณดังกล่าว มีความเชื่อมโยงทางภูมิศาสตร์ และความเชื่อของผู้คน ภาพที่ปรากฏสะท้อนถึงการใช้ชีวิตของผู้คน ลักษณะบ้านเรือน การเดินทาง การแต่งกาย พันธุ์ไม้ สัตว์เลี้ยง และความเชื่อ รวมทั้งช่วงเวลายุคสมัย และค่านิยมของชาวลุ่มน้ำบางปะกงได้เป็นอย่างดีในเชิงรูปแบบของผลงานพบว่า รูปแบบของผลงานขึ้นอยู่กับทักษะของช่างฝีมือ และศิลปินของแต่ละวัด ซึ่งมีความแตกต่างกันตามปัจเจกและยุคสมัย          ผลงานศิลปะที่ประดับศาสนสถานนอกจากทำหน้าที่ประดับประดาเพื่อความสวยงาม เป็นภาพแทนความศักดิ์สิทธิ์ของศาสนสถานแล้ว เนื้อหาเหล่านี้นับเป็นภูมิปัญญาสะท้อนถึงวิถีชีวิตของผู้คนและชุมชนได้เป็นอย่างดี           This study investigates the connection between work of art decorated in temples along Bangpakong river in Chachoengsao province and the way of life of the people resides in the area. The works of art in the study are in the form of painting and sculpture. The temples in the study are Sothonwararam Worawihan temple, Sampathuan Temple, Sao Cha-ngok temple and Muang Guy temple which are located along Bangpakong river, covering three districts, Muang Chachoengsao district, Bang Khla district and Panomsarakham district in Chachoengsao province.          The researcher interests in study the content, function and the connection to local people in the work of art in temple. The work of art not only function as sacred ornament, its content shows the connection to its geography and way of life of the Bangpakong river resident. The work of art content also portraits local myth and intellectual. In conducting the study, the researcher conducted fieldwork in four temples to investigate form and content of work of art. Then, the researcher compared the finding to its historical context and the interview of local people. The content in the work of art portrayed in people’s way of life ranging from geography, housing style, mean of transportation, traditional costume, local plant, animal to local myth. The content in the work of art also portrays.          The study findings are divided in two parts, content in the work of art and the characteristic of the work of art. The content in the work of art portraits people’s way of life and the connection to its geography and belief. The content shows how people live ranging from housing style, mean of transportation, traditional costume, local plant, animal to local myth. The content in the work of art also portrays timeline, period and people’s value. In term of characteristic, it is attributed to craftsmanship of artisan and artist which varied from individual and period.          The work of art in temple are not only function as sacred ornament. Moreover its content resonates local way of life, belief and intellect.

Downloads