บทบาทของพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร กับการเผยแพร่ความรู้ เรื่องประวัติศาสตร์ศิลปะอาเซียนแก่ประชาชน

Authors

  • เกรียงไกร ฮ่องเฮงเส็ง

Keywords:

พิพิธภัณฑ์, ประวัติศาสตร์ศิลปะ, อาเซียน, ASEAN

Abstract

          การวิจัยเชิงคุณภาพนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบทบาทของพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนคร กับการเผยแพร่ความรู้เรื่องประวัติศาสตร์ศิลปะอาเซียนแก่ประชาชน ภายใต้ขอบเขตการวิจัยที่จำแนกออกเป็น 3 ด้าน คือ ด้านการประชาสัมพันธ์ ด้านเนื้อหาและการจัดแสดง และด้านกิจกรรมโครงการ ส่วนขอบเขตด้านระยะเวลาศึกษาระหว่างปีพุทธศักราช 2558-2560 ทั้งก่อนและหลังจากเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน โดยอาศัยข้อมูลที่ได้จากการศึกษาเชิงเอกสาร สังเกตการณ์ภาคสนาม และการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก จากผู้อำนวยการและบุคลากรของพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนคร จำนวน 10 คน โดยใช้วิธีเลือกแบบเฉพาะ เจาะจง ใช้แนวคิดการบริหารจัดการพิพิธภัณฑ์ในการวิเคราะห์และอภิปรายผล ผลการวิจัยพบว่า ด้านการประชาสัมพันธ์ พิพิธภัณฑ์เผยแพร่ข้อมูลข่าวสารโดยงานประชาสัมพันธ์ในฝ่ายวิชาการผ่านสื่อกระแสหลัก และสื่อสังคมออนไลน์ ด้านเนื้อหาและการจัดแสดง จำแนกเป็นนิทรรศการแบบชั่วคราวหรือนิทรรศการพิเศษ และนิทรรศการแบบถาวร โดยนิทรรศการถาวรมีห้องจัดแสดงศิลปะเอเชีย ศิลปะเขมร และศิลปะชวา ขณะที่นิทรรศการชั่วคราวหรือนิทรรศการพิเศษ ประกอบด้วย นิทรรศการ “รากแห่งวัฒนธรรมอาเซียน” และนิทรรศการ “พุทธปฏิมาวิจักษณ์จากภารตะสู่สุวรรณภูมิ” ด้านกิจกรรมโครงการส่วนใหญ่อยู่ในรูปแบบการเสวนาทางวิชาการ และกิจกรรมย่อยประกอบนิทรรศการ           The purpose of this qualitative research was to study the roles of Phanakorn National Museum on the dissemination of ASEAN arts history knowledge to the public. This research looked specifically at 3 parts: public relation, content and exhibition, and project and activities that were between 2015-2017 and after entering the ASEAN Economic Community. The data of this study were collected from field observations and in-depth interviews in which there 10 participations by purposive sampling. Data analysis with Museum Administration concept. The finding showed that the public relation of Phanakorn National Museum was made through mainstream media and social media. Meanwhile, Content and exhibition consist of permanent and temporary exhibitions. Permanent exhibitions included Asian arts, Khmer arts and Java arts. Temporary exhibitions or special exhibitions covered ASEAN arts exhibitions such as “Roots of ASEAN’s Culture” and “Featuring Buddhist Imagery from Bharata to Suvarnabhumi” Lastly, projects were created on academic discussion and conference on ASEAN arts history.

Downloads