เยี่ยมยาม...เบิ่งหีบห่อลาว
Keywords:
การท่องเที่ยว, หลวงพระบาง, วังเวียง, เวียงจันทน์Abstract
บทความวิชาการนี้กล่าวถึงการเยี่ยมเยือนประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว และสังเกตการใช้หีบห่อของลาวในเส้นทางท่องเที่ยว 3 เมืองสำคัญได้แก่ หลวงพระบาง วังเวียง และเวียงจันทน์ เป็นการเดินทางจากตอนเหนือสู่ตอนกลางของประเทศ พบว่าหีบห่อที่ใช้มีความแตกต่างกันตามลักษณะภูมิประเทศ ความเป็นอยู่ ทรัพยากรและความเจริญเติบโตของเมือง เริ่มสำรวจเมืองแรกที่หลวงพระบางซึ่งอยู่ทางตอนเหนือ มีภูมิประเทศคล้ายแหลม มีแม่น้ำโขงและแม่น้ำคานขนาบสองด้าน ทำให้มีความอุดมสมบูรณ์ของพืชพรรณและอาหาร อากาศและผู้คนคล้ายภาคเหนือของไทย และเนื่องจากหลวงพระบางเป็นเมืองมรดกโลกทางวัฒนธรรมในฐานะที่เป็นเมือง “อนุรักษ์ความเก่าแก่ดั้งเดิมไว้ได้ดีที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้” ทำให้มีแนวคิดเชิงอนุรักษ์รวมถึงการหีบห่อ เน้นการใช้หีบห่อจากวัสดุธรรมชาติประเภทใบตองและไม้ไผ่ ภายใต้รูป แบบที่สวยงาม และเป็นเอกลักษณ์แบบหลวงพระบาง ในขณะที่การเดินทางเข้าสู่เมืองที่สองคือวังเวียง เมืองท่องเที่ยวเชิงกิจกรรมผจญภัย ที่มีทั้งภูเขาและแม่น้ำซองไหลผ่าน พบการใช้หีบห่อจากวัสดุธรรมชาติสำหรับของป่าและผลิตผลจากแม่น้ำ ที่ส่วนใหญ่ทำจากไม้ไผ่ รูปแบบสวยงามตามภูมิปัญญาท้องถิ่น ทั้งสองเมืองยังคงเลือกใช้หีบห่อจากวัสดุธรรมชาติโดยการห่อ ผูกมัดรัดร้อยรองรับ บรรจุและเสียบหนีบ ถึงแม้การใช้หีบห่อจะแตกต่างจากเมืองที่สามเวียงจันทน์ที่เป็นเมืองหลวง อยู่ติดแม่น้ำโขงและจังหวัดหนองคาย ซึ่งหีบห่อที่พบเห็นส่วนใหญ่ผลิตและบรรจุในระบบอุตสาหกรรม ใช้วัสดุหีบห่อประเภทพลาสติก แก้ว และโลหะ จากการพบเห็นจึงพอสรุปได้ว่า หีบห่อที่พบเห็นทั้งหมดได้ทำหน้าที่ของหีบห่อโดยสมบูรณ์นั้นคือ 1) มีการเอื้อต่อประโยชน์ต่อการใช้สอยและคุ้มครองป้องกัน 2) ให้การเก็บรักษาสิ่งที่บรรจุภายใน 3) สะดวกในการขนส่ง และ 4.มีผลต่อการจำหน่าย แต่ที่สร้างความโดดเด่นนั่นคือหีบห่อจากวัสดุธรรมชาติได้ทำหน้าที่ที่มากกว่าคือให้ความสวยงามตามแบบศิลปะของท้องถิ่นนั้น ๆ ทำให้เห็นซึ่งวัฒนธรรมของท้องถิ่น เป็นส่วนสร้างแรงดึงดูดนักท่องเที่ยว ส่งผลดีทางการตลาด และเป็นผู้อนุรักษ์สิ่งแวดล้อมไปด้วยในขณะเดียวกัน เป็นแนวทางที่น่าสนใจสำหรับการนำไปใช้ในการหีบห่อที่ต้องการสร้างความน่าสนใจอย่างมีเอกลักษณ์ This article discusses the visit to the Lao People’s Democratic Republic. And observe the use of Laos in the tourist routes. 3 major cities are Luang Prabang, Vang Vieng and Vientiane. A trip from the north to the middle of the country. It was found that the packages used were different in terms of terrain, livelihood, resources and growth of the city. Explore the first city in Luang Prabang in the north. The landscape is similar. There are two sides of the river and the river. There are plenty of vegetation and food. And people like Northern Thailand. Because Luang Prabang is a cultural heritage city as a city. “Preserving traditional heritage best in Southeast Asia” provides ecological concepts, including packaging. Highlight the use of natural bamboo and banana packages. Under the beautiful model. And is unique Luang Prabang. While traveling to the second city is Vang Vieng. Adventure Travel Town The mountains and rivers flow through. The use of natural materials for wildlife and river products. Most of the bamboo. Beautiful style according to local wisdom. The two cities continue to use packages of natural materials by wrapping them. Tighten the straps and clamps. Although the use of packages is different from the third city, Vientiane capital. Located on the Mekong and Nong Khai. Most of the packages are manufactured and packed in industrial systems. Use of plastic, glass and metal packaging materials from the sight so it is concluded that. All packages are fully packaged. 1) It is beneficial to use and protect. 2) Keep the contents inside. 3) The transportation and 4) Affect the distribution. But the most distinctive feature is the natural material package that serves more than the beauty of the local art. See the local culture. It is a tourist attraction. Good marketing. It is also a conservationist. It is an attractive approach for packaging applications that need to be unique.Downloads
Issue
Section
Articles