ความคิดแบบปิตาธิปไตยกับการพัฒนาภาพลักษณ์ของผีในวรรณกรรมไทย : กรณีศึกษาจากเรื่องแม่นาก
Keywords:
ผี, ภาพลักษณ์, ความคิด, ปิตาธิปไตย, แม่นากAbstract
ภาพลักษณ์ของผีในวรรณกรรมไทยเปลี่ยนแปลงตามกระบวนการพัฒนาของสังคมปิตาธิปไตย เดิมสังคมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นสังคมแบบผู้หญิงเป็นใหญ่ ผู้ปกครองหญิงใช้ความเชื่อเรื่องผีเป็นเครื่องมือช่วยในการปกครองชาวบ้าน เรื่องเล่าเกี่ยวกับผี ส่วนมากจึงแฝงไว้ด้วยความคิด เกี่ยวกับจริยธรรม ศีลธรรม ซึ่งแสดงบทบาทในการช่วยจรรโลงมนุษยธรรม และการรักษาระเบียบสังคม ผีมักเป็นเพศหญิง ซึ่งมีอำนาจเด็ดขาด มีทั้งผีดีที่ปกป้องคนดี และเป็นผีร้ายที่คอยลงโทษคนที่ทำผิดทำชั่ว สมัยอยุธยาตอนต้น หลักฐานเช่น พระราชพิธีเบาะพก กฎหมายลักษณะเบ็ดเสร็จ (ตอนท้าย) และโองการแช่งน้ำ สะท้อนให้เห็นว่า สังคมเริ่มมีการพัฒนาเปลี่ยนแปลงชัดเจนขึ้น กษัตริย์เป็นศูนย์กลางแห่งอำนาจ ศาสนาพุทธมีฐานะสูงขึ้น ขณะที่ความเชื่อเรื่องผีมีความสำคัญลดลง การปฏิรูประบบศักดินาในสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ช่วยกระตุ้นให้สังคมพัฒนาไปเป็นแบบปิตาธิปไตย พื้นที่เชื่อมต่อและผลิตความหมายรองรับอำนาจฝ่ายชายและการสร้างชนชั้นผู้ปกครองที่สำคัญมากคือ วัด ซึ่งได้รับอิทธิพลแนวคิดความรู้และสุนทรียศาสตร์ฝ่ายอินเดียที่เกี่ยวกับ”รส” ต่าง ๆ ในการแต่งวรรณคดี ผู้ชายชนชั้นสูงที่มีโอกาสได้รับการศึกษาซึ่งรวมทั้งการเสพวรรณคดีภาษาบาลีจากวัด เป็นกลุ่มคนที่มีบทบาทในการสร้างวรรณคดีไทยที่มีกรอบความคิดแบบปิตาธิปไตยและมีแนวคิดเชิงสุนทรียศาสตร์ วรรณคดีภาษาบาลีซึ่งเป็นงานทางด้านวรรณศิลป์เหล่านั้นได้รับอิทธิพลจากวรรณคดีสันสกฤตอินเดีย ส่งผลให้การสร้างภาพลักษณ์ผี ต่อมาในวรรณกรรมประโลมโลกเหมือนตัวละครหญิงในวรรณกรรมไทยทั่วไป กล่าวคือ ผีเป็นผู้หญิงที่มีภาพลักษณ์หลาย ๆ แบบ ที่ประกอบขึ้นจากอารมณ์ความรู้สึก เช่น ความรัก ความโศกเศร้า ความอ่อนโยนและความสงบ ทำให้เรื่องผีกลายเป็นวรรณกรรมประเภทหนึ่งที่มีบทบาท ช่วยสร้างอุดมการณ์แบบปิตาธิปไตย มีการนำเสนอในรูปแบบใหม่ของความบันเทิงหนึ่งในนั้น คือ เรื่องแม่นากซึ่งเป็นเรื่องที่สำคัญที่สุดเรื่องหนึ่ง ที่สะท้อนให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างความคิดแบบปิตาธิปไตยกับการพัฒนาภาพลักษณ์ของผีในวรรณกรรมไทย เรื่องแม่นากค่อย ๆ พัฒนาเป็นเรื่องผีที่มีลักษณะของตัวอย่างที่เต็มเปี่ยมด้วยอรรถรสของความเกรงกลัว (ภยานกรส) ความแค้นเคือง (เราทรรส) ความซาบซึ้งในความรัก (ศฤงคารรส) และความโศกเศร้าหรือความสงสาร (กรุณารส) ส่งผลให้ภาพลักษณ์ของผีแม่นากมีการเปลี่ยนแปลงนอกจากผีที่ดุร้ายและมีอำนาจเด็ดขาดแล้ว ยังกลายเป็นผีอีกบุคลิกที่มีนิสัยของความอ่อนโยน น่ารัก และน่าสงสาร ซึ่งเป็นภาพลักษณ์ของสตรีที่สังคมแบบปิตาธิปไตยคาดหมาย The image of ghost in Thai literature changes with the development of patriarchal society. Primitive society of Southeast Asia was a matriarchal society. The female leaders used the supernatural beliefs as a tool of governance. Therefore, the ghost stories usually contained ethical and moral thoughts which performed the function of maintaining social order. The image of ghost was always a female who had absolute power and often a good ghost that can protect good people or an evil ghost that punish bad people. Afterwards, around the early Ayutthaya period, the evidences such as the Law of Miscellaneous Duties and the Curse of the Sacred Water showed that the society had begun to change. The king was the center of power. At the same time, the status of Buddhism had risen gradually while the importance of ghost beliefs had reduced. Reforming the feudal system during the reign of King Trailok impelled the society to develop into a patriarchal one. Meanwhile, the temple was the place where connected the meaning between the ideology of patriarchy and establishing the dominance hierarchy. In addition, the temple was influenced by the knowledge and aesthetics in literature writing of India which concerning ‘rasa’. The upper-class men got a chance to accept education and read Pali literature from the temple. They were the group of people who had a role in creating Thai literature which contained the concepts of patriarchy and aesthetics. The Pali literature which influenced by Indian Sanskrit literature resulted the creation of ghost image in romance novels to be a female ghost who had various emotional rasa, such as love, sadness, gentleness, sobriety, etc. This kind of ghost was like the female character in general Thai literature. Ghost stories had become a type of literature that played a role in creating patriarchal ideals through the way of entertainment. The story Mae Nak Phra-khanong is one of the important stories which shows the relationship between ideology of patriarchy and development of image of ghost in Thai literature. Mae Nak Phra-khanong has gradually developed to a ghost story that is full of fear, resentment, love, sadness and pity, which make the image of Mae Nak change from a ferocious ghost who has the absolute power to a ghost who is not only ferocious but also gentle, lovely and pitiable and become the female image that the patriarchal society expect.Downloads
Issue
Section
Articles