สภาวะเหนือความจริงในศิลปะแนวจัดวาง : กรณีศึกษานิทรรศการ “อันโดร เออร์ลิช : การเห็นและเชื่อ” ณ พิพิธภัณฑ์ศิลปะโมริ
Keywords:
สภาวะเหนือความจริง ศิลปะแนวจัดวาง พิพิธภัณฑ์ศิลปะ, อันโดร เออร์ลิช, ศิลปะโมริAbstract
บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของศิลปะแนวจัดวางกับแนวคิดสภาวะเหนือความจริงของฌอง โบดริยาร์ด โดยนำผลงานศิลปะแนวจัดวางของลีอันโดร เออร์ลิช ที่จัดแสดง ณ พิพิธภัณฑ์ศิลปะโมริ กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น มาเป็นกรณีศึกษาและวิเคราะห์อันนำไปสู่ประโยชน์ต่อการสร้างสรรค์สื่อศิลปะและงานวิชาการในปัจจุบัน ทั้งนี้ จากการลงพื้นที่เก็บข้อมูลภาคสนามในพื้นที่จัดแสดงผลงานและประกอบกับการศึกษาจากเอกสารที่เกี่ยวข้องกับผลงานของศิลปิน ลักษณะของศิลปะแนวจัดวาง และแนวคิดสภาวะเหนือความจริง ผู้เขียนจึงสามารถสรุปผลการศึกษาได้เป็น 3 ประเด็นโดยสังเขป ดังนี้ (1) ผลงานศิลปะแนวจัดวางของลีอันโดร เออร์ลิชมีการนำเสนอโดยคำนึงถึงคุณลักษณะของวัตถุและพื้นที่ในการจัดแสดงเพื่อประกอบสร้างความหมายใหม่ โดยผู้ชมต้องเข้ามามีส่วนร่วมในลักษณะใดลักษณะหนึ่งเพื่อให้เกิดผลทางการเห็นในมุมมองที่เหนือความเป็นจริงและเกินความคาดหมาย (2) ผลงานดังกล่าวเป็นการสร้างประสบการณ์สุนทรียะใหม่ด้วยกลวิธีสร้างภาพลวงตาที่เป็นไปไม่ได้ให้เป็นไปได้ในสภาพแวดล้อมใหม่ภายใต้บริบททางศิลปะ และ (3) การศึกษานี้มีการวิเคราะห์อย่างมีเหตุผลอันนำไปสู่ต้นแบบในการศึกษาและเพื่อมีความรู้ที่เท่าทันและสามารถวิจักษ์ศิลปะแนวจัดวางที่มีความเป็นสหศาสตร์อันเป็นการบูรณาการสรรพวิชาเพื่อสร้างประสบการณ์ทางสุนทรียะใหม่ที่กำลังเป็นที่นิยมอย่างมากในปัจจุบัน This article aims to study the relationship of installation art with the Hyperreality concept of Jean Baudrillard. Leandro Erlich’s art installation works at the Mori Art Museum in Tokyo, Japan are case studies. And analysis that leads to the benefits of creating art media and current academic work. From the storage area of the field in the exhibition area, the study of documents related to the artist’s work, the installation art and the Hyperreality concept. The author therefore can summarize the results of the study into three issues, as follows: (1) Leandro Erlich’s Installation Art is presented with regard to the features of the object and the space in which it is displayed. The viewer must be involved in a certain way in order to achieve a realistic view of what is expected and what is expected. (2) The work is a new aesthetic experience with illusion techniques. Impossible is possible in new environments under the artistic context and (3) This study has a rational analysis leading to prototype in education and to have Knowledge of literacy and Installation Art Appreciation at the Interdisciplinary integration of the diverse subjects to create a new aesthetic experience that is becoming very popular nowadays.Downloads
Issue
Section
Articles