ธรรมาสน์ร่วมสมัย จากแรงบันดาลใจสวนศาสตร์ เพื่อวัดแบบอรัญวาสี สู่สัมพันธภาพ จิตรกรรมลายกำมะลอตามคติไตรภูมิ

Authors

  • บรรยวัสถ์ ประเสริฐวรชัย
  • สุชาติ เถาทอง
  • อุษาวดี ตันติวรานุรักษ์

Keywords:

ธรรมาสน์ร่วมสมัย, วัดแบบอรัญวาสี, จิตรกรรมลายกำมะลอ, คติไตรภูมิ, จิตรกรรม

Abstract

        ธรรมาสน์ร่วมสมัย จากแรงบันดาลใจสวนศาสตร์ เพื่อวัดแบบอรัญวาสี สู่สัมพันธภาพจิตรกรรมลายกำมะลอตามคติไตรภูมิ เป็นงานวิจัยในระดับดุษฎีบัณฑิต สาขาทัศนศิลป์และการออกแบบ เป็นการศึกษารูปแบบธรรมาสน์ลักษณะเดิมเพื่อนำมาพัฒนาธรรมาสน์ในรูปแบบใหม่ ซึ่งมีรูปลักษณ์ และพัฒนาด้านการกังวานของเสียง โดยอาศัยหลักกระบวนการทฤษฎีทางสวนศาสตร์ เพื่อตอบสนองกิจกรรมทางพุทธศาสนา   โดยเฉพาะวัดแบบอรัญวาสี เป็นการผสานวิธีการวิจัยระหว่าง วิจัยเชิงปริมาณ และวิจัยเชิงคุณภาพ ซึ่งให้ความสำคัญกับกระบวนการวิจัยเชิงคุณภาพเป็นสำคัญ โดยที่การศึกษาวิเคราะห์ข้อมูล เอกสารหลักฐาน การเก็บข้อมูลภาคสนาม การสัมภาษณ์เชิงลึก เพื่อนำมาใช้เป็นข้อมูลเบื้องต้นในการออกแบบธรรมาสน์ในรูปแบบใหม่ โดยมีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1. เพื่อออกแบบและสร้างสรรค์ธรรมาสน์ให้มีความกังวานของเสียง และได้คุณภาพของเสียงโดยปราศจากการใช้ไฟฟ้า และเครื่องกระจายเสียง 2. เพื่อออกแบบและสร้างสรรค์ธรรมาสน์ ให้มีความงามทั้งด้านสถาปัตยกรรม และจิตรกรรม โดยสัมพันธ์กลมกลืนกับวัดแบบอรัญวาสี 3. เพื่อเสริมสร้างการบูรณาการร่วมกันระหว่างศาสตร์ศิลปกรรม และสวนศาสตร์ ซึ่งจากการศึกษา และเก็บรวบรวมทางข้อมูล นำมาวิเคราะห์จนได้แนวทางการออกแบบ และสร้างสรรค์ในผลงานวิจัยพบว่า ประโยชน์การใช้สอยของธรรมาสน์ และความงามของธรรมาสน์สามารถนำไปพัฒนาใช้งานได้จริง มีความเหมาะสมตรงตามวัตถุประสงค์ของการวิจัย และได้รับผลการประเมินความพึงพอใจความสนใจจากผู้ใช้งาน (พระสงฆ์) และพุทธศาสนิกชนในชุมชนที่ร่วมในกิจกรรมฟังธรรมทางพุทธศาสนามากยิ่งขึ้น           Acoustics Inspired Contemporary Dharma-seat for Aranya Wasri Temple Decorated with Lai Kammalor as in Tri Bhumi Concept was a research project of Doctor of Philosophy program in Fine and Applied Art. The research studied about traditional Dharma-seats for developing its appearance and increasing its resonant sound by applying acoustics theory for productive activities of monks in Aranya Wasri Temple. Emphasized on qualitative research, quantitative and qualitative research were integrated to study the advancement design for Dharma-seat analyzed from paper evidence, fieldwork, and in-depth inter-view. The purposes of this research were 1) to design and develop the Dharma-seat for quality resonant sound without electricity or an amplifier, 2) to design and develop the Dharma-seat for aesthetic architecture and painting appropriated with Aranya Wansri Temple, 3) to integrate art and acoustic in design. As the results, the usage and aesthetic of the Dharma-seat were satisfied, the results met the purposes, and it could be practical used, based on the evaluations provided by users (monks) and Buddhists who attended the sermon.

Downloads