แนวทางการจัดการผลิตภัณฑ์ทางวัฒนธรรม : ไม้แกะสลักบ้านซือเหอ มณฑลยูนนานและไม้แกะสลักบ้านถวาย จังหวัดเชียงใหม่
Keywords:
ไม้แกะสลัก, ผลิตภัณฑ์ทางวัฒนธรรม, อุตสาหกรรม, การพัฒนาAbstract
บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของการวิจัยเรื่อง “แนวทางการจัดการผลิตภัณฑ์ทางวัฒนธรรม :ไม้แกะสลักบ้านซือเหอ มณฑลยูนนานและไม้แกะสลักบ้านถวาย จังหวัดเชียงใหม่” โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลิตภัณฑ์ทางวัฒนธรรมไม้แกะสลักบ้านซือเหอ มณฑลยูนนานและบ้านถวายจังหวัดเชียงใหม่ ตลอดจนวิเคราะห์จุดเด่นด้านวัฒนธรรม และการพัฒนาอุตสาหกรรมเพื่อค้นหาวิธีการ และแนวทางการบริหารจัดการผลิตภัณฑ์ทางวัฒนธรรมไม้แกะสลัก ที่เหมาะสมและสอดคล้อง กับลักษณะเฉพาะของท้องถิ่น จากการศึกษาพบว่า ไม้แกะสลักบ้านถวายและบ้านซือเหอ เป็นทักษะงานฝีมือที่สำคัญอย่างหนึ่งในการแสดงเอกลักษณ์ของประเทศหรือภูมิภาค นับตั้งแต่อดีต ไม้แกะสลักคือสิ่งที่สะท้อนและนำเสนอวิถีชีวิต ขนบธรรมเนียม ประเพณีและศาสนาของคนในท้องถิ่น ตลอดจนเป็นส่วนสำคัญของอุตสาหกรรมทางวัฒนธรรมที่มีมูลค่าในเชิงพาณิชย์สูง อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันอุตสาหกรรมทางวัฒนธรรมไม้แกะสลักบ้านถวาย และบ้านซือเหอ ยังคงประสบกับปัญหาทั้งในด้านความหลากหลาย ของรูปแบบผลิตภัณฑ์ ความหมายทางวัฒนธรรม เทคนิคการผลิตและการจัดจำหน่าย ดังนั้น เพื่อให้ผลิตภัณฑ์ไม้แกะสลักบ้านซือเหอ และบ้านถวายยังคงได้รับการพัฒนาไปในทิศทางที่ดีและต่อเนื่อง จึงมีความจำเป็นต้องหามาตรการ และแนวทางการบริหารจัดการผลิตภัณฑ์ทางวัฒนธรรมที่เหมาะสม และสอดคล้องกับลักษณะเฉพาะของท้องถิ่นมาปรับใช้ และจากการศึกษาพบว่า 1. การอนุรักษ์อย่างยั่งยืน ได้แก่ การปลูกฝังจิตสำนึกด้านการอนุรักษ์วัฒนธรรมไม้แกะสลักและรวบรวมข้อมูลการศึกษาวิจัย ด้านวัฒนธรรมไม้แกะสลักอย่างเป็นระบบ 2. การพัฒนาอย่างเร่งด่วน ได้แก่ การแก้ไขปัญหา การขาดแคลนวัตถุดิบที่ใช้ในการแกะสลักไม้ และสร้างหมวดหมู่ทางนวัตกรรมใหม่ให้กับไม้แกะสลัก 3. การส่งเสริมการพัฒนาธุรกิจอย่างมีประสิทธิภาพ ประกอบด้วย 1) การกำหนดทิศทางการพัฒนาอุตสาหกรรม 2) การประชาสัมพันธ์ 3) นำเทคโนโลยีขั้นสูงมาใช้ในอุตสาหกรรม 4) การสร้างทีมงานช่างแกะสลัก 5) การสร้างแบรนด์ และ 6) การพัฒนาเป็นอุตสาหกรรมหัตถกรรมการท่องเที่ยว ซึ่งทั้งหมดล้วนมีบทบาทสำคัญ ต่อการพัฒนาผลิตภัณฑ์ทางวัฒนธรรมไม้แกะสลักเป็นอย่างสูง The article is part of research on “Wood carvings cultural products management: Shihe village, Yunnan province and Bantawai, Chiangmai province” The purpose of this paper is to study woodcarving culture products in Baantawai, Thailand and Shihe Village in China. As well as analyze the strengths of culture and industrial development to find methods and guidelines for the management of woodcarving cultural products that are appropriate and in line with local characteristics. According to studies, it has been found that Baantawai woodcarving and Shihe Village woodcarving is a particularly important part of the skills of a nation or region. Since ancient times, it has reflected and presented the production and life, customs and customs of the local people, and is an important part of a high value commercial cultural industry. However, At present, the woodcarving industry culture in Baantawai and Shihe Village still faces problems in terms of product variety, cultural meaning, production techniques and distribution. Therefore, in order to make the woodcarving products in Baantawai and Shihe Village have been developed in a good direction and continuously, it is necessary to find appropriate measures and guidelines for managing cultural products that are consistent with local characteristics. And the study found that 1. Sustainable conservation includes Instilling awareness of conservation of wood carvings culture and gather systematic wood- carving culture research data. 2. Urgent development includes solving the shortage of raw materials used for wood carving and Create new innovative categories for carved wood. 3. Promoting business development with efficiency includes 1) Determining the direction of industrial development 2) Public relations 3) Use advanced technology in the industry 4) Creating a carver team 5) Branding and 6) Development as a handicraft tourism industry. All of which play an important role in the development of highly carved wood products.Downloads
Issue
Section
Articles