จตุโลกบาล: คติความเชื่อเดิม รูปแบบทางความงามทางสุนทรียภาพที่แตกต่างในประเทศอินเดีย จีน ญี่ปุ่น ไต้หวัน และเกาหลีใต้
Four Guardians of the World: Ancient Belief and the Form of Unique Aesthetic Beauty in India, China, Japan, Taiwan and South Korea
Abstract
ความงามทางสุนทรียภาพของรูปจตุโลกบาล ที่นักออกแบบหรือช่างได้สร้างผลงานตั้งแต่เริ่มในศิลปะอินเดีย ส่งอิทธิพลให้กับจีน เกาหลีใต้ จีนและเกาหลีใต้ส่งผ่านให้กับญี่ปุ่น จีนส่งผ่านให้กับไต้หวัน นักออกแบบหรือช่างต่างยึดคติความเชื่อที่มีมาตั้งแต่ในอินเดีย เชื่อว่าทั้งสี่จตุโลกบาลเป็นผู้ดูแลพระพุทธศาสนาทั้งสี่ทิศ ปกป้องพระพุทธศาสนาและผู้มีจิตศรัทธาในพระพุทธศาสนา โดยเฉพาะประเทศที่นับถือพุทธมหายาน ยึดพระสูตรสุวรรณประภาโสตตมสูตร แต่ในเชิงการออกแบบแต่ละประเทศสร้างสี่จตุโลกบาลที่มีรูปแบบทางความงามที่ต่างกันไป ตามความเหมาะสมของสถานที่ วัสดุ ช่าง ปัจจัยของผู้มีความศรัทธารวมทั้งฐานะของผู้สร้าง ในศิลปะอินเดีย จีน เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น ระยะเริ่มแรกการเรียกชื่อยังไม่กำหนด มากำหนดในชั้นหลัง สัญลักษณ์ที่ถือก็ไม่กำหนดตายตัว ใบหน้าส่วนใหญ่แสดงหน้าตาดุ สวมชุดเกราะทหาร รูปแบบของปีศาจก็แตกต่างตามความนิยมของช่าง ถ้ามีการลงสีก็ต่างกันออกไปไม่ตายตัว อีกทั้งการเลือกใช้วัสดุก็ขึ้นกับพื้นที่ในวัดถ้ำมีการใช้วัสดุเป็นดินเขียนสีเป็นรูปแบบประติมากรรมลอยตัว บางแห่งเป็นภาพสลักหิน ไม่ลงสี ถ้าเป็นการสลักหินตามหน้าผาเป็นภาพนูนสูง ในระยะหลังประมาณราชวงศ์หยวนลงมา ช่างสร้างจตุโลกบาลในอาคาร และมีการกำหนดวิหารของจตุโลกบาล พบว่าใช้ดินเขียนสี ปูน หิน จนพบว่ามีการใช้แผ่นเหล็กสร้างจตุโลกบาล ไม่เขียนสี เน้นชุดเกราะทหาร ถือสัญลักษณ์ สามารถที่จะเคลื่อนย้ายในการตั้งรูปจตุโลกบาลไว้ประตูทางเข้าของวัด เป็นการจำกัดพื้นที่ของวัดทำให้เกิดความงามของรูปแบบศิลปะแนวใหม่เกิดขึ้น ดังนั้นแล้วนักออกแบบหรือช่างจะต้องอาศัยข้อมูลทางความรู้ความเข้าใจเรื่องประวัติศาสตร์ความเป็นมาของรูปแบบจตุโลกบาล คติความเชื่อ ความเข้าใจแผนผังของวัด การเลือกใช้วัสดุ เทคนิคการสร้างงานเพื่อให้เกิดความงามตามยุคสมัยของสังคม Aesthetic beauty of the image of Four Guardians of the World created by designers or craftsmen since the early period of Indian art influenced China and South Korea. Then, both countries transferred the belief to Japan while China transferred it to Taiwan. Designers and craftsmen adhered to the ancient belief obtained from India. It is believed that Four Guardians of the World are the guardian of four directions in Buddhism, protect Buddhism and faithful believers in Buddhism. The countries where Mahayana sect of Buddhism was strongly established would rely heavily on Phrasutra Suwanprapha Sottamasutra. However, Four Guardians of the World could be differently designed in each country, depending on appropriateness of the place, materials, craftsmanship, and funds of the believers who are creators. In Indian, Chinese, South Korean, and Japanese art, the name was not determined until years later. The symbols were not fixed. Most of the images had austere faces, wore armour and the evil forms were different according to the craftsmen’s preferences. If the plaints were applied, colors were chosen differently, and materials used depended on where the images were located. At cave temples, painted earth was used to create sculpture in the round while paintless stone carving was preferred in some other places. In the later periods from Yuan Dynasty, Four Guardians of the World was built indoor with its specific building. Painted earth, cement, stone, and metal sheet were used for creating Four Guardians of the World. The image itself was paintless, wore armour and carried symbol, and it could be moved to the temple entrance which helped limit the temple area and reflected the new form of decorative arts. Therefore, designers or craftsmen would have to rely on knowledge and understanding of history of Four Guardians of the World, belief, understanding of the temple layout, material selection, and artistic technique to create ontemporary fineness of the sculpture.Downloads
Published
2022-12-20
Issue
Section
Articles