กะลาดูดี : การสร้างสรรค์งานหัตถกรรมเครื่องประดับจากกะลามะพร้าว

Kala Doo Dee: Creative Handicrafts and Jewelry from Coconut Shells

Authors

  • ภาณุุพงศ์ จงชานสิทโธ
  • ไพโรจน์ วรพจน์พรชัย

Keywords:

กะลาดูดี, หัตถกรรม, เครื่องประดับ, กะลามะพร้าว

Abstract

          บทความวิจัยเรื่อง “กะลาดูดี : การสร้างสรรค์งานหัตถกรรมเครื่องประดับจากกะลามะพร้าว” เป็นการนำเสนอเรื่องการใช้ความคิดสร้างสรรค์ในการออกแบบเครื่องประดับจากกะลามะพร้าว ซึ่งจัดอยู่ในประเภทของเครื่องประดับเทียม (Costume Jewelry) ของผู้ประกอบการรายหนึ่งที่ใช้ชื่อแบรนด์เนม “กะลาดูดี” ซึ่งมีสาระ สำคัญ 3 ประเด็นหลักเกี่ยวกับ 1) การนำกะลามะพร้าวมาสร้างสรรค์รูปแบบเครื่องประดับ ซึ่งเป็นลักษณะการนำวัสดุเหลือใช้มาสร้างมูลค่าเพิ่ม ให้เกิดเป็นรูปแบบเครื่องประดับเทียมที่หลากหลาย 2) รูปแบบเครื่องประดับจากกะลามะพร้าว “กะลาดูดี” ซึ่งส่วนใหญ่เป็นรูปแบบสร้อยคอ ซึ่งเป็นที่นิยมและเป็นเลือกทางหนึ่งของผู้บริโภค ในการใช้เครื่องประดับนอกเหนือจากเครื่องประดับเงินและทองคำ 3) คุณค่าของงานหัตถกรรมเครื่องประดับจากกะลามะพร้าว ซึ่งเป็นการออกแบบเครื่องประดับที่เน้นการทำด้วยมือ มีคุณค่ามีความสวยงามของเนื้อวัสดุ (กะลามะพร้าว) และมีความประณีตในการผลิตชิ้นงาน รวมถึงเป็นการออกแบบที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (Eco Design) ประเภทหนึ่ง ผู้ประกอบการเครื่องประดับจากกะลามะพร้าวรายนี้ เป็นทั้งผู้ผลิตและจำหน่ายที่อาจไม่มีความรู้พื้นฐานทางด้านการออกแบบเครื่องประดับมากนัก แต่สามารถนำแรงบันดาลใจจากการสั่งสม เรียนรู้ จากสภาพแวดล้อมมาประยุกต์กับสภาพแวดล้อม มาประยุกต์กับความคิดสร้างสรรค์ที่อยู่ในตัวเอง และออกแบบ ผลิต ชิ้นงานเครื่องประดับได้อย่างประณีต จนเป็นที่ยอมรับทั้งระดับในประเทศและต่างประเทศ บทความวิชาการนี้  จะทำให้เกิดความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับการสร้างสรรค์ เครื่องประดับจากกะลามะพร้าว รูปแบบเครื่องประดับต่าง ๆ ที่สามารถเป็นแนวทางประยุกต์ใช้สร้างสรรค์รูปแบบเครื่องประดับเทียมรูปแบบอื่น ๆ ที่หลากหลาย   The academic paper titled in “Kala Doo Dee: Creative Handicrafts and Jewelry from Coconut Shells” presents the creativity in designing the jewelry from coconut shells categorized as costume jewelry of one entrepreneur bearing the brand name of “Kala Doo Dee”. It contains three main aspects: 1) an application of coconut shells for creative jewelry regarded as the value creation from waste; 2) the jewelry patterns from coconut shells “Kala Doo Dee”, which are popular and serve as another option for consumers in favor of jewelry other than silver and gold jewelry; 3) the value of jewelry handicrafts from coconut shells designed and made by hand so that they are valuable and have beautiful features based on their materials (coconut shells) along with refined production. This entrepreneur for such coconut shell jewelry is both a manufacturer and a distributor. Despite having not much basic knowledge of designs, this entrepreneur can apply his own inspiration from individual perceptions toward the surroundings together with his own creativity before designing and manufacturing the beautifully decorative items, both internationally and nationally acclaimed. This paper will generate the knowledge and understanding on creative jewelry from coconut shells and other decorative patterns which can be further applied for making a wide range of costume jewelry.

References

จระกฤตย์ โพธิ์ระหงส์. (2563). การสร้างสรรค์กับงานศิลปะ. เอกสารประกอบการสอน โรงเรียนเมืองแงง อำเภอปัว จังหวัดน่าน. (e-book) สืบค้นวันที่ 20 ตุลาคม 2563. จาก https://aoao555.wordpress.com/การสร้างสรรค์กับงานศิลปะ

ตระกูลพันธ์ พัชรเมธา. (2557). การออกแบบผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร, 34 (1), 119-135.

ทะนุพงศ์ กุสุมา ณ อยุธยา. (2560). “กะลาดูดี” หัตถกรรมเครื่องประดับกะลามะพร้าว OTOP การบินไทย. วารสารเทคโนโลยีชาวบ้าน. (e-book) สืบค้นวันที่ 20 ตุลาคม 2563, จาก https://www.technologychaoban.com/thai-local-wisdom/article_21832

บริษัท ไทยประกันชีวิต จำกัด. (2545). หัตถกรรมไทย. (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ : โอเอส พรินติ้งเฮาส์ จำกัด.

ปิยะวุฒิ ปัญญาพี่. (2563). การพัฒนาความคิดสร้างสรรค์. เอกสารประกอบการสอน วิทยาลัยอาชีวศึกษาภูเก็ต (e-book) สืบค้นวันที่ 20 ตุลาคม 2563, จาก http://www.phuketvc.ac.th > download > Study2 pdf.

ยุพาพร ว่องวิกย์การ. (2563, 2 พฤศจิกายน). ผู้ประกอบการเครื่องประดับจากกะลามะพร้าว “กะลาดูดี” อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ [บทสัมภาษณ์].

รสชง ศรีลิโก. (2557). “เครื่องประดับ”. สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน โดยพระราชประสงค์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เล่ม 34 เรื่องที่ 4 (e-book), สืบค้นวันที่ 30 สิงหาคม 2563, จาก http://kanchanapisek.or.th/kp6.

สถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ (องค์การมหาชน). (2563). แนวโน้มตลาด เครื่องประดับเทียมของโลก ปี 2020-2027. สืบค้นวันที่ 20 ตุลาคม 2563, จาก https://infocenter.git.or.th/business-new/business-news-20200918-1-2-3

สถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ (องค์การมหาชน). (2563). มูลค่าการส่งออก สินค้าอัญมณีและเครื่องประดับไทย เดือนมกราคม – สิงหาคม 2563. สืบค้นวันที่ 20 ตุลาคม 2563, จาก https://infocenter.git.or.th/storage/files/leYoLarInjKDW5GCZfsU3aU1xv2xz6STf1WWehWn.pdf

Downloads

Published

2022-12-20