แนวทางการพัฒนาตราสินค้าและการสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์จากสิ่งทอทุนวัฒนธรรมพื้นถิ่น : กรณีศึกษาผู้ประกอบการสิ่งทอพื้นถิ่น จังหวัดน่าน

The method of product creation from local cultural textile and brand development: based on the case study of the local textile entrepreneur in Nan province

Authors

  • ศมิสสร สุทธิสังข์

Keywords:

สิ่งทอทุนวัฒนธรรมพื้นถิ่น, ตราสินค้าสิ่งทอ, ตราสินค้า, สิ่งทอพื้นถิ่น, จังหวัดน่่าน

Abstract

          ประเทศไทยมีความหลากหลายในเรื่องสิ่งทอทุนวัฒนธรรมพิ้นถิ่นที่กระจายอยู่ทั่วประเทศซึ่งเป็นสินค้าที่มีบทบาทสำคัญในเชิงเศรษฐกิจการท่องเที่ยว ทั้งนี้จากการสำรวจปัญหาของผู้ประกอบการ สิ่งทอทุนวัฒนธรรมพื้นถิ่นไทย ในพื้นที่จังหวัดน่านนั้นพบว่าผู้ประกอบการระดับชุมชนยังขาดแนวทางการพัฒนาสร้างตราสินค้าและแนวทางในการออกแบบสินค้าที่สร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสิ่งทอทุนวัฒนธรรมท้องถิ่น  บทความนี้เป็นบทความวิจัยเรื่อง “การพัฒนาผลิตภัณฑ์สิ่งทอแฟชั่นไลฟ์สไตล์จากทุนวัฒนธรรมพื้นถิ่น จังหวัดน่านเพื่อการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์” โดยบทความนี้มุ่งนำเสนอถึงแนวทางในการพัฒนาตราสินค้าและการสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์จากสิ่งทอทุนวัฒนธรรมพื้นถิ่นของผู้ประกอบการสิ่งทอพื้นถิ่นในจังหวัดน่าน กรณีศึกษาร้านวราภรณ์ผ้าทอ โดยใช้กรอบแนวคิดการสร้างตราสินค้าและการออกแบบสร้างสรรค์สินค้าแฟชั่น ซึ่งเป็นการคิดวิเคราะห์ตราสินค้า การกำหนดจุดยืนของตราสินค้า และการประยุกต์ใช้แนวโน้มกระแสแฟชั่น เพื่อหาแนวทาง การสร้างสรรค์ตราสินค้าและออกแบบผลิตภัณฑ์ให้ตรงกับความต้องการของตลาดและกลุ่มเป้าหมาย Thailand is greatly associated with a local cultural textile diversity spreading all over the country which is a crucial factor in the tourism industry. Regarding the research approach from the cultural textile business in Nan province, the local entrepreneurs are still lack of know-how in branding and product development to alleviate the value of the local cultural textile. This article is a part of academic research of “The development of textile fashion and lifestyle products form Nan province’s cultural capital for creative tourism” This article aims to narrate the method of branding and product development from the local cultural textile of local entrepreneurs in Nan province throughout the case study of ‘Waraporn Mueangnan’ clothing shop. By applying the branding framework and creative design for fashion products including brand analysis and positioning to find the best brand creation guidelines for perfectly fit to the needs of the target market.

References

พัดชา อุทิศวรรณกุล. (2563). การจัดการสินค้าแฟชั่น. กรุงเทพฯ : คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วราภรณ์ ลำจวน. (2020). Homepage. Facebook. สืบค้นวันที่ 10 มีนาคม 2563. จาก https://www.facebook.com/sompit.pator

ศมิสสร สุทธิสังข์. (2563). การพัฒนาผลิตภัณฑ์สิ่งทอแฟชั่นไลฟ์สไตล์จากทุนวัฒนธรรมพื้นถิ่น จังหวัดน่าน เพื่อการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์. โครงการสร้างเสริมพลังจุฬาฯ ก้าวสู่ศตวรรษที่ 2 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ศมิสสร สุทธิสังข์, พัดชา อุทิศวรรณกุล, ศุภกรณ์ ดิษฐพันธุ์, อารยะ ศรีกัลป์ยาณบุตร, ตฤณ หริตวร, อรรถพนธ์ พงษ์เลาหพันธุ์, ศิวรี อรัญนารถ และชัชวาล พึ่งพระ. (2563). “การพัฒนาผลิตภัณฑ์สิ่งทอแฟชั่นไลฟ์สไตล์จากทุนวัฒนธรรมพื้นถิ่นจังหวัดน่าน เพื่อการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์.” ศิลปกรรมสาร วารสารคณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 13(2).

อรรถพนธ์ พงษ์เลาหพันธ์. (2563). “การคาดการณ์แนวโน้มแฟชั่นและการออกแบบแฟชั่นในศตวรรษที่ 21. “ศิลปกรรมสาร วารสารคณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 13(1), 131-144.

WGSN. (2020). Concept: Homespun. WGSN. สืบค้นวันที่ 10 มีนาคม 2563, จาก http://www.wgsn/Concept/homespun

WGSN. (2020). Concept: Gamescape. WGSN. สืบค้นวันที่ 10 มีนาคม 2563, จาก http://www.wgsn/Concept/Gamescape

WGSN. (2020). Concept: Transform. WGSN. สืบค้นวันที่ 10 มีนาคม 2563, จาก http://www.wgsn/Concept/Transform

Downloads

Published

2022-12-20