เปรต : การสร้างสรรค์ประติมากรรมเครื่องปั้นดินเผาเพื่อติดตั้งภายในวัด
Ghost : The creation for pottery to sculpture installed in the temples
Keywords:
ดินห้วยแถลง, ประติมากรรมเครื่องปั้นดินเผา, เปรต, ประติมากรรม, เครื่องปั้นดินเผาAbstract
การสร้างสรรค์งานประติมากรรมเครื่องปั้นดินเผาเพื่อติดตั้งภายในวัด โดยการพัฒนาทดลองเนื้อดินปั้นห้วยแถลง ตำบลห้วยแถลง อำเภอห้วยแถลง จังหวัดนครราชสีมา ให้มีคุณสมบัติเหมาะสำหรับการปั้นมืองานประติมากรรมเปรตที่ติดตั้งภายในบริเวณวัดโคกสว่าง มีการศึกษาหาข้อมูลเกี่ยวกับเนื้อดินปั้นห้วยแถลงแล้วทดลองอัตราส่วนของส่วนผสมต่าง ๆ ที่อ้างอิงตามทฤษฎีตารางสามเหลี่ยม (Tri-axial) โดยใช้วัตถุดิบ 3 อย่าง คือ ดินห้วยแถลง ดินขาว และดินเชื้อ ในการผสมอัตราส่วนตามตารางสามเหลี่ยม การทดสอบคุณสมบัติทางกายภาพของเนื้อดินตามอัตราส่วนผสมแล้วนำชิ้นตัวอย่างไปวัดความยาวเพื่อหาการหดตัวก่อนเผา จากนั้นเผาชิ้นตัวอย่างทดสอบที่อุณหภูมิ 1,200 องศาเซลเซียล ในเตาด้วยเตาแก๊สเผาบรรยากาศแบบสมบูรณ์ (Oxidation Firing) วัดการหดตัวหลังเผา ของชิ้นตัวอย่างทดสอบแล้วนำสูตรที่ดีและที่เหมาะสำหรับขึ้นรูปงานประติมากรรม คือ สูตรที่ 6 มีอัตราส่วน ดินห้วยแถลง 60%, ดินขาว 30%, ดินเชื้อ 10%, มาทดลองขึ้นชิ้นงาน ตามการออกแบบสร้างสรรค์งานประติมากรรมเปรต มีแนวคิดเพื่อสร้างสรรค์ผลงานที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตนโดยมีเรื่องราวของผลกรรม ของการทนทุกข์ทรมานโหยหวนทุรนทุรายของส่วนบุญส่วนกุศลตามผลกรรมนั้น ๆ ที่แสดงออกมีจำพวก เปรตต้นงิ้ว เปรตอัณฑะใหญ่ เปรตหลายหัว เปรตฆ่าลูก และเปรตปากเท่ารูเข็ม ซึ่งแต่ละประเภทแสดงออกผลกรรมต่อความรู้สึก เมื่อตายไปก็ไปเป็นเปรตทนทุกข์ทรมานหิวโหยและร้องโหยหวนอยู่ตลอดเวลา ผลการวิจัยเพื่อการออกแบบสร้างสรรค์จึงคำนึงถึงคุณสมบัติดินห้วยแถลงและขบวนการสร้างสรรค์ผลงานการออกแบบเพื่องานประติมากรรมที่ได้และที่ได้ให้มีประสิทธิภาพเหมาะสำหรับการตกแต่งติดตั้งบริเวณภายในวัด จึงมีการสร้างสรรค์ผลงานประติมากรรมเครื่องปั้นดินเผาโดยมีสีเคลือบที่สื่อเรื่องราวของผีเปรตในรูปแบบตามจินตนาการเพื่อให้เข้ากับยุคสมัยปัจจุบัน โดยต้องการแสดงออกถึงเรื่องราวหรือภาพลักษณ์ของเปรต ที่มีลักษณะทนทุกข์ทรมานอันเป็นผลมาจากเวรกรรมที่กระทำไว้เมื่อครั้งที่เป็นมนุษย์เพื่อเป็นกุศโลยายใช้เตือนสติให้มนุษย์ได้ตระหนักถึงความดีชั่ว The creation of ceramics sculptures to be installed inside the Thai temple. By experimenting with clay loam Huai -Thalaeng, Huai-Thalaeng Subdistrict, Huai -Thalaeng District Nakhon Ratchasima to be suitable for hand forming jade sculptures installed inside the temple. Study of the texture of clay specimens was carried out and the ratios of the various components based on the tri-axial theory were calculated using three raw materials: Huai-Thalaeng clay, kaolin clay, grog. Test the physical properties of the soil by the rate of the mixture and then take the sample to measure the length to find the shrinkage before burning. Then, test specimens were burnt at 1,200 Degrees Celsius in the furnace, Oxidation Firing. The test specimens were then placed in a good recipe suitable for molding the sculptures at the ratio of 6 to the Huai-Thalaeng clay 60%, clay, kaolin clay 30%, grog 10%. The design of the ghost sculpture. There are ideas to create a unique work of their own, with the story of karmic retribution of suffering. According to the results. Expressive Ghost Cotton tree, Ghost Testis big, Ghost Hanging head, Ghost Kill child, and Ghost Mouth needle. Each category expresses a sense of action. The research results in creative design take into account the clay properties of the clay and the process of creating sculptural designs that have been made and are effective for decorating the interior of the temple. In the form of imagination, the pottery sculptures were painted in a fantasy style to match the present era. To express the story or image of ghost. The suffering suffered as a result of the fate that was done in human life as a motive to remind people to realize the evil good.References
สุชีพ ปุญญานุภาพ. (2554). พระไตรปิฎกฉบับสำหรับประชาชน. นครปฐม : โรงพิมพ์มหามกุฎราชวิทยาลัย
พระธรรมวิสุทธิกวี (พิจิตร ฐิตวณฺโณ). (2551). ตายแล้วไปไหน. กรุงเทพมหานคร : ชวนพิมพ์ 50
ไขแสง กิตติวัชระชัย. (2554). นรก สวรรค์ ท่านเลือกได้. นครปฐม : ธรรมสภา.
สมศักดิ์ ชวาลาวัณย์. (2549). เซรามิกข์. กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์.
ฉัตร์ชัย อรรถปักษ์. (2555). องค์ประกอบศิลป์. กรุงเทพฯ : วิทยพัฒน์.
ไพจิตร อิ่งศิริวัฒน์. (2541). เนื้อดินเซรามิก. กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์.
ทวี พรหมพฤกษ์. (2523). วิชาเครื่องเคลือบดินเผาเบื้องต้น. กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์.
Downloads
Published
2022-12-20
Issue
Section
Articles