กระบวนการคิดเชิงออกแบบสู่แนวทางการออกแบบภายในโรงพยาบาล กรณีศึกษา การออกแบบปรับปรุงพื้นที่ภายในแผนกคลินิกตรวจสุขภาพโรงพยาบาลมหาวชิราลงกรณธัญบุรี

Design thinking process towards the interior design of hospital case study: Interior design renovation of Health promotion center Maha Vajiralongkorn Thanyaburi hospital

Authors

  • วศิน วิเศษศักดิ์ดี

Keywords:

การคิดเชิงออกแบบ, การออกแบบภายใน, กระบวนการคิดเชิงออกแบบ, การออกแบบ, การออกแบบปรับปรุงพื้นที่ภายใน, แผนกคลินิกตรวจสุขภาพ, โรงพยาบาล

Abstract

          บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอกระบวนการคิดเชิงออกแบบที่นำมาสู่แนวการออกแบบภายใน เพื่อปรับปรุงพื้นที่ภายในแผนกคลินิกสุขภาพ โรงพยาบาลมหาวชิราลงกรณธัญบุรี ผลการศึกษาพบว่า กระบวนการคิดเชิงออกแบบเป็นกระบวนการสร้างเครื่องมือที่นำไปสู่การออกแบบอย่างสร้างสรรค์ โดยสามารถแบ่งขั้นตอนออกเป็น 3 ขั้นตอน ได้แก่ 1) การทำความเข้าใจ 2) การสร้างสรรค์ และ 3) การส่งมอบสู่ผู้ใช้ ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับกระบวนการออกแบบภายในพื้นที่แล้วนั้นกระบวนการคิดเชิงออกแบบมีความสอดคล้องกัน  ผลของสรุปของบทความนี้จึงเป็นการแสดงให้เห็นถึงกระบวนการสร้างสรรค์งานออกแบบภายในที่ประยุกต์กระบวนการคิดเชิงออกแบบนำมาสู่ขั้นตอนการคิดวิเคราะห์จากชุดข้อมูลสู่รูปธรรม จนนำมาสู่การสร้างสรรค์ต้นแบบเพื่อร่วมพิจารณาร่วมกันอย่างเหมาะสมตอบโจทย์กับผู้ใช้และพื้นที่อย่างแท้จริง  The objective of this article presents the design thinking process into the interior design concept, that to propose the Interior design renovation for Health promotion center of Maha Vajiralongkorn Thanyaburi hospital. The results of the study showed that Design thinking is the process of creating tools that lead to creative design. It can be divided into 3 steps are understanding, creation and delivery to users. And when compared between the Interior design process and design thinking process is consistent.  The result of this article presented the interior design process that applied from design thinking process and leading to the analytical from data to tangible, that to be able to prototype to make decisions together in a way that truly meets the needs of users and the places.

References

กลุ่มวิจัยสิ่งแวดล้อมสรรค์สร้างเพื่อสุขภาวะ. (2561). OPD มีสุข: ออกแบบปรับปรุงพื้นที่แผนกผู้ป่วยนอกเพื่อสุขภาวะของทุกคน. กรุงเทพฯ : บุญศิริการพิมพ์.

โกศล จึงเสถียรทรัพย์. (2553). การออกแบบสภาพแวดล้อมสถานพยาบาลให้เอื้อต่อการเยียวยา. กรุงเทพฯ : สถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล (องค์การมหาชน).

ภุชงค์ โรจน์แสงรัตน์. (2559). การพัฒนารูปแบบการสอนโดยใช้การคิดเชิงออกแบบเป็นฐานเพื่อสร้างสรรค์ผลงานที่ปรากฏอัตลักษณ์ไทยสำหรับนิสิตนักศึกษาระดับปริญญาบัณฑิต. ดุษฎีนิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

โรงพยาบาลมหาวชิราลงกรณธัญบุรี. (2563). ข้อมูลโรงพยาบาลมหาวชิราลงกรณธัญบุรี. สืบค้น วันที่ 1 กันยายน 2563 จาก www.Mthcancer.in.th

ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ (TCDC). (2560). การคิดเชิงออกแบบ : เรียนรู้ด้วยการลงมือทำ. กรุงเทพฯ: ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ (TCDC).

อวยชัย วุฒิโฆสิต. (2551). การออกแบบโรงพยาบาล (General hospital design). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Balcaitis, R. (2019). Design Thinking models. Stanford d. school. [Website] Retrieved from https://empathizeit.com/design-thinking-models-stanford-d-school/

DEX Space (2017). Design Thinking คืออะไร (Overview). [เว็บบล็อก]. สืบค้น วันที่ 1 กันยายน 2563 จาก http://www.dexspace.co/design-thinking-overview/

Downloads

Published

2022-12-20