การออกแบบเหลี่ยมเจียระไนอัญมณี จากแรงบันดาลใจตราสัญลักษณ์มหาวิทยาลัยบูรพา ด้วยหลักการรับรู้รูปร่างผ่านความสัมพันธ์ระหว่างภาพและพื้น
Faceting design of gems from the inspiration of the Burapha University logo with the principle of perceiving shape through the relationship between the figure and the background
Keywords:
ออกแบบ, เหลี่ยมเจียระไน, อัญมณี, มหาวิทยาลัยบูรพาAbstract
ตามแนวคิดจิตวิทยากลุ่มเกสตัลท์ (Gestalt Psychology) การรับรู้ขึ้นอยู่กับรูปแบบของตัวกระตุ้นทั้งหมด ความสัมพันธ์ในการเห็นรูปร่างและแบบแผนจึงขึ้นอยู่กับการที่เราได้เห็นความเกี่ยวพันของสิ่งต่าง ๆ การรู้สึกและการรับรู้เป็นกระบวนการที่เกิดจากการรับข้อมูลจากสิ่งเร้าภายนอก ความรู้สึกที่เกิดขึ้นจะถูกตีความหมายผ่านประสบการณ์และการเรียนรู้ของแต่ละบุคคล ในการรับรู้รูปร่างนั้นเกิดจากหลักการความสัมพันธ์ระหว่างและพื้น (Figure-Ground relationship) ในอาณาเขตเดียวกัน ภาพคือสิ่งที่มีรูปร่างชัดเจนที่สุดในอาณาเขต และพื้นที่ส่วนที่เหลือทั้งหมดภายในอาณาเขต การสร้างสรรค์ผลงาน “บูรพาเจียระไน” จากการวิจัยนี้ เกิดจากการศึกษาสัดส่วนและองค์ประกอบในการเจียระไนอัญมณี การศึกษาหลักการรับรู้รูปร่างผ่านความสัมพันธ์ระหว่างภาพและพื้นและการออกแบบคำนวณองศาและค่ามุมเจียระไนที่ทำให้เกิดเป็นภาพ ใช้เทคนิคการเจียระไนและการแกะสลัก จากการศึกษาพบว่า การเจียระไนอัญมณีเกิดจากสัดส่วนต่าง ๆ บนอัญมณี แต่ละสัดส่วนมีหน้าที่ต่างกัน เช่น ทำหน้าที่รวมแสงเข้าในตัวอัญมณี หรือสะท้อนแสงที่เข้ามาในตัวพลอยกลับไปด้านบนอัญมณี ซึ่งลักษณะเหลี่ยมบนอัญมณีนั้นสามารถเชื่อมโยงกับหลักการรับรู้รูปร่างผ่านความสัมพันธ์ระหว่างภาพและพื้นได้ ผู้วิจัยจึงใช้ตราสัญลักษณ์มหาวิทยาลัยบูรพาเป็นแรงบันดาลใจในการออกแบบเหลี่ยมเจียระไนด้วยหลักการดังกล่าว โดยทำการทดสอบการรับรู้รูปร่างของผลงานออกแบบขั้นต้น (Preliminary Design) จากเครื่องมือแบบสัมภาษณ์ เก็บข้อมูลจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ (Key Informants) ใช้วิธีเลือกแบบเฉพาะเจาะจง (Purposive Sampling) จำนวน 10 คน ตามเกณฑ์การคัดเลือกที่กำหนด ใช้แบบสัมภาษณ์ (Interview) เป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูล โดยนำหลักการความสัมพันธ์ระหว่างภาพและพื้นของ Edgar Rubin (นักจิตวิทยากลุ่มเกสตัลท์) มาสร้างเป็นข้อคำถามในแบบสัมภาษณ์ เพื่อนำผลจากการศึกษาไปพัฒนารูปแบบเหลี่ยมเจียระไนตามหลักการความสัมพันธ์ระหว่างภาพและพื้น ออกแบบเหลี่ยมเจียระไนที่รับรู้เป็นภาพตราสัญลักษณ์มหาวิทยาลัยบูรพา According to the concept of Gestalt Psychology, perception depends entirely on the stimulus pattern. The relationship of shape and pattern depends on the relation of things. Sensation and perception were processed by external stimuli information receiving. Occurence feelings were interpreted through individual experiences and learning. The perception of shape arises from the principle of the relationship between the figure and the background. (Figure-Ground relationship) in the same territory. The picture is the most clearly shaped things in the territory and the background is all the rest of the territory. “Burapha Jeerranai” were created from this research, due to the study of the proportions and elements in the gem faceting. The study of the principles of shape perception through the relationship between figure and ground, degree and angle calculation design of the facet that results in a picture, using the technique of faceting and carving. According to the study, it was found that the cutting of a gems occurs from different proportions on each of the gemstones having different functions, such as integrating light into the gemstone or reflecting light entering the gems back to the top. The facets of the gems can be linked to the shape perception principle through the relationship between the figure and ground. The researcher used the Burapha University logo as the inspiration for the faceted design. Preliminary Design perception of shape was tested from the interview tool. Data were collected from key informants (10 persons) using a Purposive Sampling method to the specified selection criteria. The interview was used as a tool for data collection. The relationship between the image and the background of Edgar Rubin (Gestalt psychologist) is applied to the interview questionnaire. The results of the study were used to develop a gems facet pattern according to the relationship between the figure and ground. A faceted design that is recognized as a symbol of Burapha University.References
ชัยชนะ แสงสว่าง. (2552). ระบบสนับสนุนเพื่อการอนุรักษ์และฟื้นฟูชุมชนเมือง. วารสารวิชาการสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 02-2552(2), 141-148.
ปัญจวรรณ ธนสุทธิพิทักษ์. (ม.ป.ป.). การเจียระไนพลอย. ม.ป.ท.: ม.ป.พ.
สุรพงษ์ ชูเดช. (2564). เอกสารประกอบการสอน วิชา SSC 231 จิตวิทยาทั่วไป (General Psychology). สืบค้นข้อมูลเมื่อ 4 กุมภาพันธ์ 2564, เข้าถึงได้จาก http://arts.kmutt.ac.th/ssc231/document/common1.html
สุรินทร์ อินทะยศ. (2564). เอกสารประกอบการสัมมนาเรื่อง “เทคโนโลยีอัญมณีไทยก้าวไกลอย่างยั่งยืน” วันจันทร์ที่ 17 กันยายน 2550 กรุงเทพฯ การออกแบบเหลี่ยมเจียระไนพลอยด้วยโปรแกรม GemCad: ทางเลือกใหม่ของอุตสาหกรรมเจียระไนพลอยไทย. สืบค้นข้อมูลเมื่อ 6 พฤษภาคม 2564. เข้าถึงได้จาก http://gems.chanthaburi.buu.ac.th/documents/article/11.pdf
สมหมาย ศรีศุภวัฒนะ. (2541). การเจียระไนพลอย. (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ : สมาคมผู้ค้าอัญมณีไทยและเครื่องประดับ.
สมาคมผู้ค้าอัญมณีและเครื่องประดับ และมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (ประสานมิตร). (2541). บทที่ 6 การเจียระไนพลอย. (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ: บ.อะแควริอัส เจมส์ เทรดดิ้ง จำกัด.
สำนักงานพาณิชย์จังหวัดจันทบุรี. 2562. องค์ความรู้ด้านอัญมณีและเครื่องประดับ. [หนังสืออิเล็กทรอนิกส์]. จันทบุรี: ผู้แต่ง.
Diamond price Guru. (2557). การเจียระไนอัญมณีแบบก้นแหลม. สืบค้นข้อมูลเมื่อ 20 กุมภาพันธ์ 2564, เข้าถึงได้จาก http://www.diamondpriceguru.com/shopping-guide/2008/03/01/cut/Jewels du Jour. (2021). Fancy Cut. Retrieved January, 7, 2021, from http://www.pinterest.com/
The Journal of gemmology. (2021). The Journal of gemmology latest issues. Retrieved May, 6, 2021, from https://gem-a.com/membership/journal-of-gemmology
Yatchman, L. (2021). Fancy Cut. Retrieved January, 14, 2019, from http://www.pinterest.com/
Young, A. (2008). The Jeweler’s Techniques Bible. Asia: Published by Page One Publishing Pte Ltd.