การจัดการวิถีวัฒนธรรมชุมชนชาวบรูบ้านเวินบึก อำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี
A Management of Culture of the Bru Community, Ban Wen Buek, Khong Chiam District, Ubon Ratchatani Province
Keywords:
ชาวบรู, ชาวลาวอีสาน, วิถีวัฒนธรรม, การจัดการ, บ้านเวินบึก, โขงเจียมAbstract
งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิถีวัฒนธรรมชุมชนชาวบรูบ้านเวินบึกทางด้านประวัติศาสตร์ ศิลปวัฒนธรรม อัตลักษณ์ของชาวบรูบ้านเวินบึก โดยนำมาวิเคราะห์ถึงแนวทางการจัดการวิถีวัฒนธรรมชุมชนในประเด็นที่พบร่วมกัน เพื่อนำเสนอแนวทางการจัดการแหล่งเรียนรู้ต้นแบบวิถีวัฒนธรรมของชุมชนชาวบรูบ้านเวินบึก ผลของการวิจัยพบว่าวิถีวัฒนธรรมชุมชนชาวบรูบ้านเวินบึก มีความแตกต่างจากชุมชนดั้งเดิมของตน เนื่องด้วยนโยบายของทางภาครัฐที่มุ่งเน้นพัฒนาโดยขาดบูรณาการกับรากฐานชุมชน จึงทำให้รูปแบบวิถีวัฒนธรรมปรับเปลี่ยนไปตามสภาพบริบทของสังคมสิ่งแวดล้อม นอกจากนี้ชุมชนชาวบรูเคยมีการปรับแนวทางวิถีวัฒนธรรมของตนให้เกิดความใกล้เคียงกับวิถีวัฒนธรรมชุมชนชาวลาวอีสานที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ใกล้เคียงกัน ด้วยการบูรณาการความรู้ที่มีให้เกิดเป็นแนวทางใหม่ใช้ในชุมชนของตนเอง โดยที่ยังคงรากฐานความรู้ดั้งเดิมไว้แต่มีการปรับรายละเอียดส่วนย่อยให้เข้ากับบริบททางสังคม เพื่อมิให้เกิดความแตกต่างและไม่ขัดกับหลักคติค่านิยมความเชื่อในวิถีวัฒนธรรมจนกลายเป็นอัตลักษณ์ทางสังคมที่โดดเด่น อัตลักษณ์ดังกล่าวนี้สามารถปรับเปลี่ยนไปตามค่านิยม ความเชื่อของผู้คนในสังคมในแต่ละยุคสมัยได้ ชุมชนชาวบรูมีอัตลักษณ์ทางสังคมที่หลากหลายเป็นความรู้ภูมิปัญญาของคนในท้องถิ่น ซึ่งอัตลักษณ์เหล่านี้ได้กลายเป็นเอกลักษณ์ทางสังคมที่มีการยอมรับและถือปฏิบัติร่วมกันมา แต่กระแสความเปลี่ยนแปลงของสังคมโลกที่เกิดขึ้นได้ส่งผลกระทบถึงวิถีวัฒนธรรมชุมชน เป็นสิ่งที่ชุมชนต้องตระหนักถึงความสำคัญ เพราะการเปลี่ยนแปลงที่เข้ามาทำให้วิถีของชุมชนเกิดการเปลี่ยนแปลงในทุกด้าน ซึ่งมากน้อยต่างกันไปตามความสำคัญ หากคนในชุมชนมองไม่เห็นความสำคัญ ไม่มีวิธีการจัดการที่เหมาะสม วิถีวัฒนธรรมของชุมชนก็อาจเกิดการสูญหายไปจากสังคมได้เช่นเดียวกัน ดังนั้นการจัดทำแหล่งเรียนรู้ต้นแบบวิถีวัฒนธรรมในชุมชนจึงเป็นสิ่งจำเป็นที่ชุมชนชาวบรูต้องรีบดำเนินการจัดการ เพื่อเป็นการสืบทอด สืบสาน องค์ความรู้ที่มีให้คงอยู่ ด้วยการอนุรักษ์ ฟื้นฟู และพัฒนาโดยให้ชนรุ่นหลังเป็นผู้สืบทอดแบบแผนแนวทาง จะทำให้วิถีวัฒนธรรมชุมชนสามารถดำรงอยู่ได้ท่ามกลางสังคมพลวัตที่กำลังเกิดขึ้นในปัจจุบันได้อย่างรู้เท่าทัน The objective of the research is to study community culture of the Bru people at Ban Wen Buek on the content areas of history, art and culture by analyzing cultural management of the Bru community. The research findings are as follows: The culture of the Bru people at Ban Wen Buek is different from what it used to be in the past due to the government policies that focused on development without an integration with the community culture thus making the model of community culture adjusted according to the context of society and environment. Besides, the Bru community used to adjust their community culture in order to blend with culture of other Isan communities that are close by integrating their existing knowledge to anew their own culture whereas the old community culture is still maintained and adjusted to surrounding social context causing no conflict with moral values and beliefs which finally becomes unique social identity. This social identity may be changed in accordance with values and beliefs in community culture of each time period. The Bru community has various social identities such as knowledge and wisdom which later become unique identities that have been accepted and followed. But change in the world society has affected the culture of community. It is something that the community has to be aware of. The incoming may cause changes in community in all aspects which may be more or less depending on situations. If the people in the community do not see the importance of not having proper management method, the community culture may be lost. Therefore, having a learning center for a model of community culture is essential. The Bru community has to act quickly in order to pass on their knowledge through conservation, restoration and development by allowing future generations to carry on the given mission to maintain community culture in the midst of a dynamic society that is happening knowingly.References
ภัททิยา ยิมเรวัต (2525). “ระเปิ๊บ : งานบุญชาวบูร”. ภาษาและวัฒนธรรม. 2(2), 85-86.
วราวุธ สุวรรณฤทธิ์ และคณะ. (2546). วิถีไทย. กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์.
วิเชียร รักการ. (2551) วัฒนธรรมและพฤติกรรมของไทย, [ออนไลน์]. แหล่งที่มา : www.Isc.ru.ac.th/data/Ps0000941.doc, [19 มกราคม 2562]
สำนักศิลปวัฒนธรรม สถาบันราชภัฏอุบลราชธานี (2561) นามานุกรมภูมิศาสตร์จังหวัดอุบลราชธานี.
Google.com. (2562) แผนที่บ้านเวินบึก โขงเจียม. สืบค้นวันที่ 20 เมษายน 2562, จาก : http://www.google.com/maps/@15.3188621, 105.5540983,17z.
Google.com. (2563) แผนที่บ้านเวินบึก โขงเจียม. สืบค้นวันที่ 19 เมษายน 2563, จาก : http://www.google.com/maps/@15.3188621, 105.5540983,17z.
วิเชียร รักการ. (2551) วัฒนธรรมและพฤติกรรมของไทย. สืบค้นวันที่ 19 มกราคม 2562, จาก : https://www.Isc.ru.ac.th/data/Ps0000941.doc.
ศูนย์มานุษยวิทยาสิริธร. (2562) กลุ่มชาติพันธุ์ในประเทศไทย. สืบค้นวันที่ 21 พฤศจิกายน 2562, จาก : https://www.sac.or.th/databases/ethnic-groups/gallery/19
พนัส พึ่งป่า. (16 เมษายน 2561). ปราชญ์ชาวบ้าน. สัมภาษณ์.
สมัย วังสาคร. (29 มกราคม 253). ผู้ใหญ่บ้านเวินปึก. สัมภาษณ์.
สุทิศ พึ่งป่า. (16 เมษายน 2561). ปราชญ์ชาวบ้าน. สัมภาษณ์.